หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ชาติพันธุ์สัมพันธ์
ข้อมูลทั้งหมดมี 13 ข้อมูล
1 2 จากทั้งหมด 2 หน้า
Desa Buntu ชุมชนในชวา
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2561

เกาะชวาในประเทศอินโดนีเซียมีลักษณะเฉพาะทางภูมิศาสตร์ซึ่งสัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานและการจัดรูปแบบโครงสร้างของสังคมของผู้คนทั้งพื้นที่ราบและที่สูง เพราะในเกาะรูปทรงยาวๆ รีๆนั้นมีพื้นที่สูงซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของภูเขาไฟอยู่กึ่งกลางในแนวตะวันออกและตะวันตก เป็นพื้นที่ซึ่งอ่อนไหวต่อการเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และคลื่นยักษ์อย่างสึนามิ

กะหร่างสัญชาติไทยในเมืองเพชร
บทความโดย วิชญดา ทองแดง
เขียนเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2561

คนไทยมักคุ้นเคยกับคำว่ากะเหรี่ยงตามชื่อที่นักวิชาการกำหนดเรียกชนกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ชื่อที่พวกเขาใช้เรียกตัวเอง จากชื่อที่กะเหรี่ยงเรียกตัวเองและจากภาษาพูดรวมถึงวัฒนธรรมประเพณีทำให้นักวิชาการจัดแบ่งกะเหรี่ยงออกเป็น ๔ กลุ่มใหญ่ๆ คือ กะเหรี่ยงสะกอ (Skaw) กะเหรี่ยงโปว์ (P´wo) กะเหรี่ยงแบร์หรือบเว (B´ghwe) และกะเหรี่ยงตองสู (Thung Tsu)

รอยยิ้มและเสียงหัวเราะของคนชายขอบ
บทความโดย สุดารา สุจฉายา
เขียนเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2561

เสียงเพลงที่ขับขานสะท้อนถึงชีวิตที่ต้องจากบ้านเพื่อไปหางานทำ ทิ้งลูกเล็ก ๆ ที่บ้านไว้กับยายกะตาให้เลี้ยงดู จากน้ำเสียงของศิลปินกะเหรี่ยงวัย ๕๐ กว่าปี นาม จอไลเต้ย เสียดแทงไปในความรู้สึกของหนุ่มสาวชาวกะเหรี่ยงกว่าหมื่นคนที่แออัดยัดเยียดอยู่ในหอประชุมของโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ สามพราน แววตาของหลายคนหม่นเศร้าและวูบไหวไปกับท่วงทำนองและบทเพลงดังกล่าว แต่พลันที่เสียงเพลงจบลง พร้อม ๆ กับท่วงทำนองเพลงอันเร้าใจและเสียงร้องของ เอสซี นักร้องวัยรุ่นยอดนิยมชาวปกากะญอจากพม่าดังขึ้น

ประเพณีสืบสาน...เล่าขานมอญ/เม็ง
บทความโดย เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ
เขียนเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2559

คนมอญหาได้มีอาศัยอยู่แต่เฉพาะภาคกลางของประเทศไทยเท่านั้น ที่นี่...สองฝั่งริมน้ำปิง ทั้งที่บ้านหนองดู่-บ้านบ่อคาว ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน และฝั่งตรงกันข้ามบ้านกอโชค-บ้านหนองครอบ ตำบลแม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ หากแต่มอญทางตอนเหนือจะถูกเรียกกันว่า “เม็ง” (ในอดีตหากพูดคำว่าเม็งแก่ชาวมอญจะถือว่าเป็นการดูถูก)

มะละกา พหุลักษณ์ทางสังคมแห่งเมืองท่า
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

มะละกาเป็นเมืองท่าเก่าแก่และมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของคาบสมุทรมลายู เป็นเมืองท่าตั้งอยู่บริเวณช่องแคบระหว่างคาบสมุทรมาลายาและเกาะสุมาตราในทะเลอันดามัน ที่เรียกว่า “ช่องแคบมะละกา” ก่อนหน้านั้นมีเมืองท่าที่สำคัญบนเกาะสุมาตรา เช่น อูรู เปเดร์ และปาไซ พ่อค้ามุสลิมจากแอฟริกา อาหรับ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น จึงรู้จักกันดี เพราะเป็นเส้นทางผ่านไปสู่เอเชียตะวันออกโดยเฉพาะเมืองจีน

