หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ข้อมูลทั้งหมดมี 30 ข้อมูล
1 2 3 จากทั้งหมด 3 หน้า
สรุปการเสวนาร้านริมขอบฟ้าเรื่อง “แหล่งเรียนรู้มีชีวิต สีสันใหม่ของคนกรุง”
บทความโดย อภิญญา นนท์นาท
เขียนเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2561

ปัจจุบันกระแสการท่องเที่ยวและเรียนรู้ในเชิงวัฒนธรรมเติบโตมากขึ้น ท่ามกลางการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจการตลาดที่สืบมายาวนาน ดังจะเห็นได้จากการจัดกิจกรรมขององค์กรอิสระและเครือข่ายภาคประชาชน ที่หันมาสนใจสร้างเส้นทางท่องเที่ยวตามวิถีชุมชน เยี่ยมชมย่านเก่าต่างๆ ขณะเดียวกันก็เกิดแหล่งเรียนรู้อื่นๆ โดยภาคประชาชนขึ้นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ของสะสม ห้องสมุด เป็นต้น จึงเป็นเรื่องน่าสนใจว่ากระบวนการสร้างแหล่งท่องเที่ยวที่มีชีวิตเหล่านี้ เริ่มต้นมาได้อย่างไร และจะมีทิศทางอย่างไรในอนาคต

รับรู้เงาประวัติศาสตร์ ในงาน “เปิดตำนาน ๘๐ ปี สะพานพุทธฯ”
บทความโดย ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง
เขียนเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2561

ย้อนกลับไปก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงปรารภ ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ว่า อีกไม่กี่ปีกรุงรัตนโกสินทร์จักมีอายุสมัยครบ ๑๕๐ ปี เห็นควรจะสร้างสิ่งรำลึกถึง และเป็นสาธารณะประโยชน์ไว้ด้วย ท้ายสุดจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกไว้เป็นสิ่งสักการะ พร้อมกันนั้นทรงมอบให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ (ต่อมาเป็นกรมพระยา) เป็นผู้ออกแบบ

ฟื้นฟูคลองบางลำพู ภาคประชาสังคมเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง
บทความโดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เขียนเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2561

การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในชุมชนที่มีสำนึกรักษ์ในสายน้ำ อันเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของชีวิตและชุมชน เพื่อให้กลับมาใสสะอาด เป็นที่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำ อันจะสร้างความมีชีวิตชีวาให้กลับผู้คนสองฝั่งคลองอีกครั้ง

ท่องเที่ยวและเรียนรู้เส้นทางวัฒนธรรมย่านบางแค-ภาษีเจริญ
บทความโดย อภิญญา นนท์นาท: รายงาน
เขียนเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2561

ในอดีตพื้นที่บริเวณจุดตัดกันของคลองราชมนตรีและคลองภาษีเจริญใกล้กับวัดนิมมานรดีนั้น เคยเป็นที่ตั้งของตลาดน้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของฝั่งธนบุรี เรียกกันว่า“ตลาดน้ำบางแค” หรือ “ตลาดน้ำวัดนิมมานรดี” ที่เจริญขึ้นหลังจากการขุดคลองภาษีเจริญตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ ก่อนจะเลิกราไปพร้อมการเกิดขึ้นของถนนเพชรเกษม ร่องรอยความรุ่งเรืองทางการค้ายังคงเหลือให้สืบย้อนอดีตได้จากเรือนแถวไม้โบราณที่เชื่อมต่อกันตลอดริมคลอง      

“ต้นไม้คือเพื่อนชีวิต เมื่อเราเห็นคุณค่าและใส่ใจ...”
บทความโดย กรรชัย สุนทรอนุรักษ์ เรื่อง/ภาพ
เขียนเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2561

เวลานี้สภาพอากาศของบ้านเราสุดแสนจะร้อนเหลือทน บ่ายหน้าไปทางไหนก็รังแต่หงุดหงิดและอารมณ์เสีย เมื่อภายนอกร้อนก็ยิ่งทำให้ภายในร้อนเดือดตามไปด้วย หากตั้งคำถามว่าเพราะอะไรอากาศบ้านเราโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครถึงได้ร้อนเพียงนี้ หลายคนคงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เพราะ “ภาวะโลกร้อน” และหากมองไปรอบๆ ก็ยิ่งพบว่าในสังคมเมืองขาดแคลนต้นไม้ใหญ่ ตามริมถนนที่ควรมี หรือในสถานที่อันน่ารื่นรมย์กายใจเช่นวัดวาอารามทุกวันนี้ ยิ่งมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย เพราะวัดในเมืองกรุงปัจจุบันได้นำเอาพื้นที่สีเขียวไปพัฒนา (หรือทำลายไม่ทราบได้) สร้างเป็นตึก เป็นที่จอดรถเสียหมดสิ้น

