หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ผู้นำทางวัฒนธรรม
ข้อมูลทั้งหมดมี 11 ข้อมูล
1 2 จากทั้งหมด 2 หน้า
"พระเจ้าพรหมมหาราช" จากวีรบุรุษในตำนานสู่อารักษ์เมืองแม่สาย
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2561

การรับรู้ประวัติความสำคัญของพระเจ้าพรหมมหาราชจากประวัติศาสตร์เชิงจินตนาการของคนรุ่นเก่ามาสู่การรับรู้ใหม่ผ่าน ทั้งการเล่า ขานตำนานเมือง การแสดงการร่ายรำของเด็กนักเรียน การแสดงสิ่งของเอกสารโบราณที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคมของคนแม่สายในช่วงเวลา ๑๐๐ ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน หลักฐานเหล่านี้มีผู้รู้ผู้สนใจเป็นคนแม่สายเอง มีการรวบรวม วิเคราะห์ ตีความอย่างมีเหตุผลและข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยคนท้องถิ่น เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นด้วยสติปัญญาของคนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองต่อไป

อนุสาวรีย์พระเจ้าพรหมมหาราช ศูนย์รวมศรัทธาของชาวแม่สาย
บทความโดย ภาณุพงษ์ ไชยคง
เขียนเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2561

อำเภอแม่สาย เป็นอำเภอเหนือสุดของจังหวัดเชียงราย และยังเป็นพื้นที่เหนือสุดของประเทศไทย ตั้งอยู่ติดกับชายแดนรัฐฉาน สหภาพพม่า มีลำน้ำแม่สายไหลผ่านเป็นพรมแดนธรรมชาติอยู่ทางทิศเหนือของตัวอำเภอ ด้านทิศตะวันตกของอำเภอแม่สายมีเทือกเขาดอยนางนอนเป็นฉากหลัง ซึ่งประกอบด้วยดอยสามเส้าคือ ดอยจ้อง ดอยปู่เฒ่า และดอยตุง ตั้งติดต่อกันมองดูคล้ายกับคนนอนทอดตัวอยู่

หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด จากประวัติศาสตร์สู่ตำนานที่มีชีวิต
บทความโดย ทรงพร ตั้งพิบูลย์เวช
เขียนเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2561

เรื่องราวของ หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด คงเป็นที่รู้จักของชาวไทยทั้งชาวพุทธ ชาวมุสลิม ไม่น้อย โดยเฉพาะในพื้นที่บริเวณภาคใต้ของไทยตั้งแต่พัทลุง สงขลา ปัตตานี เลยไปถึงไทรบุรีในประเทศมาเลเซีย หลวงปู่ทวดถือว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ในตำนานที่มีผู้ศรัทธาจำนวนมากรูปสำคัญหนึ่งในสองรูปของเมืองไทยคู่กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) หรือหลวงปู่โตที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์

เรื่องราวของวีรบุรุษทางวัฒนธรรม “เจ้าปู่ตาหมวกคำ” ที่อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
บทความโดย ธีระวัฒน์ แสนคำ
เขียนเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2561

เมื่อครั้งที่ผู้เขียนศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนเรศวรและเป็นหัวหน้ากลุ่มประวัติศาสตร์สองข้างทาง ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับมอบหมายจากรองศาสตราจารย์ ดร.จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ ให้พาสมาชิกกลุ่มประวัติศาสตร์สองข้างทางลงพื้นที่สำรวจข้อมูลทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีลุ่มน้ำน่าน น้ำปาด และน้ำตรอน ในเขตหุบเขาทางด้านตะวันออกของจังหวัดอุตรดิตถ์ ในเขตอำเภอท่าปลา น้ำปาด ฟากท่า บ้านโคก และทองแสนขัน ราวปลายเดือนมกราคม ๒๕๕๓

‘นางเลือดขาว’ ตำนานและภูมิวัฒนธรรมของคนคาบสมุทร
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

"ตำนานนางเลือดขาว และภูมิวัฒนธรรมของคนคาบสมุทร" พบกับตำนานที่เป็นที่มาของบ้านเมืองในเขตพัทลุงและสงขลา พระเพลาหรือพระตำราที่ทำให้เกิดการกัลปนาข้าพระและที่ดิน ตลอดจน พิธีกรรมและการสืบเนื่องต่อมาของคนคาบสมุทรที่เป็นลูกหลานนางเลือดขาวและแม่เจ้าอยู่หัว

หลวงพ่อพระไชยเชษฐา วัดถ้ำสุวรรณคูหา : พลังศรัทธาของท้องถิ่นเหนือกระแสชาตินิยม
บทความโดย ธีระวัฒน์ แสนคำ
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

