หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ข้อมูลทั้งหมดมี 77 ข้อมูล
1 2 3 4 5 6 7 8 จากทั้งหมด 8 หน้า
รายการ "อดีตในอนาคต" ตอนที่ ๙ จากบางกอกถึงธนบุรี : ราชธานีในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
บทความโดย พนมกร นวเสลา
เขียนเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2561

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชภายหลังจากขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาได้ แต่ก็ไม่สามารถที่จะตั้งรกรากที่กรุงศรีอยุธยาได้เนื่องจากมีประชากรน้อย รวมทั้งขนาดของกรุงศรีอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ยากต่อการควบคุมดูแล จึงย้ายลงมาที่เมืองธนบุรี ใช้เป็นฐานที่มั่นหลักของพระองค์ เหตุที่เลือกกรุงธนบุรีเพราะเมืองธนบุรีมีขนาดเล็ก ใกล้ทะเลสามารถติดต่อค้าขายและอพยพเคลื่อนย้ายออกไปได้ง่าย. 

เมื่ออุตสาหกรรมยางพาราเปลี่ยนเมืองไชเชดถา แขวงอัตปือ
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2561

แขวงอัตปืออยู่เกือบใต้สุดของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และติดต่อกับสาธารณรัฐเวียดนามทางตะวันออก โดยมีที่ราบสูงบอละเวนซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยกว่า ๑๐๐ เมตร กั้นขวางระหว่างแอ่งที่ราบอัตปือกับที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ทำให้อัตปือเป็นภูมิภาคที่ห่างไกลกับศูนย์กลางของรัฐที่เวียงจันทน์หรือแม้กระทั่งจำปาสักด้วยระยะทางและสภาพภูมิศาสตร์

ฟังเรื่องราวจาก ‘กุดขาคีม’: เมื่อบุ่งทามหายไป ในวันที่สายน้ำถูกกั้นขวาง
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2561

ระบบนิเวศที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของ ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ คือ พื้นที่ ‘ป่าบุ่ง-ป่าทาม’ โดยมีแม่น้ำมูลที่ไหลผ่านทุ่งกุลาบริเวณตอนกลาง ลักษณะของพื้นที่เป็นลอนคลื่น สูงต่ำสลับกันไปทางตอนใต้ของทุ่งกุลาร้องไห้ ลำน้ำมูลเป็นเขตแดนด้านใต้ของพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ครอบคลุมพื้นที่คาบเกี่ยวของอำเภอพุทไธสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ

ฟังเรื่องราวจาก "กุดขาคีม" : เมื่อบุ่งทามหายไปในวันที่สายน้ำถูกกั้นขวาง
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2561

ระบบนิเวศที่สำคัญของทุ่งกุลาร้องไห้ คือ พื้นที่ทาม หรือ "ป่าบุ่ง-ป่าทาม" อันเป็นยิ่งกว่าซุปเปอร์มาเก็ตของชุมชนที่อยู่รายรอบได้พึ่งพาหาอยู่หากินเพื่อการดำรงชีวิตสืบต่อมายาวนาน เมื่อมีโครงการก่อสร้างฝายราษีไศลแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ และมีการเริ่มเก็บกักน้ำของโครงการได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีการใช้ประโยชน์ของชุมชนเป็นอย่างมาก ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๔๓ จากมติคณะรัฐมนตรีให้เปิดเขื่อนราษีไศลเพื่อทำการศึกษาผลกระทบ พื้นที่ทาม จึงโผล่พ้นน้ำขึ้นมาอีกครั้ง วิถีชีวิตของชุมชนได้กลับมาให้ประโยชน์จากทรัพยากรดังแต่ก่อน แต่ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ทางในวันนี้ไม่เหมือนในครั้งอดีตอีกต่อไป ระบบนิเวศอันหลากหลาย กุด หนอง เกิดการตื้นเขิน ชุมชนต้องร่วมมือช่วยกันฟื้นฟูพื้นที่ทามเพื่อให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์เหมือนในอดีต ตามวิถีชีวิตชุมชนที่มีการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอย่างระมัดระวัง...

