หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
ข้อมูลทั้งหมดมี 36 ข้อมูล
1 2 3 4 จากทั้งหมด 4 หน้า
ล้างป่าช้าในบางกอก
บทความโดย เมธินีย์ ชอุ่มผล
เขียนเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2561

ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องความตายของคนไทยที่มีมาแต่เก่าก่อนนั้น เมื่อใครสักคนตายจึงต้องมีพิธีสวดส่งวิญญาณ ทำบุญส่งให้วิญญาณ และฝังหรือเผาร่างนั้นไปเสีย ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์นั้นบริเวณที่ฝังศพหรือเผาศพส่วนใหญ่ก็คือบริเวณท้ายวัดที่เราเรียกกันว่า "ป่าช้า" 

พระนครบันทึก : วันวานที่ย่านบางลำพู
บทความโดย อภิญญา นนท์นาท
เขียนเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2561

ปัจจุบันบางลำพูเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว หากย้อนกลับไปเมื่อราว ๗๐-๘๐ ปีก่อน บางลำพูก็เป็นย่านการค้าที่คึกคักมากแห่งหนึ่งในเวลานั้น ตลาด ห้างร้าง แหล่งบันเทิงต่างๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก เพื่อรองรับผู้คนหลากหลายฐานะ ตั้งแต่เจ้านาย ข้าราชการ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ร่วมกันในย่านนี้ บรรยากาศการค้าในวันวานของย่านบางลำพูจึงเป็นหนึ่งสีสันที่แต่งแต้มภาพประวัติศาสตร์ของบางลำพูให้มีชีวิตชีวา ทั้งยังสะท้อนวิถีชีวิตอันหลากหลายของผู้คนที่ก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงของสังคมในแต่ละยุคสมัย

“กรมอู่ทหารเรือธนบุรี” ในประวัติศาสตร์ราชนาวีไทย
บทความโดย อภิญญา นนท์นาท
เขียนเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561

วัดวงศมูลวิหารตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอู่เรือหมายเลข ๒ เป็นวัดร้าง เพราะไม่มีพระสงฆ์จำพรรษามาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙ แต่มิได้ร้างจากผู้ดูแล เพราะถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของบุคลากรภายในกรมอู่ทหารเรือเสมอมา อีกทั้งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารโบราณสถานโดยกรมศิลปากรอีกด้วย

พระนครบันทึก : บ้านทวาย : สิ้นชื่อ สิ้นคน เหลือแต่ยำทวาย
บทความโดย สุดารา สุจฉายา
เขียนเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561

ปัจจุบันเมื่อพูดถึงคำว่า ‘ทวาย’ คนทั่วไปมักไพล่คิดไปถึงมะม่วงทะวายหรือผลไม้ที่ออกผลไม่ตรงตามฤดูกาล หรือไม่ก็นึกถึงโครงการอภิมหาโปรเจ็คต์ที่กำลังมีการก่อสร้างทางหลวงจากเขตบ้านพุน้ำร้อน ต.บ้านเก่า จ.กาญจนบุรี ข้ามเขาไปยังเมืองทวายในพม่า ตามโครงการสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรม อันถือเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ ด้วยวงเงินลงทุนถึง ๔ แสนล้านบาท น้อยคนที่จะนึกถึงว่า ทวาย นอกจากเป็นชื่อเมืองแล้วยังเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่เข้ามาตั้งรกรากในกรุงเทพฯ เมื่อต้นรัตนโกสินทร์ และถิ่นฐานของพวกเขาได้กลายเป็นชื่อบ้านนามเมืองในอดีต เรียกว่า บ้านทวาย หรืออำเภอบ้านทวาย แทนชื่อเดิมที่เรียกขานย่านนี้ว่า ตำบลคอกควาย สมัยต่อมาตำบลคอกควายหรืออำเภอบ้านทวายนี้ก็ถูกปรับเปลี่ยนนามอีกครั้ง เป็นเขตยานนาวาและเขตสาทรในปัจุบัน

พิธีสุหนัตของบรรดาลูกหลานแขกมอญ ทุ่งครุ
บทความโดย สุดารา สุจฉายา
เขียนเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561

ในบรรดากลุ่มชนมุสลิมในกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล ชาวมลายูมุสลิมจัดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่มากกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อื่น ด้วยเข้ามาตั้งถิ่นฐานหลายครั้งหลายช่วงเวลา ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงยุคต้นรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในช่วงรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ ได้ส่งกองทัพไปตีหัวเมืองปัตตานีอยู่เนืองๆ ชาวมลายูที่เข้ามาส่วนใหญ่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่รอบนอกพระนคร ทั้งปทุมธานี นนทบุรี พระโขนง มีนบุรี หนองจอก ปากลัด ไปจนถึงนครนายก ฉะเชิงเทรา ฯลฯ

สะพานหันกับวิกลิเกหลวงสันท์
บทความโดย สุดารา สุจฉายา
เขียนเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2561

เมื่อไม่นานมานี้ได้สำเนาเอกสารเก่าจากหอสมุดแห่งชาติ กล่าวถึงเรื่องลิเกหลวงสันท์ที่สะพานหัน ทำให้ต้องรื้อเทปบันทึกเรื่องราวของสะพานหันและลิเกคณะนี้มาปัดฝุ่น เพราะแหล่ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าเป็นลิเกดัง ขนาดสาวแก่แม่หม้ายติดกันงอมแงมเลยทีเดียว วิกยี่เกหลวงสันท์อยู่สะพานหันมาแต่แรก วิกประตูสามยอดเป็นของหม่อมสุภาพ กฤดากร หม่อมในกรมพระนเรศร์วรฤทธิ์(ต้นสกุลกฤดากร) เป็นยี่เกโรงใหญ่ มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๖

ศาลเจ้า ศรัทธาและการเกื้อกูลชุมชน
บทความโดย อภิญญา นนท์นาท
เขียนเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2561

ศาลเจ้าเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของชุมชนชาวจีนเพราะเมื่อชาวจีนเข้าไปตั้งถิ่นฐานที่ใด มักมีการสร้างศาลเจ้าขึ้นตามลัทธิที่กลุ่มของตนนับถือบูชาอยู่เสมอ ซึ่งนอกจากเป็นศูนย์รวมจิตใจเพื่อให้เกิดศิริมงคลในถิ่นฐานที่อยู่แห่งใหม่แล้ว ยังเป็นที่พบปะสังสรรค์และช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนในชุมชน และพัฒนาไปสู่การทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์อีกด้วย

“ตลาดพลู” ไชน่าทาวน์ฝั่งธนฯ ในวันไร้พลู
บทความโดย ปิลันธน์ ไทยสรวง
เขียนเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2561

ขณะที่สำเพ็งคือศูนย์กลางการค้าของชาวจีนฝั่งพระนคร ทางฝั่งธนบุรีก็มี “ตลาดพลู” ที่ยืนนานและยืนยงมาจนถึงปัจจุบัน ในอดีตย่านนี้เป็นตลาดค้าพลูและปลูกพลูมาก จนกลายเป็นที่มาของชื่อบ้านนามเมืองแทนชื่อเดิมคือ ย่านบางยี่เรือ

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.