อยู่ร่วมได้บนความแตกต่าง
บทความโดย สุดารา สุจฉายา
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

ท่ามกลางเสียงเพลงเสียงเชิญชวนให้ชาวบ้านมาร่วมทำพิธีสะเดาะเคราะห์ก่อนงานวันสักการะพระเจ้าพรหมมหาราชของชาวแม่สาย ณ ลานหน้าอำเภอแม่สาย ภายในเต็นท์หน้าเวทีจัดงาน ตุ๊เจ้าหลายรูปกำลังช่วยกันจัดพานบายศรี พุ่มดอกไม้ สะตวงนพเคราะห์ ตลอดจนประดับตุง ติดธงทิวอย่างขะมักเขม้น เช่นเดียวกับเต็นท์ของสภาวัฒนธรรมอำเภอแม่สายที่ตั้งอยู่ไม่ไกลนัก มีบรรดาแม่หญิงช่วยกันจัดวางเอกสาร ธูปเทียนดอกไม้เป็นชุด ๆ สำหรับให้บริการแก่ผู้ต้องการเข้าร่วมงานพิธีดังกล่าว ในบรรดาเหล่าแม่หญิงที่กำลังหยิบฉวยจัดแต่งข้าวของอยู่นั้น ต้องสะดุดตากับหญิงสาวตาคมหน้าตาอย่างเทศที่บนศีรษะปกคลุมด้วยผ้าฮิญาบบอกความเป็นมุสลิมอย่างเด่นชัด เธอกำลังสั่งการให้เหล่าแม่หญิงช่วยกันจัดวางข้าวของให้เป็นหมวดหมู่ พร้อมตรวจตราดูแลความเรียบร้อยภายในเต็นท์ด้วยกิริยาอาการที่บ่งบอกความเป็นผู้นำของเธอ ทำให้สิ้นสงสัยเมื่อได้รับคำตอบว่า เธอคือ โซเฟีย ไทยอนันต์ ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอแม่สายคนปัจจุบัน

จามบานี: มุสลิมดั้งเดิมแห่งเวียดนาม
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

ภาคกลางของเวียดนามเป็นบริเวณที่มีรัฐแรกเริ่มพัฒนาขึ้นจากชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล โดยรวมเรารู้จักกันในนาม วัฒนธรรมแบบซาหวิ่งห์ [Sa Hyunh Culture] ซึ่งวัตถุทางวัฒนธรรมให้อิทธิพลต่อรูปแบบซึ่งคล้ายคลึงแพร่หลายอยู่หลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งภายในภาคพื้นและหมู่เกาะ ทำให้เห็นว่าผู้คนในวัฒนธรรมซาหวิ่งห์นั้นเป็นกลุ่มชำนาญในการเดินเรือที่ข้ามทะเลไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์หรือเดินเรือเลียบชายฝั่งเข้ามาในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยและยังใช้เส้นทางเดินทางบกข้ามเทือกเขาเข้ามาสู่อีสานเหนือในวัฒนธรรมแบบบ้านเชียงและในบริเวณทุ่งกุลา ที่มีร่องรอยของสิ่งของเครื่องประดับและรูปแบบวัฒนธรรมการฝังศพครั้งที่สองในยุคเหล็กลงมา

จาม : คนไร้ชาติ แต่ไม่ไร้อารยธรรม
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

เมื่อปลายเดือนมกราคม ๒๕๕๒ ที่แล้วมา ข้าพเจ้ามีโอกาสเดินทางไปที่เมืองโจดกในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมของแม่น้ำโขงในเวียดนามใต้อีกวาระหนึ่ง เพื่อติดตามการเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยของนักศึกษาปริญญาเอกชาวเวียดนามคนหนึ่ง ผู้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยข้าพเจ้าเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ความแตกต่างทีไม่แตกต่างจากปัตตานีสู่เชียงใหม่
บทความโดย มะรอนิง สาและ, ดอเลาะ เจ๊ะแต
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

ก่อนจะออกเดินทางในวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๘ มีความรู้สึกกังวลใจที่จะต้องไปศึกษาในพื้นที่ ที่มีความแตกต่างกับปัตตานีอย่างมาก เช่น ด้านวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศ ความเชื่อ ศาสนา และกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีความแตกต่างกับปัตตานีและพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคใต้

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.