หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
พิพิธภัณฑ์หลากท้องถิ่น
ข้อมูลทั้งหมดมี 17 ข้อมูล
1 2 จากทั้งหมด 2 หน้า
แนะนำพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด
บทความโดย พชรพงษ์ พุฒซ้อน , กิตติคุณ โพธิ์ศรี
เขียนเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2562

หากได้ยินชื่อ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” จะเห็นภาพของการเป็นพิพิธภัณฑ์ของหัวเมืองใหญ่ หรือเมืองที่มีสถานที่สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ ด้วยกระแสการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่มีมากขึ้น จึงเกิดการปรับตัวของการจัดทำพิพิธภัณฑ์ที่นำความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นร่วมกับประวัติศาสตร์ภาพใหญ่จัดทำเป็น “พิพิธภัณฑ์เมือง” โดยพิพิธภัณฑสถานเมืองตราด จัดได้ว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่นำความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อแสดงให้เห็น วิถีชีวิตคนเมืองตราด ไม่เป็นเพียงพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมเพียงวัตถุโบราณ 

ความก้าวหน้าพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระเจ้าตากสิน วัดราชบัลลังก์ปฏิฐาวราราม บ้านทะเลน้อย
บทความโดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เขียนเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2560

วัดราชบัลลังก์ฯ เป็นวัดที่มีความเก่าแก่อยู่คู่กับชุมชนบ้านทะเลน้อย พร้อมทั้งยังมีความเชื่อในเรื่องของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอยู่อย่างแน่นหนา เป็นชุมชนที่มีผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมและดูงานอยู่ตลอดอย่างไม่ขาดสาย มูลนิธิฯและชาวบ้านทะเลน้อยร่วมประชุมการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่วัดราชบัลลังก์ มีจุดประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วิถีชีวิตของผู้คน และเป็นพื้นที่สำหรับคนในชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน.

ประเพณีบุญส่ง กับ จุดเริ่มต้นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านทะเลน้อย
บทความโดย พัชรินธร เดชสมบูรณ์รัตน์
เขียนเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2560

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ กำลังมีโครงการร่วมมือกับชุมชนบ้านทะเลน้อยและวัดราชบัลลังก์ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ในการทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านทะเลน้อย เนื่องจากบริเวณพื้นที่บ้านทะเลน้อยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน ไม่ว่าจะมาจากตำนานเรื่องเล่าที่สืบต่อกันมาหลายรุ่นอายุของคนในพื้นที่หรือจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีที่แสดงให้เห็นว่าในช่วงสมัยกรุงธนบุรี มีข้อสันนิษฐานว่าบ้านทะเลน้อยเป็นเส้นทางผ่านการเดินทัพของพระเจ้าตากสินมหาราชเพื่อเข้าตีเมืองจันทบูร โดยข้ามฝั่งผ่านทางแม่น้ำประแสบริเวณ “ท่าบน” และ “ท่าล่าง” หรือเรียกกันในท้องถิ่นว่า “ตรอกตากสิน” เป็นเส้นทางในการเดินทางไปข้ามลำน้ำพังราดที่ช้างข้าม และพักทัพที่ทุ่งสนามชัยหรือวัดสนามชัยต่อไป

 

"พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น วัดพุน้ำร้อน ด่านช้าง" เรียนรู้และท่องเที่ยวริมเทือกเขาตะนาวศรี
บทความโดย จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์
เขียนเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2561

“ด่านช้าง” ในจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นพื้นที่ใกล้เชิงเขาตะนาวศรีที่ทอดยาวเป็นพรมแดนธรรมชาติในภูมิภาคตะวันตกผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยสภาพภูมิศาสตร์เช่นนี้จึงทำให้ประกอบไปด้วยกลุ่มคนหลายชาติพันธุ์ เช่น กะเหรี่ยง ละว้า อันเป็นผู้คนในท้องถิ่นแต่เดิม และลาวครั่งกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกอพยพจากการสงครามสมัยต้นกรุงฯ ถูกให้ไปตั้งถิ่นฐานเฝ้าด่านชายแดนตะวันตกด้านนี้ตั้งแต่เมื่อสมัยต้นกรุงเทพฯ จนถูกเรียกว่า “ลาวด่าน” 

