หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ข้อมูลทั้งหมดมี 55 ข้อมูล
1 2 3 4 5 6 จากทั้งหมด 6 หน้า
กุ้งเหยียดภูมิปัญญาบ้านสาขลา
บทความโดย มูลนิธิเล็ก – ประไพ วิริยะพันธุ์
เขียนเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2562

ปัจจุบัน สาขลาเป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งในตำบลนาเกลือ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มมีน้ำทะเลท่วมถึงในบางฤดู จึงไม่เอื้อต่อการทำการเกษตรกรรมใดๆ เนื่องจากดินเป็นดินเค็ม ผลผลิตทางการเกษตรจึงมีค่อนข้างน้อย ประชากรส่วนใหญ่ในแถบนี้จึงประกอบอาชีพการทำนากุ้งและนาเกลือเป็นหลัก

เทศกาลกินเจของชาวไทยเชื้อสายจีน ณ ศาลเจ้าพ่อโต๊ะกง ปากคลองแกลง จังหวัดระยอง
บทความโดย จิราพร แซ่เตียว
เขียนเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2561

ชาวไทยเชื้อสายจีนที่เข้าร่วมเทศกาลกินเจที่ศาลเจ้าพ่อโต๊ะกงนั้นมีทั้งคนในพื้นที่ คือคนปากคลองแกลงและจากบริเวณใกล้เคียงและรวมไปถึงคนต่างถิ่น ซึ่งกลุ่มหลังกลับเป็นกลุ่มสำคัญซึ่งเป็นผู้นำแบบแผนการกินเจเข้ามาเผยแพร่ โดยผสมผสานธรรมเนียมพิธีกรรมจากความเป็นจีนต่างกลุ่ม และเพิ่มเติมกิจกรรมสำคัญของศาลเจ้าคือการจัดงานกินเจ ๒ ครั้ง ซึ่งแต่เดิมคนปากคลองแกลงและศาลเจ้าไม่เคยมีธรรมเนียมมาก่อน.

โรงเจกับชาวไทยเชื้อสายจีนที่สามย่าน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
บทความโดย จิราพร แซ่เตียว
เขียนเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2561

สำหรับหน้าที่ของโรงเจจากอดีตถึงปัจจุบัน สะท้อนความเปลี่ยนแปลงจากคำบอกเล่าที่ว่า "เมื่อก่อนคนจีนใช้โรงเจเป็นที่พบปะสังสรรค์ กินน้ำชาหรือเล่นดนตรีจีน สีซอ ตีขิม ร้องบรรเลงเพลงจีนคุยเล่นกัน ปัจจุบันบรรยากาศเหล่านี้ไม่มีแล้ว รวมทั้งเรื่องที่มีที่พักให้คนมานอนค้างช่วงเทศกาลกินเจ ก็ไม่ได้ใช้งานสำหรับการพักค้างอีกต่อไป"

วัดกับชุมชน บทสำรวจท้องถิ่นเมืองแกลง จังหวัดระยอง
บทความโดย จิราพร แซ่เตียว
เขียนเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2561

สมัยก่อนที่พระสำคัญกับชุมชนเพราะพระทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน เจ้าอาวาสเป็นหัวใจหลัก แล้วพระรองๆ ลงมาจะมีความรู้แตกต่างกัน และความรู้ของพระก็เป็นความรู้ที่ได้มาจากที่เดิม คือความรู้จากชุมชน อย่างฉันรุ่นปู่เป็นแพทย์ประจำตำบลเพราะคนโบราณมีการสืบทอดความรู้ตามสายตระกูล

 

โรงเลื่อย ของป่า ภาพสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้เมืองแกลง
บทความโดย พนมกร นวเสลา
เขียนเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2561

วิถีชีวิตของคนในพื้นที่เมืองแกลงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก เมื่อเสร็จฤดูทำนาจะรวมกลุ่มพากันเทียมเกวียนเข้าป่าไปหาของป่านำออกมาขาย โดยเดินตามเส้นทางเกวียนลัดเลาะขึ้นไปทางทิศเหนือหรือเดินตามลำน้ำสายเล็กๆ เข้าไปยังป่าเบญจพรรณ ถึงเวลากลางคืนจะหยุดตามจุดที่เป็นชุมนุม...

“น้า คะน้า ฮวยน้า แกะน้า” ผักกับตะกร้า คำจีน ในถิ่นบางกะจะ ชุมชนที่จีนกลายเป็นไทย และไทยที่ยังหลงเหลือร่องรอยความเป็นจีน
บทความโดย จิราพร แซ่เตียว
เขียนเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2561

“งานทิ้งกระจาดของคนบางกะจะน่าจะมีการทำต่อเนื่องกันมาเป็นร้อยๆ ปีแล้ว อย่างตัวเองอายุหกสิบกว่าก็เห็นมาตั้งแต่เด็กๆ หน้าที่ของเถ่านั้งในงานทิ้งกระจาดขั้นแรกเลยคือต้องออกหาเงินบริจาคก่อนทำอย่างอื่น จะไปต้องไปเป็นทีม ถ้าไปคนสองคนก็ไม่น่าเชื่อถือ เถ่านั้งคนไปขอรับบริจาค และชาวสวน หรือบริษัทห้างร้านต่างๆ ซึ่งเป็นผู้บริจาคก็จะไม่เชื่อถือ ไม่สบายใจไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย ไปเป็นทีมที่ว่านี้ นอกจากใส่เสื้อทีมสีเหลือง สกรีนศาลเจ้าแม่อาเนี้ยวหัวตลาดแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ “น้า” ตะกร้าสานโบราณ ถือไปด้วย ร้านค้าต่างๆ เค้าเห็นเค้าจะรู้เลยว่านี่มารับบริจาคเพื่อไปจัดงานทิ้งกระจาดประจำปี”

วิถีประมงพาณิชย์ปากน้ำประแส จังหวัดระยอง
บทความโดย จิราพร แซ่เตียว
เขียนเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2561

หากอยากจะรู้จักประแส เบื้องแรกต้องเข้าใจวิถีของชาวประมงซึ่งเป็นอาชีพหลักจากอดีตถึงปัจจุบัน สอดคล้องกับคำขวัญ “ก้าวล้ำประมงไทย” และตราสัญลักษณ์ “เรือประมงแล่นมุ่งหน้าออกปากน้ำประแส” ซึ่งเป็นรูปแบบการทำมาหากินที่เป็นหัวใจของคนถิ่นนี้

พบพระเจ้าไม้เก่าที่สุดในล้านนาอายุกว่า ๓๐๐ ปี ที่วัดคัวะ เมืองน่าน
บทความโดย ภูเดช แสนสา
เขียนเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2561

พระเจ้าไม้มีทั้งปางประทับนั่ง นอน ยืน และเดิน แต่ส่วนใหญ่นิยมสร้างประทับนั่งปางมารวิชัย  ส่วนช่วงเวลาของการสร้างถวายวัด จากการอ่านจารึกใต้ฐานพระเจ้าไม้พบว่ามีการสร้างถวายได้ตลอดทั้งปี แต่ที่นิยมมากที่สุดอยู่ในช่วงเดือนยี่หรือช่วงยี่เป็ง (ตรงกับเดือน ๑๒ ของภาคกลางหรือประมาณเดือนพฤศจิกายน) จุดประสงค์ของผู้สร้างส่วนใหญ่เพื่อหวังผลเอาพระนิพพานและสืบทอดค้ำชูอายุพระพุทธศาสนาให้ครบ ๕,๐๐๐ ปี 

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.