หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ความหมายและแนวคิด
ข้อมูลทั้งหมดมี 3 ข้อมูล
1 จากทั้งหมด 1 หน้า
เปิดประเด็น : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: แนวคิดและวิธีการ
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2561

ข้าพเจ้าคิดว่าจุดอ่อนในการศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์นั้นอยู่ที่แนวคิดและวิธีการ จึงใคร่เสนอไว้ให้คิดกันเล่นๆ ในที่นี้ ที่ว่าให้คิดเล่น ๆ เพราะไม่ต้องการให้เคร่งเครียดเป็นวิชาการจนเกินไป โดยปกติแล้วการเสนออะไรต่ออะไรในรูปแบบทางวิชาการในประเทศไทยนั้นมีการยกทฤษฎีต่างๆ หรือวิธีการต่างๆ ทางตะวันตกเข้ามาเป็นตัวนำในการอธิบายสร้างกรอบแนวคิดและวิธีการ การเสนอแบบคิดเล่นๆ สบายๆ แบบที่กำลังเสนอนี้จึงไม่เอาแบบอย่าง

เปิดประเด็น : ประวัติศาสตร์กับตำนาน
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2560

เมื่อเร็วๆ นี้ นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้กระทรวงวัฒนธรรมจัดการเรื่องการเขียนประวัติศาสตร์ไทยใหม่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างผู้คนที่มีความหลากหลายทางชนชาติและชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมประเทศเดียวกันในนามของคนไทย ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความวิตกว่า จะกำหนดให้หน่วยงานไหนของกระทรวง ทบวง กรมใดเป็นผู้จัดการ

การศึกษาสังคมไทยผ่าน “ภูมิวัฒนธรรม”
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2560

การศึกษาท้องถิ่นโดยพิจารณาความสำคัญของสภาพแวดล้อมซึ่งเชื่อมโยงกับชีวิต สังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ทุกวันนี้สภาพแวดล้อมทางภูมิวัฒนธรรมแทบทุกแห่งทุกภูมิภาคได้รับผลกระทบกระเทือนจากการปรับเปลี่ยนภูมิประเทศที่เป็นสังคมเกษตรมาเป็นอุตสาหกรรม รวมทั้งผู้คนท้องถิ่นก็เคลื่อนย้ายออกไปอยู่ตามที่ต่างๆ จนแทบไม่อาจให้ข้อมูลถึงความเป็นมาในอดีตได้เป็นสิ่งที่ทำให้การรับรู้เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมขาดหายไป.

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.