หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ข้อมูลทั้งหมดมี 115 ข้อมูล
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10  Next จากทั้งหมด 12 หน้า
สังคมลุ่มน้ำหมันกับวิถีชีวิตที่แปรเปลี่ยน
บทความโดย เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ
เขียนเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2561

ด่านซ้ายอยู่ลุ่มน้ำหมัน เกือบทุกหมู่บ้านของอำเภอด่านซ้ายล้วนแต่มีน้ำหมันไหลผ่าน น้ำหมันมีจุดกำเนิดที่ภูเขาคอนไก่หรือภูลมโลของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลจากทิศใต้ขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านบ้านกกสะทอน ตำบลกกสะทอน บ้านด่านซ้าย บ้านเหนือ บ้านเดิ่น บ้านนาหว้า บ้านก้างปลา บ้านน้ำพุ บ้านหนามแท่ง บ้านหนองฟ้าแลบ บ้านนาเวียง บ้านเทิงนา บ้านนาห้วยอ้อย บ้านหัวนายูง บ้านศาลาน้อย ตำบลด่านซ้าย บ้านนาหอ บ้านหนองผือ บ้านนาน้ำท่วม บ้านเก่า บ้านนาฮี บ้านนาเบี้ย บ้านโพนหนอง บ้านหัวนาแหลม ตำบลนาหอ บ้านนาดี บ้านนาหมูม่น บ้านปลายข่า บ้านหนองทุ่ม บ้านกกแหนเก่า บ้านแก่งตาว บ้านแก่งม่วง บ้านห้วยลาด บ้านกกแหนใหม่ ตำบลนาดี ไปสบกับน้ำเหือง เขตกั้นพรมแดนระหว่างไทย-ลาว ทางทิศเหนือที่บ้านปากหมัน ตำบลปากหมัน

หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์
บทความโดย ปราณี กล่ำส้ม วารสารเมืองโบราณ
เขียนเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2561

วัดสว่างอารมณ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลต้นโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี ในสมัยก่อนบริเวณวัดมีชาวมอญนำสินค้ามาขายตามแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แวะพักเรือบริเวณนี้ จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า บ้านบางมอญ ทั้งๆ ที่ไม่มีชาวมอญอาศัยอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดนี้ตามชื่อหมู่บ้านว่าวัดบางมอญ วัดนี้สร้างประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๙ และสิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้คนรู้จักวัดนี้เป็นอย่างดีก็คือ หนังใหญ่

 

ระบบเหมืองฝายของคนไตคำตี่ ชุมชนจารีตและสังคมเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2561

ในทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า คนไตคำตี่เป็นกลุ่มที่ข้ามเทือกเขาปาดไก่ เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ ไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง บรรพบุรุษนั้นเดินทางมาจากแถบลุ่มแม่น้ำชินด์วินซึ่งอยู่ในรัฐกะฉิ่น สหภาพเมียนมา แล้วข้ามเทือกเขาปาดไก่อันเป็นชายแดนระหว่างพม่าและอินเดียสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร โดยกลุ่มเหล่านี้แบ่งเป็น ไตคำตี่ ไตผาเก ไตอ้ายตอน ไตคำยัง ในกลุ่มคนไตเหล่านี้เคยตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ด้วยกันบริเวณใกล้กับเชิงเขาปาดไก่ในรัฐอัสสัมปัจจุบันนี้โดยมีรูปแบบวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม การทำนาทดน้ำ การแต่งงาน บ้านเรือน เครือญาติ การนับถือศาสนาโดยเฉพาะรูปแบบของวัดแบบ “จอง” และเรียกผู้นำของตนว่า “เจ้าฟ้า” เช่นเดียวกับผู้คนในวัฒนธรรมคนไตหรือไทใหญ่อื่นๆ

"สามย่านรามา" โรงหนังในย่านตลาดของคนเมืองแกลง
บทความโดย จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2561

“สามย่านรามา” ซึ่งเป็นโรงหนังแบบเดี่ยวๆ หรือ Stand Alone แห่งแรกและแห่งเดียวในเมืองแกลง ตั้งอยู่หน้าสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองแกลง เดิมพื้นที่บริเวณนี้คือตลาดเทศบาล ๒ ซึ่งมีร้อยโทนายแพทย์ประณีตและนางกิ่งจันทร์ แสงมณี ได้สร้างและยกให้เป็นสมบัติของสุขาภิบาลทางเกวียนหรือสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองแกลงปัจจุบัน เพื่อหวังจะขยายเมืองจากทางฝั่งถนนสุนทรโวหารออกมาแต่เดิมพื้นที่โดยรอบเป็นป่าและเป็นสวนยางไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่

‘ หนังใหญ่ มหรสพหรือพิธีกรรม ’
บทความโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2561