ในภาวะที่เกิดความตึงเครียดตลอดบริเวณแนวชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา หลายฝ่ายต่างออกมาแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง แต่ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า เพราะความคิดแบบชาตินิยมที่ถูกปลูกฝังผ่านระบบการศึกษาและสื่อต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นมา โดยมี “ปราสาทพระวิหาร” เป็นชนวนเหตุสำคัญ กรณีดังกล่าวทำให้ผู้เขียนเข้าใจถึงคุณค่าและปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระแสชาตินิยมได้ระดับหนึ่ง และทำให้นึกถึงข้อมูลที่พบจากการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู บ้านเกิดเมืองนอนของผู้เขียนขึ้นมา เพราะที่นั่นมีความศรัทธาของคนในท้องถิ่นที่อยู่เหนือกระแสชาตินิยมที่น่าจะนำมาเป็นกรณีศึกษาอีกกรณีหนึ่ง

การผนวกรัฐพิธีสู่พิธี “กรรมเมือง” ของท้องถิ่นที่แม่สาย
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

แม่สายเคยเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กเมื่อครั้งก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่ความเป็นช่องทางเดินทางผ่านเทือกเขาแดนลาวที่เรียกว่า “ฮ่องลึก” ทำให้เป็นด่านพรมแดนโดยธรรมชาติ ผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ทั้งที่อาศัยอยู่บนพื้นราบและชาวเขาต่างอาศัยเดินทางผ่านและโยกย้ายกลุ่มไปมาตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำให้เกิดชุมชนบ้านเมืองเก่าแก่ เช่นที่เวียงโบราณเชิงเขาต่อกับทุ่งราบใกล้เมืองแม่สายในปัจจุบันที่เรียกว่า “เวียงพางคำ” ร่องรอยการขุดลำเหมือง “เหมืองแดง” ที่ชักน้ำจากลำน้ำสายมาหล่อเลี้ยงส่วนหนึ่งของทุ่งราบเชียงแสน-แม่จันอันอุดมสมบูรณ์ และมีตำนานการสร้างบ้านเมืองที่เล่าสืบต่อกันมาอย่างหลากหลายและน่าติดตาม และภายหลังถูกเขียนขึ้นใหม่อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรโดยพระภิกษุแห่งล้านนา ในยุคที่พุทธศาสนาแบบเถรวาทเข้ามาสู่ดินแดนนี้และตั้งมั่นอย่างรุ่งเรืองจนกลายเป็นโลกทัศน์ทางศาสนาที่ปะปนกับการดำเนินชีวิตอย่างแยกไม่ออก

Culture Hero : จาก ‘หลวงพ่อโอด’ ถึง ‘หลวงพ่อเจริญ’ ปลูกต้นความรู้จากรากแห่งศรัทธาที่ ‘จันเสน’
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ , ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง
เขียนเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2559

แม้จะเป็นท้องถิ่นห่างไกลศูนย์กลางความเจริญของประเทศ แต่ชุมชน ‘จันเสน’ วันนี้ไม่ห่างไกลความรู้และภูมิปัญญาที่เท่าทันกระแสสังคมอย่างแน่นอน ซ้ำบางทีอาจดูรุดหน้าในเรื่องการจัดการทางวัฒนธรรมมากกว่าการจัดการโดยข้าราชการหรือนโยบายของนักการเมืองเสียอีก สิ่งที่ทำให้ชุมชนเดินไปข้างหน้าโดยเฉพาะการเป็นตัวอย่างในด้านการจัดการความรู้ผ่าน ‘พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น’ ให้กับที่อื่นๆ ก็คือการที่ ‘วัด’ กลับมาเป็นศูนย์กลางของชุมชุนทั้งด้านจิตใจและความรู้ดังเช่นสังคมสยามเมื่อครั้งอดีต ไม่ใช่เป็นเพียงเน้นการ ‘พุทธพาณิชย์’ อันนำมาแต่ความเสื่อมโทรมของสังคมแลพระศาสนา ซึ่งสิ่งนี้คงสำเร็จไม่ได้หากไม่มี ‘หลวงพ่อโอด’ ผู้นำความศรัทธาของผู้คนในชุมชนที่มีวิสัยทัศน์กว้างขวาง และ ‘หลวงพ่อเจริญ’ ซึ่งต่อยอดจากศรัทธาไปสู่การพัฒนาในด้านต่างๆของชุมชนท้องถิ่นจันเสน

‘เจ้าพ่อศรีนครเตา’ พ่อใหญ่แห่งทุ่งกุลา
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2559

คำว่า ‘เขมรป่าดง’ ปรากฏในเอกสารทางราชการของราชสำนักสยามที่ใช้เรียกบริเวณทางตอนใต้ของที่ราบสูงโคราชซึ่งมีขอบเขตติดกับเขมรต่ำ โดยมีขอบของเทือกเขาพนมดงเร็กเป็นจุดแบ่ง มีเมืองพุทไธรสง เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองพิมาย และเรียกผู้คนที่เป็นชาวกูยหรือชาวเขมรที่อยู่อาศัยในบริเวณนี้อย่างรวมๆ ว่า “เขมรป่าดง”

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.