หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
ข้อมูลทั้งหมดมี 40 ข้อมูล
1 2 3 4 จากทั้งหมด 4 หน้า
ศาสนาของคนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2562

โดยทั่วไปในสังคมไทยทุกวันนี้ การทำความเข้าใจเรื่องศาสนามักเป็นมุมมองในด้านความหมาย ความสำคัญของศาสนาในลักษณะที่เป็นปรัชญา คือ เป็นเรื่องขาว-ดำแต่เพียงอย่างเดียว จึงเป็นการมองเห็นศาสนาในลักษณะที่หยุดนิ่งและเป็นอุดมคติจนเปลี่ยนแปลงอะไรมิได้

อารยธรรมซายฟอง / Say Fong Civilization มรดกประวัติศาสตร์แบบอาณานิคม
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2561

ไม่ใช่เฉพาะกรณีกัมพูชานำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียวหรือการนำมหรสพหนังใหญ่ การจีบนิ้วในระบำราชสำนัก ไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้กับองค์การระหว่างประเทศแบบยูเนสโก แต่การศึกษาประวัติศาสตร์ในระหว่างประเทศแบบรัฐสมัยใหม่ ที่ฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมเคยวางรากฐานไว้ก็กำลังกลายเป็นปัญหาซับซ้อนที่หนักข้อขึ้นเรื่อยๆ

“โคกคอน” วัฒนธรรมชายขอบของชุมชนลุ่มน้ำโมงในยุคเหล็ก
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2561

บทความนี้เป็นการเสนอแนวคิดในการมองชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านโคกคอนจากสิ่งที่พบเห็นซึ่งเป็นรูปแบบของพิธีกรรมการฝังศพและโบราณวัตถุที่พบไม่มากนัก ดังนั้น เมื่อผสมผสานกับฐานข้อมูลของชุมชนร่วมสมัยในเขตแอ่งอารยธรรมอีสานที่มีอยู่ จึงทำให้รับรู้ร่องรอยความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมบางประการที่ชี้ให้เห็นว่า ชุมชนโคกคอนไม่ได้เกิดขึ้นและมีอยู่อย่างโดดเดี่ยว แม้จะตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งห่างไกลจากศูนย์กลางของกลุ่มวัฒนธรรมสำคัญทั้งในแอ่งสกลนครและแอ่งโคราชก็ตาม

วัดสะพานหิน : ร่องรอยพื้นที่ต้นน้ำศักดิ์สิทธิ์ก่อนเมืองสุโขทัย
บทความโดย พนมกร นวเสลา
เขียนเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2561

โบราณสถานต่างๆ บริเวณเมืองเก่าสุโขทัยคือภาพสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ อย่างไรก็ตาม พื้นฐานของเมืองสุโขทัยและในบริเวณลุ่มน้ำยมมิได้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เท่านั้น หากแต่มีร่องรอยของการตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์สืบเนื่องมาจนถึงสมัยสุโขทัย ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีการอยู่สืบเนื่องกันมาอย่างยาวนานคือเรื่องของทรัพยากรและสภาพภูมิศาสตร์ที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของบ้านเมืองพร้อมกับการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในพื้นที่โบราณสถานบริเวณเมืองสุโขทัยมิได้มีสถานะเพียงแค่ภาพแทนความรุ่งเรืองทางศาสนาเท่านั้น หากแต่ยังมีความหมายถึงการควบคุมหรือการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่ทรัพยากรที่สำคัญของบ้านเมือง ณ บริเวณแหล่งต้นน้ำที่อยู่ใกล้เคียงหล่อเลี้ยงบ้านเมืองบริเวณเชิงเขาหลวงแห่งนี้มาอย่างยาวนาน

ทุ่งพญาเมืองที่สามโคก
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2561

ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีจากบ้านยี่สารในจังหวัดสมุทรสงคราม ทำให้พบร่องรอยบางอย่างที่อาจหาความสัมพันธ์และอธิบายถึงการมีอยู่ของชุมชนในระยะเริ่มแรกก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาที่อยู่บริเวณใต้เกาะเมืองและต่ำลงมาตามลำน้ำเจ้าพระยาอีกหลายแห่ง

วังจันทน์ : ทางเลือกของความสำคัญทางประวัติศาสตร์
บทความโดย เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2561

เมื่อกล่าวถึงจังหวัดพิษณุโลก คนจำนวนไม่น้อยต่างนึกถึงความเป็นเมืองเก่าครั้งสุโขทัยและอยุธยา เพราะพิษณุโลกเป็นเมืองหน้าด่านและเมืองสำคัญป้องกันข้าศึกในสมัยนั้น และเมื่อมาเยือนก็มักมาเที่ยวชมวัดและโบราณสถานต่างๆ แต่มีโบราณสถานแห่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะเป็นพระราชวังหลวงแห่งเมืองพิษณุโลก หากกลับไม่มีผู้ใดกล่าวถึงเท่าที่ควร นั่นก็คือ พระราชวังจันทน์

ยุคเหล็กและพัฒนาการของประวัติศาสตร์สุโขทัย
บทความโดย ธิดา สาระยา
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2561

การค้นพบแหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด ในบริเวณตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย นับว่ามีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นแหล่งโบราณคดีในลุ่มน้ำยมที่น่าจะมีอายุเก่าที่สุด กล่าวคือประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว หรือประมาณ ๕๐๐ ปีก่อนคริสตกาล และสืบเนื่องต่อมาจนถึงสมัยทวารวดี

จากบางเกาะเป็นบางกอก:พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมของคนสยามในลุ่มน้ำลำคลอง
บทความโดย ปรับเป็นบทความจากงานเขียนของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2561

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์ในยุคต้นพุทธกาลคือ ๒,๕๐๐ ปีที่แล้วมา คนอินเดียและคนภายนอกทั่วไปเรียกว่าสุวรรณภูมิ เป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางกายภาพและมีความอุดมสมบูรณ์แต่มีผู้คนดั้งเดิมอยู่น้อย พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องของการเคลื่อนย้ายของผู้คนจากภายนอกหลายกลุ่มเหล่าทางชาติพันธุ์จากที่ต่างๆ เข้ามาค้าขายและตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัย

นครวัดในความคิดของคนตะวันตกกับตะวันออก
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2561

ความมหัศจรรย์ของนครวัดคือตัวแทนของความคิดและค่านิยมของคนตะวันออก ที่มองจักรวาลเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ไม่อาจศึกษาให้รู้เห็นเป็นจริงได้ เป็นสิ่งมีพลังที่มนุษย์ต้องสยบและสื่อสารสัมพันธ์ด้วยระบบสัญลักษณ์ ความเชื่อทางศาสนา ตลอดจนพิธีกรรม สิ่งก่อสร้างทางศาสนาจึงเป็นระบบสัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรม ที่มนุษย์จะสัมผัสกับความศักดิ์สิทธิ์และพลังทางจักรวาลได้ ทุกสิ่งทุกอย่างจึงเป็นเรื่องในมิติทางจิตวิญญาณโดยแท้

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.