หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ประวัติศาสตร์สังคม
ข้อมูลทั้งหมดมี 16 ข้อมูล
1 2 จากทั้งหมด 2 หน้า
รอยเงาเชิดไหว...ก่อนมีหนังใหญ่กรุงสยาม
บทความโดย ปกรณ์ คงสวัสดิ์
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2561

การเล่นหนังเงาของไทยเช่นหนังใหญ่ถือเป็นการละเล่นที่เก่าแก่ ปรากฏหลักฐานในกฎมนเทียรบาลเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๑ กล่าวถึงการเล่นหนังใหญ่ไว้ว่าเป็นมหรสพที่เป็นที่นิยมของชาวกรุงศรีอยุธยา แต่ก่อนหน้านั้น หนังเงามีการเชิดไหวมาเนิ่นนานเป็นที่แพร่หลายทั่วไป จากหลักฐานเบื้องต้นที่พบเป็นไปได้ว่าหนังเงามีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เพราะมีการค้นพบศิลปวัตถุเก่าแก่ที่คาดว่าน่าจะเป็นหุ่นเงาในประเทศต่าง เช่น จีน อินเดีย มลายู เป็นต้น การเล่นหุ่นเงาหนังไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มประเทศแถบเอเชียเท่านั้น หากยังพบไปทั่วโลก

สรุปการสัมมนาประวัติศาสตร์ศรีสะเกษ
บทความโดย เบญจวรรณ จันทราช
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2561

ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้เรียนเชิญรองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ไปเป็นวิทยากรในการอบรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้แก่ผู้ร่วมสัมมนา เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งว่าผู้ที่เข้าร่วมสัมมนานั้นเป็นบุคลากรสำคัญจากหลายหน่วยงาน รวมทั้งพระเทพวรมุนี เจ้าคณะจังหวัด ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ท้องถิ่นอย่างแท้จริง มีวิสัยทัศน์ในการวิพากษ์วิจารณ์ เปิดโอกาสให้ผู้ฟังคิดต่อ จนทำให้เห็นว่าวิชาประวัติศาสตร์เป็นอย่างไร และเป็นผู้เปิดประเด็นอย่างชัดเจน

โคตรวงศ์กับความเป็นไทย : กรณีตระกูลบุนนาค
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2561

ความเป็นคนไทยทุกวันนี้มีฐานของคำอธิบายจากประวัติศาสตร์รัฐ ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์แนวตั้งและเชิงเดี่ยวที่เจ๊กกบฏผู้เป็นกุนซือของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้เป็นเผด็จการทางวัฒนธรรมแต่งขึ้น ใช้เล่นละครปลุกกระแสชาตินิยมและกำหนดให้เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนจนถึงชั้นอุดมศึกษาของประเทศที่ยังทรงอิทธิพลมาจนทุกวันนี้

มรดกโลกกับประวัติศาสตร์ที่ตายแล้ว
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2561

นับแต่การที่คณะกรรมการมรดกโลกรับขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกให้แก่ประเทศกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว โดยไม่มีประเทศไทยมีส่วนร่วมนั้น ได้ทำให้ข้าพเจ้าเกิดอคติกับคณะกรรมการชุดนี้ ซึ่งรวมไปถึงองค์การ UNESCO อย่างสุดๆ เพราะได้ประจักษ์แจ้งถึงความไม่ชอบมาพากล และความฉ้อฉลขององค์กรข้ามชาติอย่างที่ไม่เคยคิดมาก่อน โดยอุดมคติ แหล่งทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และธรรมชาติที่จะเป็นมรดกโลกนั้นต้องเป็นแหล่งเพื่อการเรียนรู้ที่มีความโดดเด่นสมบูรณ์ และครบถ้วนในด้านคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สังคมและอารยธรรม ที่ทั้งผู้คนในท้องถิ่นกับผู้ที่มาจากภายในได้เรียนรู้และสังสรรค์กัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีในการอยู่ร่วมโลกเดียวกัน

รู้น้อยรู้มาก : เรื่องพระธาตุศรีสองรัก
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2561

เมื่อสมัยที่คุณเล็ก วิริยะพันธุ์ ยังมีชีวิตอยู่ มักพูดให้ฟังบ่อยๆ ว่า กลัวคนที่รู้อะไรน้อย แต่ทำเป็นรู้มาก เพราะอาจทำอะไรให้เสียหายได้มากกว่า คนที่ไม่รู้แต่บอกว่ารู้ บ้านเมืองไทยที่วุ่นวายในเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในทุกวันนี้ ก็เนื่องมาจากคนที่รู้น้อยแล้วทำตัวว่ารู้มากนี่แหละ

รู้จักเวียดนามจากประวัติศาสตร์สองข้างทาง
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2561

ถ้าพูดกันถึงเรื่องความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้านของไทยในภูมิภาคแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ข้าพเจ้าต้องยอมรับอย่างหน้าชื่นว่า รู้ประวัติศาสตร์เวียดนามน้อยและล้าหลังกว่าบรรดาเพื่อนร่วมรุ่นมาก

พญาแมน : เรื่องเล่าการปักปันเขตแดนพิชัย-พิษณุโลก
บทความโดย ธีระวัฒน์ แสนคำ
เขียนเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2561

เมื่อมีโอกาสทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนักวิจัยในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อทำการศึกษา “วัฒนธรรมลุ่มน้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลในชุมชนต่างๆ ริมฝั่งแม่น้ำน่านในเขตจังหวัดพิษณุโลก ทั้งทางฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำคัญประกอบการศึกษา สิ่งหนึ่งที่คณะผู้วิจัยได้พบก็คือ ร่องรอยโบราณสถานริมฝั่งแม่น้ำน่านซึ่งส่วนใหญ่เป็นร่องรอยของศาสนสถานประเภทโบสถ์ วิหาร และเจดีย์

ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ กับจิตสำนึกทางวัฒนธรรมของคนในชาติ
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2561

ในรอบปีที่ผ่านมาข่าวใหญ่ทางศิลปวัฒนธรรมที่มีผลให้คนส่วนใหญ่ทั้งประเทศรับรู้กัน คงไม่มีอะไรเกินเรื่องการเรียกร้องให้สถาบันศิลปะแห่งชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาคืนทับหลังที่มีรูปจำหลักพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ซึ่งมีผู้ขโมยจากปราสาทพนมรุ้งไปขายให้กับชาวอเมริกันกับมาให้แก่ประเทศไทย

เส้นทางนิราศ-เส้นทางการค้า
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2561

ลักษณะที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาแวดล้อมไปด้วยแม่น้ำลำคลอง สามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางน้ำสายหลักออกสู่ทะเลได้สะดวก ทั้งติดต่อกับบ้านเมืองภายในได้อย่างง่ายดาย แตกต่างไปจากลักษณะการตั้งถิ่นฐานของบ้านเมืองแต่เดิมที่อยู่ลึกเข้ามาภายในแผ่นดิน ด้วยการเป็นศูนย์กลางคมนาคมทั้งภายในและภายนอกนี่เอง การสถาปนาอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓ ทำให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็นเมืองท่าภายในที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รัชมังคลาภิเษกนั้นสำคัญไฉน?
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2560

ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ นี้ มีวันประวัติศาสตร์สำคัญอีกวันหนึ่งคือวันที่ ๒ กรกฎาคม อันเป็นวันที่ทางรัฐบาลจัดให้มีพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่ปกครองแผ่นดินไทยมายาวนาน กว่าสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าองค์อื่นๆ ที่มีมา

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.