 

เกลือเป็นหนอน ภัยที่ควรระวังของชาวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
บทความโดย ธีระวัฒน์ แสนคำที่ปรึกษากลุ่มประวัติศาสตร์สองข้างทางภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2559

กว่าที่จะทำให้เกิดเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ไม่ว่าจะอยู่ในชื่อ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์เมือง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน พิพิธภัณฑ์ชุมชน และพิพิธภัณฑ์วัด หรือชื่อใดๆ ก็ถือว่าเป็นการยากพอสมควร แต่การที่จะทำให้พิพิธภัณฑ์มีชีวิตมีความน่าสนใจ และรักษาวัตถุสิ่งของที่จัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของโบราณมีค่าต่างๆ ถือว่าเป็นการยากยิ่งกว่า เพราะสภาพสังคมทุกวันนี้เต็มไปด้วยมิจฉาชีพที่จ้องจะลักขโมยสมบัติแผ่นดิน สมบัติชุมชนขายเป็นอาชีพเริ่มมีมากขึ้น

TAMAN MINI : Jakarta Indonesia & เมืองโบราณ สมุทรปราการ ประเทศไทย
บทความโดย Najib Bin Ahmad
เขียนเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2559

เมื่อตอนต้นปีที่แล้ว (2555) ผมได้มีโอกาสแวะชม Taman Mini ที่เมือง Jakarta ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นสวนที่จำลองบ้านที่เป็นเอกลักษณ์จากทุกจังหวัดของอินโดนีเซียทั้ง 33 เขตปกครอง (30 จังหวัด 2 เขตปกครองพิเศษ 1 เขตนครหลวงพิเศษ)

“พิพิธภัณฑ์ในหมู่บ้าน” เก็บอดีตจากบ้านดงคอน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2561

ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเรื่องราวทางศิลปวัฒนธรรมกระจายอยู่ในที่ต่างๆ เกือบทั่วประเทศ เนื้อหาที่จัดแสดงก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ “ศิลปะและโบราณคดี” ในระดับภูมิภาค เน้นให้เห็นความสำคัญของศูนย์กลางแห่งใดแห่งหนึ่ง

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น : พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองด่านซ้ายกับการหายไปของ ‘ความเป็นท้องถิ่น
บทความโดย ธีระวัฒน์ แสนคำ
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2559

เมืองด่านซ้าย เป็นชุมชนโบราณเก่าแก่ของราชอาณาจักรล้านช้างที่ตั้งอยู่ติดกับบริเวณเขตต่อแดนระหว่างกรุงศรีอยุธยากับล้านช้าง มีพระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นเป็นสัญลักษณ์เขตแดนและไมตรีระหว่างสองราชอาณาจักรเป็นประจักษ์พยาน เมืองด่านซ้ายในปัจจุบันคือบริเวณอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

เสียงเพรียกจากคนใน: ท้องถิ่นและพิพิธภัณฑ์วัดเกตุฯ
บทความโดย เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ
เขียนเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561

อาจเพราะความบังเอิญที่อยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการค้าทางเรือในลุ่มน้ำปิง จึงทำให้ได้มารู้จักกับพิพิธภัณฑ์วัดเกตุ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในย่านวัดเกตุ ริมน้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่

ชีวิตพิพิธภัณฑ์ที่ย่านวัดเกตุ
บทความโดย เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ
เขียนเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561

นับย้อนกลับไปกว่า ๑๐๐ ปี ชุมชนทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงใกล้กับสะพานนวรัตน์ ถูกจัดให้เป็นที่อยู่ของคนต่างชาติไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ฝรั่ง คนพื้นเมือง มุสลิม ดังเห็นได้จากอาคารสถาปัตยกรรมที่ยังหลงเหลือมาจนปัจจุบัน ย่านดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีเรียกว่า “ย่านวัดเกตุ”

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.