หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
พิพิธภัณฑ์วัดศรีสุทาธาวาส/ในเวียงป่าเป้า
ข้อมูลทั้งหมดมี 10 ข้อมูล
1 จากทั้งหมด 1 หน้า
บูรณะหอไตรวัดศรีสุทธาวาส จากศรัทธาสู่สามัคคี
บทความโดย เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ
เขียนเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2559

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ มีความสัมพันธ์กับวัดศรีสุทธาวาสมายาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เมื่อมูลนิธิฯ ริเริ่มการให้ความรู้ในการจัดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นทั่วประเทศ วัดศรีสุทธาวาสและชุมชนในเวียงป่าเป้าเป็นพื้นที่ศึกษาทดลองและปฏิบัติงานชุดแรกๆ ในการทำโครงการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นก่อนจะมีการแพร่หลายของแนวคิดและแนวทางกระจัดกระจายกลายเป็นโครงการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของชุมชนหลายแห่งทั่วประเทศ

จุลกฐิน ทอผ้าทันใจ ศรัทธาจากชาวบ้าน
บทความโดย เบญจวรรณ จันทราช
เขียนเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2561

วัดศรีสุทธาวาส อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ได้จัดงานทำบุญทอดจุลกฐินสามัคคี (ถวายผ้าทันใจ) ขึ้นระหว่างวันที่ ๖-๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อหาทุนทรัพย์ในการบูรณปฏิสังขรณ์หอพระไตรปิฎก ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๖ หรือราว ๙๐ ปี มาแล้วโดยช่างพื้นบ้าน นับว่ามีรูปแบบและลักษณะทางสถาปัตยกรรมสวยงาม ในปัจจุบันกรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน หลังจากทางวัดได้ได้เริ่มสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐

โครงการบูรณะหอพระไตรปิฏกวัดศรีสุทธาวาส อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
บทความโดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เขียนเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2559

สืบเนื่องจาก วัดศรีสุทธาวาส มีโครงการจัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นโดยความริเริ่มขององค์กรสงฆ์และคณะศรัทธามาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๐ และจากสำนึกร่วมของความเป็นชุมชนนี้เองที่เป็นสิ่งผลักดันให้เกิดพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของตนขึ้น

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเวียงป่าเป้าที่วัดศรีสุทธาวาส
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2561

การสัมมนาที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อต้นปีที่แล้ว ซึ่งมูลนิธิประไพ วิริยะพันธุ์ จัดร่วมกับโครงการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือตอนบน ทำให้ได้รับทราบว่า มีความต้องการสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นโดยผู้นำและชาวบ้านในชุมชนต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่มีเพียงส่วนหนึ่งที่มีความพร้อม เช่น สถานที่ ความร่วมมือในชุมชน และที่สำคัญที่สุดคือผู้นำกลุ่มที่สามารถรับผิดชอบงานที่กำลังเกิดขึ้นต่อไปได้

บันทึกจากท้องถิ่น : ไปจัดพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุทธาวาส
บทความโดย จุฑารัตน์ เหลืองสง่างาม
เขียนเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2559

วัดศรีสุทธาวาสเป็นวัดที่เก่าแก่ ตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนในอำเภอเวียงป่าเป้า ตามประวัติความเป็นมาของวัดศรีสุทธาวาส เขียนไว้ในสมุดข่อยได้กล่าวว่าวัดนี้สร้างขึ้นในปีจุลศักราช ๑๑๐๕ ปีก่าไก๊ คือปีกุน ตรงกับ พ.ศ.๒๒๘๖ สิ่งก่อสร้างที่สำคัญภายในวัดประกอบไปด้วยหอไตร เป็นอาคาร ๒ ชั้น ทรงล้านนา เจดีย์เป็นแบบพม่า-มอญ ทรงลอมฟาง อุโบสถ มีมุขสร้างคร่อมบันไดนาคหน้าประตูทางเข้า ส่วนภายในวิหารมีพระประธานแบบพม่าอยู่บนฐานชุกชี และที่ฐานมีปูนปั้นเรื่องเวชสันดรชาดก สภาพภายนอกตั้งอยู่ท่ามกลางหมูบ้าน บริเวณที่ตั้งวัดลักษณะเป็นเนินเตี้ย มีป่าไม้เบญจพรรณล้อมรอบอาณาเขตที่ตั้งวัด จึงทำให้สถานที่ตั้งวัดสะอาดร่มรื่นเหมาะที่จะเป็นสถานที่พักผ่อน และบำเพ็ญกุศลของพุทธบริษัทโดยทั่วไป

