หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ความหมายของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
ข้อมูลทั้งหมดมี 4 ข้อมูล
1 จากทั้งหมด 1 หน้า
จับกระแสพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นควรสร้างเพื่อใคร?
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2559

ในราวต้นทศวรรษ ๒๕๓๐ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทยยังคงเป็นสิ่งใหม่ๆ ที่ผู้คนยังไม่คุ้นเคย แต่เริ่มมีการเสวนาพูดคุยกันถึงการรวบอำนาจการจัดการพิพิธภัณฑ์ของรัฐไทยที่ผูกขาดเรื่องราวของประวัติศาสตร์แห่งชาติเอาไว้ที่ตนเองฝ่ายเดียว กระแสการจัดการความรู้ในอดีตของชาติเช่นนี้ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านในแวดวงคนทำงานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีจำนวนหนึ่ง

พิพิธภัณฑ์กับการศึกษานอกระบบ
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2559

เท่าที่สังเกตมาจนขณะนี้ เห็นได้ว่าการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาตินั้น มีการดำเนินการอย่างกว้างขวางทั้งในองค์การทางรัฐบาลและเอกชน อันอาจกล่าวได้ว่ามีทั้งเป้าหมายและนโยบาย ซึ่งฟังดูเป็นคำพูดที่สวยหรูและทันสมัย แต่เมื่อพิจารณาให้ดีแล้วทั้งจากการดำเนินการ การกระทำและคำพูด เห็นชัดได้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้มาจากความเข้าใจอย่างถ่องแท้มากกว่า น้อยรายทีเดียวที่บรรดาผู้บริหารที่เป็นผู้ใหญ่ในระดับเจ้าสังกัดจะเข้าใจถึงความหมายและคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น : กระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2560

การจัดพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่ของใหม่ในประเทศไทย เพราะปัจจุบันมีพิพิธภัณฑ์มากมายหลายแห่งทุกภูมิภาคทั้งในระดับชาติ ระดับจังหวัด และท้องถิ่น แต่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเป็นสิ่งใหม่ไม่เหมือนพิพิธภัณฑ์เหล่านั้น หลายคนอาจจะคัดค้านว่าพิพิธภัณฑ์ตามท้องถิ่นก็มีอย่างมากมายอยู่แล้ว จะไม่เรียกว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นได้อย่างไร คำตอบในที่นี่ก็คือ บรรดาพิพิธภัณฑ์เหล่านั้นแสดงหรือให้อะไรที่ทำให้เห็นว่าเป็นความรู้เฉพาะท้องถิ่นนั้นบ้าง เพราะประเพณีการจัดพิพิธภัณฑ์ทั้งในระดับชาติ ระดับจังหวัด และท้องถิ่นที่เป็นอยู่ขณะนี้

เปิดประเด็น : พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น [local museum] และการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน [sustainable tourism]
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2559

ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาวิจัยในเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นนี้มีอย่างมหาศาล แต่จะกล่าวถึงเฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น นั่นก็คือการนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นและพิพิธภัณฑ์เมือง (local museum) กับการสนับสนุนการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (sustainable tourism) อันเป็นสิ่งที่สังคมไทยขาดแคลนอยู่มากในขณะนี้ ที่ว่าเป็นประโยชน์กับการจัดและสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ก็เพราะว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่างๆ

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.