หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ข้อมูลทั้งหมดมี 13 ข้อมูล
1 2 จากทั้งหมด 2 หน้า
“ไตเย็บใหม่” ร้านค้ากระดุมเก่าแก่ในย่านพาหุรัด
บทความโดย พัชรินธร เดชสมบูรณ์รัตน์
เขียนเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561

 “กระดุม” และ “ลวดลายลูกไม้” เย็บปักต่างๆ สำหรับตกแต่งเพื่อให้ชุดเกิดความสวยงามมากขึ้น ร้านขายกระดุมเก่าแก่ที่สุดร้านหนึ่งในย่านพาหุรัด “ร้านไตเย็บใหม่” มีอายุ ๗๐ กว่าปีแล้ว  เจ้าของร้านปัจจุบันกล่าวว่าชื่อร้านมีที่มาจากพี่ชายของคุณพ่อชื่อ ‘ไตเย็บ’ เป็นคนมุสลิมจากประเทศอิหร่านที่อยู่อาศัยในประเทศอินเดียและย้ายเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้เปิดร้านไตเย็บใหม่คนแรกและยังเป็นชาวมุสลิมเพียงห้องเดียวที่อาศัยอยู่ในตึกแถวท่ามกลางคนจีนเช่นนี้. 

 

ร้านยาหมอหวาน : การรื้อฟื้นตำรับยาไทยอันท้าทาย "ยุคสมัยเที่ยววัดเที่ยววัง"
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561

ร้านยาหมอหวานเป็นตึกสวยออกแบบตามสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๗ หน้าอาคารมีตัวอักษรแปลกตาเขียนติดกันว่า “บำรุงชาติสาสนายาไทย” ถัดลงมามีสัญลักษณ์ตาเหลวและชื่อหมอหวาน เจ้าของผู้สร้างอาคารหลังนี้

ที่ร้านหมอหวานในปัจจุบัน ทายาทรุ่นเหลนตา “ภาสินี ญาโณทัย” และคณะ ศึกษาและค้นคว้าหลักฐานจากสมบัติตกทอดสืบกันมาภายในบ้าน พบว่ามีฉลากยาเก่าเขียนว่า “ร้านขายยาไทยตราชะเหลว” ของหมอหวานตั้งอยู่มุมถนนอุณากรรณแสดงว่าหมอหวานน่าจะมีกิจการปรุงยามาตั้งแต่ก่อนสร้างบ้านหมอหวานหลังนี้นานพอสมควร เพราะสามารถสร้างบ้านเป็นตึกหลังงามขนาดย่อมบนที่ดินของตนเองและเป็นบ้านตึกที่แสดงถึงฐานะอย่างภูมิฐาน

 

หมอชิต หมอมี หมอเหล็ง
บทความโดย สุดารา สุจฉายา
เขียนเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561

จ่าหัวด้วยคำว่า หมอ อย่างนี้ บางคนอาจถึงบางอ้อว่าใครเป็นใคร แต่มีไม่น้อยที่ไม่รู้จักว่าเกี่ยวพันกับกรุงเทพฯ อย่างไร  หมอคนแรกชื่ออาจคุ้นหู เพราะหากจะเดินทางไปภาคเหนือ ภาคอีสาน ต้องขึ้นรถโดยสารที่สถานีขนส่งหมอชิต ๒ ซึ่งย้ายมาจากสถานีขนส่งหมอชิตเดิมที่บริเวณสวนจตุจักร หรือได้ยินใคร ๆ เรียกสถานีโทรทัศน์ช่อง ๗ ว่า วิกหมอชิต ส่วนอีกสองหมอนั้น

กิจการค้าของมุสลิมในย่านจีน กรุงเทพฯ
บทความโดย อภิญญา นนท์นาท
เขียนเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561

บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ในย่านสำเพ็ง ราชวงศ์ และทรงวาด เรื่อยไปจนถึงย่านตลาดน้อย ถือว่าเป็นย่านการค้าของชาวจีนที่มีขนาดใหญ่และเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ แต่นอกเหนือจากกลุ่มชาวจีนที่มีบทบาทต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมของย่านนี้แล้ว พบว่ากลุ่มคนมุสลิมได้เข้ามามีบทบาททางการค้าร่วมกับชาวจีนในบริเวณนี้มาอย่างยาวนานสืบมาถึงปัจจุบัน 

สนามไชย-ทุ่งพระเมรุ-ท้องสนามหลวง
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2561

“ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนานๆ มีครั้งหนึ่ง แลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า “ทุ่งพระเมรุ” นั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า “ท้องสนามหลวง”

 

ยลถิ่นฐานย่านเก่าฝั่งธนบุรี...ใน “งานศิลป์ วิถีถิ่น เกาะศาลเจ้า”
บทความโดย ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง : รายงาน
เขียนเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2560

ชีวิตผู้คนในเมืองใหญ่ที่ยังผูกพันอยู่กับธรรมชาติ คงหาได้ไม่ง่ายนัก ด้วยสภาพสังคมเมืองเวลานี้ผูกติดอยู่กับความสะดวกสบายทางวัตถุ จนมองข้ามวิถีชีวิตแบบเดิมๆ ไป กระนั้นก็ตามยังมีชาวกรุงจำนวนไม่น้อยที่หวนคิดถึงวิถีชีวิตซึ่งแวดล้อมด้วยต้นไม่ใบหญ้าเขียวขจี และต้องการจะก้าวไปสัมผัส สิ่งเหล่านี้อีกครั้ง อันเป็นที่มาของการท่องเที่ยววิถีถิ่นตามย่านชานเมืองต่างๆ ซึ่งอยู่ห่างใจกลางมหานครออกไป “งานศิลป์ วิถีถิ่น เกาะศาลเจ้า” จัดขึ้นในชุมชนเล็กๆ ย่านวัดจำปา ริมคลองบางระมาด ภายในงานนอกจากจัดขึ้นเพื่อธำรงวิถีปฏิบัติดั้งเดิมเอาไว้ในท้องถิ่น

สนทนาเรื่องศาสนาพราหมณ์ที่โบสถ์พราหมณ์เสาชิงช้า กับพราหมณ์ตรัณ บุรณศิริ
บทความโดย จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์
เขียนเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2560

ศาสนาพราหมณ์เชื่อว่าความหลุดพ้นคือ “ปรมาตมัน” คล้ายกับการนิพพานแต่ต่างกันตรงที่ปรมาตมัน คือการกลับไปหาองค์พรหม หมายถึงจักรวาลผู้ให้กำเนิดองค์พรหมนั้นคู่กับพระแม่สรัสวดี ซึ่งเป็นพระแม่แห่งศาสตร์และความรู้ทั้งปวงโดยใช้ “ยชุรเวท” [Yachuraveda] หมายถึงการร่ายมนต์หรือการสั่งสอน การคู่กันของพระพรหมและพระแม่สรัสวดีในที่นี้หมายถึงการสร้างสมดุลเพื่อให้เกิด “ปรมาตมัน” คือการกลับไปสู่จักรวาลหรือการกลับคืนสู่ความว่างเปล่า  

ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของชาวซิกข์
บทความโดย พัชรินธร เดชสมบูรณ์รัตน์
เขียนเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2560

“ชาวซิกข์รักในหลวงพระองค์นี้มาก สิ่งที่จะนึกถึงถ้าพูดถึงในหลวง คือ บารมีของพระองค์ที่มากล้นเกินบรรยาย ความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อพสกนิกร และการปกครองบ้านเมืองอย่างทศพิธราชธรรม อันนี้คือสิ่งสูงสุดที่ทำให้ชาวซิกข์รักพระมหากษัตริย์พระองค์นี้มากเป็นพิเศษ

