หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
บทความสรุปการบรรยายสาธารณะปีที่ ๒
ข้อมูลทั้งหมดมี 10 ข้อมูล
1 จากทั้งหมด 1 หน้า
บรรยายสาธารณะ ปีที่ ๒ : ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกับผู้นำทางวัฒนธรรม
บทความโดย ใหม่มณี รักษาพรมราช
เขียนเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2561

ผู้นำทางวัฒนธรรมคือจะเป็นคนธรรมดาสามัญก็ได้แต่จะต้องเป็นผู้ที่เมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ประกอบคุณงามความดีให้กับผู้คนในท้องถิ่น ในความเป็นจริงกระบวนการสร้างผู้นำทางวัฒนธรรมท้องถิ่นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาถ้าท้องถิ่นนั้นมีสำนึกชุมชน 

บรรยายสาธารณะ ปีที่ ๒ : ความสำคัญของ "ปอเนาะ" ในสังคมมุสลิมท้องถิ่นชายแดนใต้
บทความโดย ใหม่มณี รักษาพรมราช
เขียนเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2561

 เมื่อกระแสความเป็นสมัยใหม่ที่หลั่งไหลเข้าไปในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รูปแบบการเรียนการสอนสมัยใหม่ด้วยการใส่วิชาสามัญเข้ามาในปอเนาะซึ่งคือสถาบันทางการศึกษาศาสนาอิสลามที่มีความเก่าแก่ที่สุด จะไม่มีอัตลักษณ์ความเป็นปอเนาะอีกต่อไป รูปแบบสถาบันการศึกษาแบบจารีตที่มีอุดมการณ์ด้านศาสนา จริยธรรม คุณธรรม คงต้องถูกกลืนหายไปตามกระแสความเป็นสมัยใหม่ และวิถีชีวิตมุสลิมแบบจารีตที่รักษามาหลายชั่วอายุคนคงต้องถึงจุดจบ.

 

ประวัติศาสตร์เมืองลำพูนผ่านภาพถ่าย
บทความโดย ใหม่มณี รักษาพรมราช
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ความสำคัญและบทบาทในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการของประวัติศาสตร์ล้านนา คือ เทคโนโลยีการถ่ายภาพที่เข้ามามีบทบาทในการร้อยเรียงภาพประวัติศาสตร์ให้มีภาพชัดเจนขึ้น จากเดิมที่เรื่องราวมักถูกตีความจากการถ่ายทอดผ่านเพียงการบอกเล่า การเขียน ภาพวาด โบราณวัตถุเท่านั้น  คุณนเรนทร์ ปัญญาภู ได้เลือกภาพถ่ายหายากจากพิพิธภัณฑ์เมืองลำพูนมาบอกเล่าประวัติศาสตร์ของเมืองลำพูน

บรรยายสาธารณะ ปีที่ ๒ : ‘เมืองลอง’ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของบ้านเมืองขนาดเล็กในรัฐล้านนา
บทความโดย ใหม่มณี รักษาพรมราช
เขียนเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2560

เมื่อวันที่๑๖มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ ทางมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้จัดบรรยายสาธารณะขึ้น ในหัวข้อ‘เมืองลอง’ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของบ้านเมืองขนาดเล็กในรัฐล้านนา โดยมีอาจารย์ภูเดช แสนสา อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เป็นวิทยากร วลัยลักษณ์ ทรงศิริ เป็นผู้ดำเนินรายการ จัดขึ้น ณ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ตั้งแต่เวลา๑๓.๐๐น.-๑๖.๐๐น.

บรรยายสาธารณะ ปีที่ ๒ : “ภูเก็ตภูมิ [Phuket Scape]”ความเคลื่อนไหวทางสังคมและวัฒนธรรมของคนเมืองภูเก็ต
บทความโดย ใหม่มณี รักษาพรมราช
เขียนเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2560

เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ ทางมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้จัดบรรยายสาธารณะขึ้น ในหัวข้อ “ภูเก็จภูมิ ”ความเคลื่อนไหวทางสังคมและวัฒนธรรมของคนเมืองภูเก็ต โดยได้เรียนเชิญอาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มาเป็นวิทยากร จัดขึ้น ณ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ตั้งแต่เวลา๑๓.๐๐น.-๑๖.๐๐น.

