หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ข้อมูลทั้งหมดมี 19 ข้อมูล
1 2 จากทั้งหมด 2 หน้า
บรรยายสาธารณะ : สถาปัตยกรรมมลายูในท้องถิ่นสามจังหวัดภาคใต้
บทความโดย Najib Bin Ahmad
เขียนเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2561

สถานการณ์ในปัจจุบันของสถาปัตยกรรมมลายูในสามจังหวัดภาคใต้อยู่ในสภาวะที่สุ่มเสี่ยงและน่าวิตก ด้วยความที่งานสถาปัตยกรรมมลายูในสามจังหวัดภาคใต้ ขาดการส่งเสริม ไม่มีการสืบทอด ขาดองค์ความรู้ ทำให้ความรู้ความเข้าใจในงานสถาปัตยกรรมมลายูขาดตอนและผิดเพี้ยนไปจากเดิม งานสถาปัตยกรรมลายูในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้สูญหายลงไปหลังแล้วหลังเล่า ทั้งจากการเสื่อมสภาพ ผุพังตามอายุขัย การรื้อถอนเพราะค่านิยมเปลี่ยน รวมทั้งการทำลายด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ทั้งจากหน่วยงานของรัฐและคนในท้องถิ่นเอง  

สามจังหวัดภาคใต้..... เขตปกครองพิเศษแบบช่วยเหลือตนเอง
บทความโดย Najib Bin Ahmad
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2561

หลังจากหมดยุคของกลุ่มวาดะห์ และเริ่มเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ คนมลายูมุสลิมแทบจะไม่ได้ตั้งความคาดหวังใดๆกับหน่วยงานของรัฐไทยและนักการเมืองอีกต่อไปแล้ว ไม่ว่าจะมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับใดๆ, การหาเสียงของนักการเมืองที่เพ้อฝันถึงเมกาโปรเจค ที่อ้างว่าจะสร้างเพื่อพัฒนาสามจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น หรือราคายางพาราจะขึ้นหรือตก สำหรับคนมลายูมุสลิมในตอนนี้ ไม่ได้มีความสำคัญมากกไปกว่าลู่ทางในการไปทำงานที่มาเลเซีย ไม่มากไปกว่าการที่สหกรณ์ออมทรัพย์อิบนูอัฟฟาน ซึ่งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ของมุสลิม เปิดระดมหุ้นเพื่อสร้างโครงการต่างๆทางธุรกิจ

ตุลาทมิฬและอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำ
บทความโดย — วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2559

แม่น้ำโกลก คือ เขตพรมแดนที่ถูกใช้เป็นเส้นแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ให้แยกบ้านเมืองสองฝั่งออกเป็นรัฐชาติสองประเทศฝั่งไทยมีด่านท่าเรือตาบาในอำเภอตากใบ อีกฝั่งหนึ่งคือ กำปงเปงกลัน กูโบร์ในรัฐกลันตันของมาเลเซียก่อน พ.ศ.๒๔๕๑  รัฐสยามมีสิทธิเหนือดินแดนมลายูทั้ง ๔ รัฐ คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส  ใช้วิธีปกครองแบบหัวเมืองประเทศราชให้สุลต่านปกครองกันเองแต่จะส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทอง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ในการยอมรับอำนาจทางการเมืองมาถวายพระมหากษัตริย์ไทย ๓ ปี ต่อครั้ง

มองความสัมพันธ์ทางสังคมผ่านพื้นที่วัฒนธรรมของท้องถิ่น
บทความโดย งามพล จะปากิยา
เขียนเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2559

อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม นักมานุษยวิทยากล่าวว่า เราสามารถศึกษาโครงสร้างทางสังคมหนึ่งๆ ได้โดยผ่านการพิจารณาระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับสภาพแวดล้อม ตลอดจนคนกับสิ่งนอกเหนือธรรมชาติในระบบความเชื่อต่างๆ ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นชีวิตวัฒนธรรมและภูมิวัฒนธรรมของผู้คนในสังคมท้องถิ่น

สังคมท้องถิ่น ความสัมพันธ์แบบเครือญาติที่หายไป
บทความโดย งามพล จะปากิยา
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2559

สังคมมลายูที่คนทั่วไปสนใจใคร่รู้จักหลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งรัฐพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ระยะเวลาผ่านไปเกือบ ๑๐ ปีแล้ว ใช้งบประมาณเป็นแสนล้าน ที่สำคัญอย่างยิ่งคือการสูญเสียชีวิตของผู้คนอย่างต่อเนื่องเกินกว่าจะประเมินค่าได้

เปิดประเด็น : เสียงเพรียกจากตัวหนอนกรณีความเดือดร้อนในภาคใต้
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2559

เมื่อ วันอังคารที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๗ ที่แล้วมา ข้าพเจ้าและเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้มีส่วนร่วมในเวทีการเสวนาเรื่อง " ทุกข์ของคนตานี " ที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่ง เป็นการให้บรรดานักวิจัยจากภายในท้องถิ่นนำข้อมูลและความรู้ที่ศึกษาได้จาก การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตนมาพูดคุยให้กับผู้สนใจจากภายนอกฟัง

ปัญหา สตูล ปัตตานี กับวัฒนธรรมที่กำลังถูกทำลาย
บทความโดย Arifin bin Chik
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2559

มีคำถามจากเพื่อนจังหวัดสตูลอยู่คำถามหนึ่งที่ผมไม่อยากจะตอบ แต่เมื่อได้อ่านการให้สัมภาษณ์ของอดีตแม่ทัพใหญ่ในการประชุมสัมมนาผู้รู้ทางศาสนาอิสลาม จัดขึ้นที่จังหวัดสตูล เมื่อ ๒๖ มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งต้องการให้ปัตตานีเอาสตูลเป็นตัวอย่าง จึงมีความจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจสภาพความแตกต่างกันระหว่างจังหวัดสตูลและและจังหวัดปัตตานีให้ได้ทราบพอสังเขปดังนี้

สังคมมุสลิมกับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจการเมือง การศึกษาเฉพาะกรณีในเขตปัตตานี
บทความโดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2559

เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๓.๓๐-๑๕.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๔๐๗ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) โดยมีอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม เป็นวิทยากรบรรยาย

เปิดประเด็น : ศาสนาของผู้ถูกกดขี่ [Religion of the oppressed]
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2559

เหตุการณ์ วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗ ที่มัสยิดกรือเซะ คือ สิ่งที่ทำให้ข้าพเจ้ามาถึงบางอ้อในเรื่องความขัดแย้งที่รุนแรงในสามจังหวัด ภาคใต้ที่มีมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน สิ่งที่เคยคิดกันต่างๆ นานา

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.