หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ข้อมูลทั้งหมดมี 13 ข้อมูล
1 2 จากทั้งหมด 2 หน้า
พิพิธภัณฑ์คนจีนในเซบู, ฟิลิปปินส์ พิพิธภัณฑ์ทันสมัยในโกดังเก่า
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2561

อาคารเก่านี้น่าจะสร้างโดยช่างชาวจีน เพราะมีการมุงหลังคาแบบจีนและโครงสร้างไม้บนอาคารชั้นที่ ๒ ก็เข้าไม้แบบช่างจีน ส่วนฐานรากที่ใช้ไม้ทั้งต้นทำเสาก็ถูกกัดกร่อนด้วยน้ำกร่อย เพราะอยู่ไม่ห่างไกลจากชายฝั่งทะเลนัก ด้วยการที่จิมมี่ ไซ เป็นสถาปนิก เขาถึงซ่อมแซมอาคารเก่าหลังนี้และเก็บรักษาสภาพการตกแต่งทั้งหน้าต่าง บานประตู พื้นผนังแบบเดิมๆ ที่ทำจากหินปูนที่ได้มาจากแนวเกาะปะการังริมชายฝั่งและเครื่องแต่งบ้าน  เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง เก้าอี้ไม้ห้องครัว ห้องรับประทานอาหารแบบเดิมไว้อย่างสมบูรณ์

ตำนานการเคลื่อนย้ายของคนกลุ่มใหม่ที่มากับเรือสำเภา กับการสร้างบ้านแปงเมืองในสมัยอยุธยา
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2561

ตำนานและเรื่องเล่าภายในชุมชนหรือท้องถิ่น คือส่วนหนึ่งของ ประเพณีบอกเล่า [Oral tradition] ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญในการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์จากภายในได้อย่างเด่นชัดที่สุด การศึกษา ตำนานหรือนิทานปรัมปรา [Myth] และนิทานพื้นบ้าน [Folktale] สามารถชี้ให้เห็นถึงการแพร่กระจายทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ

พระขยุงผีเทพยดา : "พระแม่ย่า" สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสุโขทัย
บทความโดย พชรพงษ์ พุฒซ้อน
เขียนเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2561

“ศาลพระแม่ย่า” ริมแม่น้ำยม ใกล้ศาลากลางจังหวัดในปัจจุบันในเมืองสุโขทัยธานีถือเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดสุโขทัย เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐาน “รูปเคารพพระแม่ย่า” สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสุโขทัยที่ชาวเมืองสุโขทัยเคารพเลื่อมใสศรัทธาโดยมีผู้มากราบไหว้สักการะอยู่ไม่ขาด 

ศาลเจ้ายายหอมเลี้ยงเป็ดกับตำนานพื้นบ้านที่สร้างโบราณสถาน จังหวัดนครปฐม
บทความโดย พชรพงษ์ พุฒซ้อน
เขียนเมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2561

โบราณสถานที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ที่อยู่ไม่ไกลกับพระปฐมเจดีย์มากนัก คือ “เจดีย์พระประโทณ” พระมหาเจดีย์กลางเมืองโบราณในยุคทวารวดี  ในบริเวณพระประโทณเจดีย์นี้มีศาลที่มีตุ๊กตาเป็ดถวายแก้บนอยู่จานวนมาก มีทั้งแบบปูนปั้นกระเบื้องแทนที่จะเป็นตุ๊กตา ไก่หรือหุ่นทหารที่นำมาแก้บนตามที่เห็นบ่อยๆ ตามศาลในหลายที่ ศาลแห่งนี้คือ “ศาลยายหอม” ที่เกี่ยวข้องกับ “ตำนานพระยากง-พระยาพาน” ตำนานท้องถิ่นที่พูดถึงการสร้างพระปฐมเจดีย์และเจดีย์พระประโทณและชื่อบ้านนามสถานที่สำคัญของเมืองนครปฐมโบราณ 

ตำนาน (Myth) เป็นมายาคติ หรือประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 2561

ข้าพเจ้าเห็นว่าตำนานเห็นหลักฐานประวัติศาสตร์สังคม เพราะเป็นสิ่งที่คนในสังคมยุคหนึ่งสมัยหนึ่งสร้างขั้น เพื่ออธิบายความเป็นมาและชีวิตการอยู่ร่วมกันทางสังคม ยิ่งกว่านั้นตำนานคือประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต [Living history] เพราะได้มีการปรุงแต่ง เพิ่มเติมเนื้อหาและความหมายไปตามสังคมในแต่ละเวลาและสถานที่เสมอ ทำให้เรื่องราวของตำนานมีทั้งสืบเนื่องและหลากหลายอยู่ตลอดเวลา