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดศรีสุทธาวาส
บทความโดย พจนีย์ พยัคฆานุวัฒน์
เขียนเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2559

วัดศรีสุทธาวาส ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เดิมเรียกว่า “ วัดศรีราชคฤห์ ” ( วัดราช ) หรือ “ วัดนอก ” ( นอกเวียง ) ม. ปาวี ชาวฝรั่งเศสได้เคยสำรวจและบันทึกไว้ในชื่อ ” วัดเจดีย์สุวรรณ ” ส่วนในจารึกสมุดข่อย กล่าวว่าวัดนี้สร้างขึ้นในปี จุลศักราช ๑๑๐๕ ปีก่าไก๊ ( ปีกุน ) ตรงกับ พ.ศ. ๒๒๘๖ แต่พบแผ่นศิลาจารึกลงศักราชตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๑๑ จนถึง ๒๐๔๕

พลังจัดการความรู้ “ชุมชนรักษ์แม่ลาว”
บทความโดย พลกฤษณ์ จริงจิตร - [ ๑ มิ.ย. ๔๗, ๑๔:๑๙ น. ]
เขียนเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2559

ความหลากหลายทางชีวภาพประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมีคนหลากหลายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยจนเกิดเป็นชุมชนทำให้เกิดการปรับตัวในท้องถิ่นและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ท่านอาจารย์เสน่ห์ จามริก เคยกล่าวไว้ว่า

ทำด้วยใจ : อยากให้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้ของเด็ก
บทความโดย มูลนิธิเล็ก – ประไพ วิริยะพันธุ์
เขียนเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2561

ทางวัดไม่ได้ขวนขวายให้มีนักท่องเที่ยว...ไม่หวังผลในส่วนนั้น แต่อยากทำพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชน วิชาเรียนที่เกี่ยวกับท้องถิ่นก็ให้มาหาที่วัด อย่างน้อยวัดก็ช่วยในศิลปะหรือความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นได้ ช่วยการปลูกฝังให้เด็กเหมือนคนใส่บาตรที่คิดว่าต่อไปน่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและอนุชนรุ่นหลัง

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดศรีสุทธาวาส
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2560

วัดศรีสุทธาวาสเป็นอีกวัดหนึ่งที่พระสงฆ์เจ้าอาวาสและชาวบ้านต้องการที่จะมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของตนเอง วัดนี้ เป็นวัดหนึ่งในจำนวนหลายวัดของชุมชนเวียงป่าเป้า ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ เป็นที่ตั้งของที่ทำการอำเภอ มีถนนสายดอยสะเก็ด - เชียงรายตัดผ่าน นับเป็นชุมชนที่อยู่บนเส้นทางคมนาคมมาช้านาน มีย่านร้านค้า ตลาด และสถานที่ราชการที่ทำให้ผู้คนที่มีอาชีพหลากหลายอยู่รวมกัน โดยเฉพาะมีทั้งผู้ที่เป็นคหบดี และชาวบ้านธรรมดาที่พอมีพอกินและยากจนที่ทำให้เวียงป่าเป้าไม่ใช่เป็นเพียงชุมชนในระดับหมู่บ้าน หากเป็นชุมชนระดับเมืองที่แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มตามพื้นที่

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.