ลุงประเสริฐ สุขถาวร : เกษตรกรบนแผ่นดินทองหนองจอก
บทความโดย อภิญญา นนท์นาท : เรื่องและภาพ
เขียนเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561

เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผู้เขียนมีโอกาสร่วมกับเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคประชาสังคมเดินทางไปยังพื้นที่กรุงเทพฝั่งตะวันออก คือ หนองจอก มีนบุรี และเลยไปถึงนครเนื่องเขต จ. ฉะเชิงเทรา นอกจากได้เยี่ยมชมย่านการค้าเก่าและสภาพเมืองที่กำลังแปรเปลี่ยนไปแล้ว ยังได้สัมผัสวิถีเกษตรกรท่ามกลางเมืองใหญ่อย่าง “หนองจอก” ที่พยายามปรับตัว เพื่อจะรักษาพื้นที่สีเขียวของตนเองให้ดำรงอยู่ได้ท่ามกลางป่าคอนกรีต อันเป็นอีกหนึ่งแง่มุมที่น่าสนใจของสังคมกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ที่ภาคเกษตรกรรมมักถูกหลงลืม

สืบค้นย่านบางกอกน้อยที่สูญหายด้วยการท่องเที่ยวภาคประชาชน
บทความโดย ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง
เขียนเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561

ความเป็นย่านที่ผู้คนต่างรู้จักว่าเป็นคนถิ่นเดียวกัน ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันและกัน มีงานบุญใดก็ทำแกงหม้อใหญ่ใส่ชามแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน นับว่าหาได้ยากแล้วในสังคมเมืองทุกวันนี้ เนื่องจากในหลายพื้นที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นย่านรุ่งเรืองเรื่องน้ำจิตน้ำใจ เรือกสวนผลไม้ และหลากงานฝีมือ ฯลฯ กลับต้องมาร้างไปเพราะความเจริญทางวัตถุในรูปของห้างสรรสินค้า ตึกระฟ้า ถนน สะพาน และทางด่วน ได้เข้ามายึดแย่งพื้นที่ไปทีละน้อย ทำให้ย่านเก่าแก่มีอันต้องมลายหายไปเป็นจำนวนมาก 

สรุปเสวนาร้านริมขอบฟ้า “เหลียวหลัง แลหน้า ถิ่นจีนตลาดน้อย”
บทความโดย ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง : เก็บความ
เขียนเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561

การเสวนาวันนี้เป็นการพูดคุยเรื่องความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นกับพื้นที่เก่าแก่ของกรุงเทพมหานคร อันเป็นผลจากการขยายตัวของเมืองและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เกิดคอนโดมิเนียมผุดขึ้นมากมาย

ความสุขในฤดูน้ำหลากจากวงเสวนา “ภูมิและปัญญาของสังคมชาวน้ำ”
บทความโดย อภิญญา นนท์นาท
เขียนเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561

วิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำเป็นวิถีดั้งเดิมของคนในสังคมลุ่มน้ำภาคกลางของไทย ที่จางหางไปพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ส่งผลให้คนรุ่นใหม่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่อยู่ร่วมกับสายน้ำ ดังนั้นเหตุการณ์มหาอุทกภัยปี ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา การอยู่ร่วมกับน้ำของใครหลายคนจึงเป็นทุกข์ครั้งใหญ่

สรุปงานเสวนาเรื่อง “ยาแผนไทย ๓ ตำรับ ๕ แผ่นดิน... ต่อชีวิต สานภูมิปัญญา เพื่อดำรงอยู่
บทความโดย ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง
เขียนเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561

การเสวนาเรื่อง “ยาแผนไทย ๓ ตำรับ ๕ แผ่นดิน... ต่อชีวิต สานภูมิปัญญา เพื่อดำรงอยู่” มีวิทยากรร่วมเสวนาสองท่านคือ เภสัชกรหญิง ดร. สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และคุณภาสินี ญาโณทัย จากร้านขายยาบำรุงชาติสาสนายาไทย (หมอหวาน รอดม่วง) โดยมีคุณสุดารา สุจฉายา เป็นผู้ดำเนินรายการ

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.