พวกเราไม่เคยมีความรู้สึกเลยว่า เราคือที่สองเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ให้สิทธิเสรีภาพ เสมอภาค และรับศาสนาซิกข์ไว้ในพระอุปถัมภ์ของพระองค์ด้วยและพระองค์เป็นเอกอัครราชูปถัมภกบำรุงศาสนาซิกข์ ชาวซิกข์ซาบซึ้งมาก การพระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัยครั้งนี้ชาวซิกข์เสียใจ น้ำตาไหลแทบทุกคนบางคนไม่ยอมรับ บอกว่าพระองค์ไม่ได้ไปไหนแต่อยู่ในใจเรา เราเก็บพระองค์ไว้ในหัวใจตลอดชีวิตของเราฯ"

"เรือเครื่องเทศ" หัวใจแห่งการค้าบนสายน้ำในอดีต
บทความโดย ชฎาภรณ์ แก้วแสนทิพย์
เขียนเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2560

วิถีชีวิตคนไทยอยู่ร่วมกับธรรมชาติและสายน้ำมาแสนนาน เราใช้ประโยชน์จากสายน้ำมากมายทั้งการอุปโภคบริโภค การเกษตรกรรม และเป็นทั้งเส้นทางหลักการสัญจรในอดีต จนกระทั่งก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีและอาชีพแห่งสายน้ำ    ชีวิตชาวน้ำที่ใช้เรือเป็นพาหนะจึงทำให้เกิดตลาดน้ำ ใช้เรือเพื่อค้าขายทางเรือแบบรอนแรมไปไกลๆ ตามชุมชนชายน้ำ ในท้องถิ่นต่างๆ พ่อค้าแม่ค้าใช้เรือนั้นเป็นทั้งที่พักอาศัยและ ร้านค้าลอยน้ำ เรือค้าขายมีหลากประเภท แต่มีเรือค้าขายแบบหนึ่งที่ เปรียบเสมือนร้านชำแห่งสายน้ำเรียกกันสืบต่อมาว่า “เรือเครื่องเทศ” 

บันทึกช่วยจำของ “พจนา ดุริยพันธุ์” แห่ง “บ้านบางลำพู” บ้านดนตรีดุริยประณีตเกี่ยวกับความทรงจำย่านบางลำพู และยุครุ่งเรืองของดนตรีแห่งกรุงเทพมหานคร
บทความโดย พจนา ดุริยพันธุ์
เขียนเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2560

การดำเนินชีวิตในสังคมเปลี่ยนไปรวดเร็ว ชุมชนบางลำพูที่เคยมีคนรุ่นเก่าที่ใช้วิถีชีวิตร่วมกันอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย จิตใจเกื้อกูลหมดไป ชีวิตที่ต้องแข่งขันต่างคนต่างอยู่เข้าแทนที่ จิตวิญญาณ ร่วมในประเพณีชุมชนถูกทอดทิ้งแทบไม่เหลือให้เห็น สิ่งปลูกสร้าง วัง บ้านเก่า วัด ที่งดงาม ร่มครึ้มด้วยแมกไม้ถูกรื้อทิ้งสร้างแท่งอิฐ อุดอู้ทดแทน รัฐเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยวหวังนำเงินเข้าหมุนเวียน เศรษฐกิจ แต่ไร้ระบบควบคุมที่ดีหรือเหมาะสมกับสภาพชุมชน รัฐทุ่มงบประมาณมากมายเอาใจท่องเที่ยวมองมิติเพียงขยายความ เจริญทางวัตถุ ความสะดวก ขณะเดียวกันละทิ้งความสัมพันธ์ของ ผู้คนที่อยู่ก่อนในชุมชน คิดแต่ระบบแข่งขัน “อยู่ได้อยู่ไป อยู่ไม่ได้หนี ไป” รัฐไม่มองชีวิตเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชนเมืองเก่าที่บอกเล่าจารีต ประเพณี ลัทธิความเชื่อ ที่ส่งต่อถึงงานศิลปกรรมได้ 

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.