หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
พลังของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ข้อมูลทั้งหมดมี 9 ข้อมูล
1 จากทั้งหมด 1 หน้า
ประวัติศาสตร์ที่ออกมาจากภายใน
บทความโดย เบญจวรรณ จันทราช
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2561

“อุ๊ยของอุ๊ยเล่าว่า… ชุมชนบ้านเมืองของเรามีประวัติความเป็นมายาวนาน มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ทั้งที่ราบ หุบเขาและที่สูง มีลำน้ำเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต ภูเขา ทุ่งนา และสายน้ำเกื้อหนุนกันจนเกิดเป็นชุมชนมาช้านาน มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาหลายเรื่อง

ประชาพิจารณ์ “ของแท้” “คนขุนยวมกับประวัติศาสตร์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น”
บทความโดย ปกรณ์ คงสวัสดิ์
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ที่ผ่านมา ณ วัดโพธาราม ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้วยความร่วมมือระหว่างภาคประชาชนขุนยวมกับมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ รวมทั้งสมาชิกวุฒิสภา ได้ร่วมกันจัดงานเสวนาในหัวข้อเรื่อง “คนขุนยวมกับประวัติศาสตร์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น” ถือเป็นการประชุมแบบประชาพิจารณ์ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นมีส่วนร่วมเสนอแนะความเห็นต่อโครงการพัฒนาของรัฐอย่างแท้จริง โดยถือแนวทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ แนวคิดและทิศทางการพัฒนาของอำเภอขุนยวมบนฐานวัฒนธรรมของตนเอง และถือว่ายังไม่ใช่ข้อยุติ

สัมภาษณ์พิเศษ ‘ปณต อุดม’ : ถกผู้สร้าง เห็นหนัง ‘ขุนรองปลัดชู’
บทความโดย ใหม่มณี รักษาพรมราช : เรียบเรียง
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

“เราไม่ได้ว่าสิ่งที่นำเสนอเหล่านี้เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่เราเอาเรื่องของคนเล็กขยายประวัติศาสตร์ภาพใหญ่ และเอาการถกเถียงว่าผู้สร้างเปิดรับทั้งสองด้าน จะบอกเราผิดก็ยอมรับ จะบอกว่าเราถูก เราก็มีหลักฐานมาสนับสนุนเพิ่มเติม ดังนั้นผมว่าการพูดคุยกันมันทำให้เกิดความรู้ให้เห็น อย่างน้อยที่สุดมันก็เกิดภาพขึ้นมา ถึงแม้ว่าภาพนั้นจะใช่หรือไม่ใช่ แต่มันก็ทำให้คนได้เอาภาพมาถกเถียงกัน”

พูดถึงอีกสักที...เขาเห็นอะไรกัน หลังดูหนัง ‘ขุนรองปลัดชู’
บทความโดย นายหนัง
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

นับเป็นมิติใหม่ของวงการ ‘หนังไทย’ และ ‘ประวัติศาสตร์’ เมื่อการปรากฏตัวของ ‘ขุนรองปลัดชู วีรชนคนถูกลืม’ แหวกม่านประเพณีการทำหนังอิงประวัติศาสตร์ตามกรอบเดิมออกมา ทำให้เกิดเป็นกระแสพูดถึงมากมาย โดยเฉพาะความโดดเด่นในด้านรูปแบบการนำเสนอและเนื้อหาที่สอดแทรกมุมมองปัจจุบันเข้าไปในอดีตแต่ดูไม่ขัดเขิน หากจะยังนำไปสู่การตีความต่อได้ ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดของการทำหนังเรื่องนี้ก็คือ การชี้ชวนให้ผู้ดู คิด วิเคราะห์ และตีความถึงเรื่องราวหรือบริบทที่ซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังการเขียนประวัติศาสตร์

ฟื้นขุนยวม-เมืองปอนเมื่อพลังท้องถิ่นตั้งรับ
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

กลางเดือนกรกฎาคม ฝนที่ควรตกหนักเสียนานแล้วยังไม่มีทีท่าว่าจะมีน้ำฟ้าน้ำฝนมากพอให้ชาวบ้านร่วมกันปักกล้าดำนา ในพื้นที่แบบเทือกเขาและหุบเขาของแม่ฮ่องสอน หากมีที่ราบเป็นช่องว่างพอจะทำนาได้ ผืนดินเหล่านั้นจะกลายเป็นที่นาอันมีค่าแก่หมู่บ้าน เราจึงได้เห็นการจัดการพื้นที่อย่างละเอียดยิบ แม้จะเป็นที่เนินสูงก็ถูกจัดแปลงทำเป็นนาขั้นบันได ตามหุบตามช่องเขาน้อยใหญ่ในแม่ฮ่องสอน หากมองจากฟ้าในหน้าฝนก็จะเห็นภาพผืนนาเรียบเขียวแทรกอยู่เป็นหย่อมๆ

รายงานการวิจัย : โครงสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น (นครแพร่)
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

งานงิจัยเรื่องนี้ เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในลักษณ์ที่เป็นประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต [Living history] ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมของผู้คนในพื้นที่การปกครองของรัฐซึ่งเรียกกันว่า จังหวัดแพร่ในปัจจุบัน

“อย่าลืม...โพธาราม” ชมรมของคนท้องถิ่นกับการเคลื่อนไหวภาคสังคม
บทความโดย ปกรณ์ คงสวัสดิ์
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา มูลนิธิเล็ก - ประไพ วิริยพันธุ์ ไปเยี่ยม “ชมรมอย่าลืม..โพธาราม” ซึ่งเป็นชมรมของคนท้องถิ่นในตลาดโพธาราม ซึ่งสมาชิกชมรมฯ กรุณาให้ความรู้นำชมและอธิบายเกี่ยวกับความสำคัญของตลาดโพธารามแต่ครั้งเก่า

อุทยานประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นในเมืองนารา Asuka Historical National Government Park
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559

อุทยานประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของญี่ปุ่นในเมืองนาราที่ชื่อว่า Asuka Historical National Government Park , Asuka เคยเป็นเมืองหลวงก่อนที่จะย้ายไปนารา ปัจจุบันกลายเป็นท้องถิ่นซึ่งมีมรดกทางวัฒนธรรมมากมายและเก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง เพราะมีอายุมากกว่า ๑,๓๐๐ ปี รวมไปถึงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและการดำเนินชีวิตของผู้คนในชนบทที่จัดว่าเป็น “ภาพวิถีชีวิตแบบญี่ปุ่น”

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.