 

มรดกทางวัฒนธรรมกับสภาพแวดล้อม
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2561

ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าโบราณสถานที่มีคุณค่าในทางประวัติศาสตร์และศิลปกรรมของแทบทุกภาคแทบทุกท้องถิ่นกำลังถูกเปลี่ยนแปลงสภาพไปไม่เหมือนของเดิมหรือแม้แต่ทิ้งร่องรอยเดิมไว้ให้เห็น ไม่ว่าจะเป็นพระปรางค์มหาธาตุเมืองลพบุรี พระเจดีย์วัดพระรามเมืองอยุธยา วัดแก้วเมืองสรรค์บุรี ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี และที่อื่นๆ การสูญเสียมรดกทางวัฒนธรรมและการทำลายสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมที่แลเห็นกัน คือความสิ้นหวังอย่างหนึ่งของประเทศชาติเป็นความสิ้นหวังที่ไม่เกิดปฏิกิริยาใดเพราะเห็นว่ามิใช่เรื่องคอขาดบาดตาย

ลักษณะทางภูมิศาสตร์เมืองแพร่
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ / เรียบเรียง
เขียนเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2561

บริเวณแอ่งที่ราบเมืองแพร่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ติดต่อได้สะดวกกับบ้านเมืองในกลุ่มเมืองสุโขทัย-ศรีสัชนาลัยและหลวงพระบางมากกว่าทางแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน เมืองแพร่จึงรับเอาวัฒนธรรมและประเพณีทั้งจากหลวงพระบาง สุโขทัย และล้านนา ซึ่งมีความสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติ เช่น ที่พบร่องรอยจากตำนานระหว่างพระร่วงกับพญางำเมืองและพญาเม็งรายจากพะเยาและเชียงราย

“นา-ไร่-สวน” การปรับตัวเพื่อทำมาหากินของชาวบ้านในบริเวณ “ป่าแดง-ช่อแฮ”
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ / เรียบเรียง
เขียนเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2561

พื้นที่ราบของบริเวณแอ่งที่ราบเมืองแพร่ นิยมทำ “นา-ไร่-สวน” เพราะเป็นพื้นที่ราบติดต่อกับพื้นที่เชิงเขาจึงมีการทำการเกษตรผสมผสานไปตามลักษณะของภูมิประเทศ เนื่องจากการทำนาปลูกข้าวมีอยู่ทั่วไปในบริเวณที่ราบบริเวณโดยรอบเวียงแพร่ และพื้นที่ราบทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำยมต่อเนื่องกับเทือกเขาที่เรียกว่าบริเวณป่าแดง-ช่อแฮในปัจจุบัน อยู่ในเขตปกครองของตำบลป่าแดง ตำบลนาจักร ตำบลเหมืองหม้อ และตำบลในเวียง อาศัยน้ำจากลำฝายบ้านธาตุที่ตำบลป่าแดงกระจายสู่ลำเหมืองต่างๆ

พระธาตุที่บ้านห้วยงู : บารมีพระกับการรักษาผืนป่า
บทความโดย วันใหม่ นิยม
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2561

บ้านห้วยงู หมู่บ้านแม่ปูนน้อย ตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นชุมชนปกาเกอะญอที่มีบ้านเพียงสามหลัง ท่ามกลางป่าบนดอยงูซึ่งไม่ปรากฏชื่อในแผนที่ของกรมแผนที่ทหารมาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ อยู่ในเขตหมู่บ้านแม่ปูนน้อย ตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย มีห้วยงูเป็นลำน้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงชุมชน และพื้นที่บริเวณห้วยงูนี้นับเป็นส่วนหนึ่งของดอยหลวงอันเป็นขอบด้านตะวันตกของแอ่งที่ราบลุ่มน้ำแม่ลาว

“ล่องแพ” จากขุนยวมสู่แม่สะเรียง
บทความโดย พลธรรม์ จันทร์คำ
เขียนเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2561

การต่อแพแม้ต้องใช้พละกำลังมหาศาลที่ต้องตรากตรำ คงเช่นเดียวกับบ้านต่อแพที่หลายชั่วอายุคนเคยเป็นพื้นที่มีน้ำเพียงพอต่อการล่องแพจึงเป็นท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อในเรื่องต่อแพ แต่ช่วงยุคหลังๆ ที่เริ่มมีน้ำน้อยการต่อแพก็ต้องย้ายไปต่อที่น้ำห้วยฟาน

ภูมิวัฒนธรรมกับการจัดการน้ำในภาคประชาคม : กรณีอยุธยาและสุโขทัย
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2561

อนุสนธิจากการที่คณะวิชาการเมืองโบราณได้ทำแผนที่ภูมิวัฒนธรรมของเมืองประวัติศาสตร์ในประเทศไทยเพื่อประกอบการนำชมเมืองโบราณที่สมุทรปราการให้แก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่มาชมได้เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม และได้นำภาพเมืองโบราณเหล่านั้นมาทยอยตีพิมพ์ในวารสารเมืองโบราณอย่างต่อเนื่องนั้น ได้เกิดผลดีเป็นประโยชน์ตามมาต่อการท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์ของนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ ซึ่งทำให้สามารถไปท่องเที่ยวศึกษาด้วยตนเองได้ เพราะแผนที่นั้นได้สร้างจากแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่เก่าๆ รวมทั้งตำแหน่งของสถานที่ซึ่งเป็นชื่อบ้านนามเมืองและสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจริงในท้องถิ่น

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.