หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ข้อมูลทั้งหมดมี 12 ข้อมูล
1 2 จากทั้งหมด 2 หน้า
รู้จักปอเนาะ
บทความโดย มูฮำหมัด อาดำ, ชารีฟ บุญพิศ, รอไกยะ อาดำ
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2561

บ้านภูมี (ในอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี) เป็นที่ตั้งของปอเนาะที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งชื่อว่าปอเนาะภูมีหรือบืรมิง ซึ่งมีอายุเกือบหนึ่งร้อยปีแล้ว ในส่วนนี้จะทำให้เราได้ทราบถึงวิถีดำเนินชีวิตของชาวบ้านภูมีว่ามีความเป็นมาอย่างไร และมีความสัมพันธ์กันในลักษณะใดบ้าง เพราะปอเนาะภูมีเป็นบ่อเกิดแห่งชุมชน เป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่างในปัจจุบัน

“ปาตานี” นครแห่งความทรงจำ
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2560

เมืองโบราณขนาดใหญ่ที่อยู่ในบริเวณอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ห่างจากชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดินราวๆ ๑๕-๑๖ กิโลเมตร มีผู้รู้จักมาเป็นเวลานานแล้ว และทราบว่าเป็นเมืองสำคัญที่พบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานเป็นบ้านเป็นเมืองและพบศาสนาสถานจำนวนมาก อาจจะเป็นชุมชนโบราณที่พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่ซับซ้อนและใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรมลายูทีเดียว

เหตุการณ์กลุ่มราชนิกุลเมืองสายบุรี หนีราชภัยไปเมืองกลันตัน
บทความโดย รัศมินทร์ นิติธรรม
เขียนเมื่อวันที่ 5 พ.ค. 2560

หลังจากที่พระยาสายบุรี เติงกูอับดุลกอเดร์ (หนิละไม) ได้ถึงแก่กรรมลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้หนิแปะ บุตรพระยาสายบุรี (หนิละไม) เป็นพระยาสุริยสุนทรบวรภักดี ศรีมหาราชา มัตตาอับดุลวิบูลย์ขอบเขตประเทศมลายู ผู้ว่าราชการเมืองสายบุรี ให้หนิปิน้องพระยาสายบุรี (หนิแปะ) เป็นพระรัตนมนตรี ผู้ช่วยราชการ และให้หนิอีตำ น้องพระรัตนมนตรี (หนิปิ) เป็นพระวิเศษวังศา ผู้ช่วยราชการเมืองสายบุรี

ประวัติศาสตร์บาดแผลและประวัติศาสตร์ของผู้ถูกกดขี่
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

กิจกรรมทางวิชาการเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จัดโดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติที่เป็นชุดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “แผ่นดินล้านนา” ชวนไปพูดเรื่อง “ความจริงและตำนานกบฏเงี้ยวเมืองแพร่” คงจะเพราะต่อเนื่องมาจากการทำงานวิจัยท้องถิ่นและพิมพ์เผยแพร่เอกสารเรื่อง “นครแพร่ จากอดีตมาปัจจุบัน : ภูมินิเวศวัฒนธรรม ระบบความเชื่อ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ที่จัดจำหน่ายในวงแคบๆ ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว

ยะรังชุมชนในเขตเทือกเขาสันกาลาคีรี
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

ท้องถิ่นยะรัง เป็นบริเวณที่อุดมไปด้วยชุมชนโบราณและแหล่งโบราณคดีที่หนาแน่นที่สุดแห่ง หนึ่งในเขตจังหวัดภาคใต้ หรืออีกนัยหนึ่งทั้งของคาบสมุทรมลายูก็ว่าได้ จากการขุดทำลายแหล่งโบราณคดีเป็นเหตุให้นักวิชาการนักโบราณคดีทั้งไทยและเทศ เข้ามาศึกษากันตลอดมาร่วมกว่า ๙๐ ปี

คนมลายู, แผ่นดินอื่นคนอื่น
บทความโดย งามพล จะปากิยา
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2559

๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔เมืองบันดุงประเทศอินโดนีเซียผมมีความรู้สึกว่าตัวเองอยู่ไกลบ้านเหลือเกินที่นี่มิใช่แผ่นดินที่ผมคุ้นเคยแต่ในใจคิด…พวกเขาก็มลายูเหมือนเราเป็นสิ่งเดียวที่ปลอบใจตัวเองให้รู้สึกปกติกับความตื่นเต้นต่อพื้นที่ผู้คนพูดคนละภาษากับเราศาสนาก็ไม่แน่ใจว่าศาสนาเดียวกันหรือไม่

ร่องรอยวัฒนธรรมฮินดู-พุทธในดินแดนปาตานี
บทความโดย Najib Bin Ahmad
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2559

นอกเหนือจากกลุ่มโบราณสถานบ้านจาเละ-ประแว อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี และกลุ่มบ้านท่าสาป-บ้านหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลาแล้ว พื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้หรือในเขตดินแดนของเมืองปาตานีก็ไม่ปรากฏว่ามีร่องรอยของแหล่งโบราณคดีหรือโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่องด้วยวัฒนธรรมฮินดู-พุทธ อันเป็นวัฒนธรรมที่มีมาก่อนการเปลี่ยนมาเป็นศาสนาอิสลามในดินแดนนี้เลย

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น จังหวัดยะลา
บทความโดย กฤนกรรณ สุวรรณกาญจน์
เขียนเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2559

การจัดโครงการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยสำนักวัฒนธรรมจังหวัดยะลา เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ โรงแรมแกรนด์พาเลซ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ความเป็นมาของความเชื่อและประเพณีวัฒนธรรม อันเป็นการแสดงถึงอัตลักษณ์ซึ่งนำไปสู่การสืบค้นอย่างมีส่วนร่วม และนำมาจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน

คนตานี … มลายูมุสลิมที่ถูกลืม
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2559

จาก หลักฐานทางโบราณคดียืนยันว่า ปัตตานีมีลักษณะภูมิประเทศที่เหมาะแก่การทำการค้าทางทะเล เพราะมีชายฝั่งและอ่าวที่เหมาะแก่การจอดพักเรือหรือทำสถานีการค้า มีแม่น้ำลำธารหลายสายที่ไหลมาจากแผ่นดินใหญ่ออกสู่ทะเล อ่าวปัตตานีมีอาณาบริเวณคาบเกี่ยวในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอยะหริ่ง และอำเภอยะรัง ของจังหวัดปัตตานีทุกวันนี้ และด้วยพื้นที่รอบอ่าวปัตตานีเดิมเป็นที่ราบใกล้ปากน้ำและชายฝั่ง มีการทับถมของเนินทรายและสันดอนปากแม่น้ำจนเป็นพื้นที่ซึ่งอุดมสมบูรณ์เหมาะ แก่การตั้งถิ่นฐาน ทั้งเพาะปลูกและเป็นสถานีการค้า บริเวณนี้จึงมีแหล่งชุมชนที่เป็นบ้านเมืองพัฒนาสืบต่อมาจนปัจจุบัน

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.