แหล่งดินเผาคลองรำพัน บ้านเตาหม้อ
บทความโดย จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์
เขียนเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2561

การรองน้ำฝนเพื่อการอุปโภค บริโภคเป็นอีกหนึ่งในภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีมาอย่างยาวนาน เพราะน้ำในคลองไม่สามารถใช้ดื่มได้ ซึ่งบางคลองเป็นน้ำกร่อย “โอ่ง” จึงเป็นภาชนะสำคัญที่ขาดไม่ได้ของชาวบ้านในพื้นที่ชายฝั่งทะเล ที่วัดโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ปรากฏพบว่ามีโอ่งมังกรใบหนึ่งเขียนด้วยตัวหนังสือไทย ความว่า “นายปล่ำ เปรมชนม์..” แสดงให้เห็นว่าเป็นโอ่งที่มีการสั่งทำขึ้นมาโดยเฉพาะ จึงตั้งข้อสันนิษฐานว่าในแถบบริเวณใกล้เคียงนั้นต้องมีแหล่งเตาเผาอยู่

รือเสาะ สังคม วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมในดินแดนตอนในแผ่นดินปัตตานี
บทความโดย จิราพร แซ่เตียว
เขียนเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2561

รือเสาะ สังคม วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมในดินแดนตอนในแผ่นดินปัตตานี  คำว่าแผ่นดินปัตตานีนั้นใช้ในเชิงของภูมิวัฒนธรรม ซึ่งคำนี้ไม่ได้มองไปถึงเขตแดนเชิงรัฐศาสตร์ เป็นการมองเชิงพื้นที่ทางวัฒนธรรมของกลุ่มมลายูปัตตานี ซึ่งกินพื้นที่มากกว่า ๓ จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา สงขลา เพราะบางส่วนเลยเข้าไปถึงมาเลเซียในเขตเคดาห์ (Kedah)  เปรัค (Perak) กลันตัน (Kelantan) ความผสมผสานของกลันตัน

“ภูมิทัศน์ทางประวัติศาสตร์ไทยเปลี่ยนแปลงไปมากที่สุด จากการทำงานของศรีศักร วัลลิโภดม”
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ : มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เขียนเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2560

การศึกษาท้องถิ่นของอาจารย์ศรีศักรใช้แนวคิดทางมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์โบราณคดีอย่างผสมผสานกัน แม้จะหันมาให้ความสนใจในประเด็นทางสังคมมากขึ้น แต่การสำรวจการค้นคว้าทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้หยุดลง หากมีโอกาสไปเดินทางสำรวจทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเข้าไปเป็นที่ปรึกษางานทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ การสัมมนาต่างๆ ทำให้ชีวิตทางวิชาการของอาจารย์ศรีศักรไม่ได้หยุดนิ่ง แต่กลับทันสมัย กระฉับกระเชง กระตือรือร้น โดยเฉพาะประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมในประเทศไทยที่เกี่ยวโยงกับแนวทางวิเคราะห์แบบมานุษยวิทยาสังคม กล่าวได้ว่าอาจารย์ศรีศักรใช้ฐานแนวคิดแบบประวัติศาสตร์สังคมและมานุษยวิทยาสังคมอธิบายสังคมไทยได้อย่างเห็นภาพและเป็นที่เข้าใจแก่คนทั่วไป

จากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสู่ประวัติศาสตร์แบบท้องถิ่นนิยม
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2560

ความเป็นท้องถิ่นนิยมหรือชุมชนนิยมในที่นี้ไม่ได้หมายตามคำนิยามของนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องข้ามรัฐข้ามท้องถิ่นไปทั้งหมด เพราะว่ากระแสท้องถิ่นนิยมนั้นก็เหมือนกับกระแสชาตินิยมแต่เพียงย่อยให้มีขนาดเล็กลงมา หากความเป็น “ท้องถิ่นนิยม” และกระบวนการที่เป็นการศึกษาชุมชนเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน สามารถเปลี่ยนมุมมองเพื่อสร้างความปรองดองในสังคม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมืองได้เช่นกัน

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.