คำว่าหนังที่เราเข้าใจกันทุกวันนี้ว่า ‘ภาพยนตร์ ’ ต้นกำเนิดมาจากคำว่า ‘หนัง ’ ที่กำลังจะดูต่อไป พื้นฐานมาจากวิธีเล่นเงา เมื่อหนังญี่ปุ่นหรือหนังฝรั่งเข้ามาในยุคแรกๆ ร่วมสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็เอาคำว่า ‘ หนัง’ จากหนังใหญ่หรือหนังตะลุงไปเรียกว่าหนัง แล้วสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้

ตามรอยความเชื่อในเรื่องของ “นาค” ณ ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขง
บทความโดย ตรีโรจน์ ไพบูลย์พงษ์
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2561

เนื่องในวาระที่จดหมายข่าวฉบับนี้ย่างเข้าสู่ พ.ศ. ๒๕๕๕ อันเป็นปี ‘มะโรง’ หรือ ‘งูใหญ่’ ตามคติการนับปีแบบ ‘นักษัตร’ โดย ‘งูใหญ่’ ก็คือ ‘พญานาค’ ตามทัศนะความเชื่อของคนไทย กอปรกับผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางลงสำรวจพื้นที่จังหวัดแถบอีสานเหนือ คือ ‘หนองคาย’ และ ‘นครพนม’ ที่มีอาณาบริเวณที่ติดกับแม่น้ำโขง ผู้เขียนจึงถือโอกาสอันดีนี้เขียนถึง ‘พญานาค’ หรือ ‘นาค’

ไหว้พระธาตุเมืองพิณฟื้นประเพณีเพื่อรักษาวิถีธรรม
บทความโดย ธีระวัฒน์ แสนคำ
เขียนเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2561

ในคำขวัญของอำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู มีการกล่าวถึงศาสนสถานที่สำคัญของอำเภอนั่นก็คือ พระธาตุเมืองพิณ มีประวัติการสร้างมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันยังคงมีองค์พระธาตุเมืองพิณและซากวิหารเก่าที่ชาวบ้านเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักเป็นที่ศรัทธาของผู้คนที่อยู่ใกล้เคียงกับพระธาตุมาช้านาน แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักของคนรุ่นใหม่ในอำเภอเท่าใดนอกจากได้ยินในคำขวัญของอำเภอเท่านั้น

สิ่งน่าคิดเกี่ยวกับพม่า
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2561

ในปัจจุบันไม่มีสังคมใดประเทศใดที่อยู่โดดๆ โดยไม่มีการติดต่อเกี่ยวข้องกัน ถึงแม้ว่าประเทศนั้น ๆ จะใช้มาตรการที่เด็ดขาด พยายามปิดประเทศตนเองจากโลกภายนอกก็ดี ก็คงจะสำเร็จได้แต่เพียงการปิดกั้นทางด้านเศรษฐกิจหรือทางด้านวัตถุเท่านั้น ไม่อาจขวางกั้นสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาหรืออุดมการณ์ที่แพร่หลายอยู่ในกลุ่มปัญญาชนโดยทั่วไปได้

งานด้านวัฒนธรรมกับการประเมิน
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม (บทบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๔, ตุลาคม -ธันวาคม ๒๕๓๗)
เขียนเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2561

อดีตคือความเป็นมนุษย์อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นทุกหนทุกแห่งจะมีอดีต สภาพการมีอดีตสร้างจิตสำนึกและฐานความรู้ร่วมกันแก่มนุษย์ได้ การทำความเข้าใจเรื่องราวของอดีตอย่างถูกวิธีนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการท้องถิ่นพัฒนา [Localization] ในอันที่จะเลือกรับและปรุงแต่งวัฒนธรรมใหม่จากภายนอกให้เข้ากันได้กับพื้นฐานวัฒนธรรมชุมชนเดิมของตน ซึ่งจะเป็นตัวคานหรือถ่วงดุลกับกระแสโลกานุวัตร

เปิดประเด็น : เมืองไทยทูเดย์ : ไม่มีพุทธแต่มีผีกับไสย
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2561

สิ่งที่น่าแปลกใจในทุกวันนี้ของสังคมไทยก็คือ ท่ามกลางความสับสนอลหม่านในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มีบุคคลพวกหนึ่งทั้งห่มผ้าเหลืองและไม่ห่มออกมาเรียกร้องให้มีการกำหนดให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในกฎหมายทางราชการ เป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมา ทั้งอีกผิดเพี้ยนและขัดแย้งกับสถาบันกษัตริย์ที่มีมาแต่อดีต นั่นก็คือพระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกที่ต้องทรงให้ความเป็นธรรมแก่ไพร่บ่าวพลเมืองที่มาจากความหลากหลายทางชาติพันธุ์และนับถือศาสนาต่างกัน ทั้งๆ ที่องค์พระมหากษัตริย์เองทรงเป็นพุทธมามกะอันเป็นสิ่งที่บ่งแสดงอยู่แล้วว่านับถือพุทธศาสนาโดยพฤตินัยและถือเป็นพระศาสนาสำคัญที่เป็นหลักของบ้านเมืองอยู่แล้ว

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.