บรรยายสาธารณะ ปีที่ ๒ : ‘พม่าเสียเมือง’ มองเพื่อนบ้านหลังอาณานิคม จากทัศนะ ‘มิกกี้ ฮาร์ท’ คนพม่าในประเทศไทย
บทความโดย ตรีโรจน์ ไพบูลย์พงษ์
เขียนเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2560

คุณ ‘มิกกี้ ฮาร์ท’ ชาวพม่าผู้อาศัยอยู่ในเมืองไทย ซึ่งสนใจและได้เขียนเรื่องราวประวัติศาสตร์ ไทย-พม่า ตั้งแต่สมัยเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๑ จนถึงพม่าเสียเมืองให้กับอังกฤษผ่านหนังสือวารสารมิวเซียมสยาม ‘โยเดียกับราชวงศ์พม่า : เรื่องจริงที่ไม่มีใครรู้ ’ มาเป็นวิทยากรบรรยายถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์การล่มสลายของสถาบันกษัตริย์ในราชวงศ์ Konbaung หรือ Alaungpaya ของพม่า มาติดตามกันดูว่าเมื่อพม่าเสียเมืองให้ฝรั่งแล้ว การเขียนประวัติศาสตร์ โครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมพม่าเป็นไปเช่นไร.

บรรยายสาธารณะปีที่ ๒ : “คนไทใหญ่ขุนยวม” ขอจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อนุสนธิจาก “คนขุนยวมไม่เอา Little Japan”
บทความโดย ใหม่มณี รักษาพรมราช
เขียนเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2560

ขุนยวมกำลังกังวล ว่าจะตกอยู่ในสภาพเดียวกับเมืองปาย เนื่องจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตั้งใจจะให้ขุนยวมเป็นเมืองท่องเที่ยวแบบญี่ปุ่น [Japanese Style] การเข้าแทรกแซงที่พยายามทำให้ประเพณีท้องถิ่นต่างๆ เป็นในรูปแบบการท่องเที่ยว ทำให้วิถีชีวิตเดิมของคนท้องถิ่นสูญหายไป เช่น กรณีประเพณีปอยส่างลอง ซึ่งถ้ามองย้อนไปในอดีตประเพณีปอยส่างลองถือได้ว่าเป็นกุศโลบายที่ทำให้คนในชุมชนมีความสามัคคีกัน ตั้งแต่ระดับร่ำรวยยากดีมีจน มีโอกาสได้มาพบปะและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แต่สิ่งเหล่านี้กำลังจะหมดไปเพราะภาคบริหารเข้ามาแทรกแซงด้วยการนำทุนมาสนับสนุนเพื่อสร้างให้เป็นจุดเด่นในการท่องเที่ยว ใช้เรียกนักท่องเที่ยวให้เข้ามาที่ขุนยวม...

บรรยายสาธารณะ ปีที่ ๒ : มองผ่านวรรณกรรม: สังคม ‘อีสาน’ ในความเปลี่ยนแปลง
บทความโดย ใหม่มณี รักษาพรมราช
เขียนเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2560

ในการจะอธิบายภาพของ ‘อีสาน’ ทั้งหมดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะหยิบองค์ประกอบต่างๆมาร่วมอธิบายจึงจะทำให้เห็นภาพกระจ่างชัดขึ้น ‘วรรณกรรมอีสาน’ แม้ว่าอาจเป็นเพียงชิ้นส่วนชิ้นเล็กๆในองค์ประอบทั้งมวล แต่ก็มีพลังไม่น้อยที่สามารถแสดงให้เห็นถึงพลวัติความเปลี่ยนแปลงบางอย่างของสังคมอีสานได้เช่นกัน

บรรยายสาธารณะ ปีที่ ๒ : “โบราณคดีบนเส้นทางข้ามคาบสมุทรเคดาห์ - ปัตตานี”
บทความโดย ทรงพร ตั้งพิบูลย์เวช
เขียนเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2560

ปัตตานีเป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญมากมีแม่น้ำปัตตานีเชื่อมต่อถึงปากอ่าว และภูมิประเทศบังลมทำให้ปลอดภัยจากมรสุม พื้นที่ราบลุ่มกว้างขวางเหมาะแก่การเพาะปลูก สินค้าสำคัญของปัตตานี คือ เกลือ ซึ่งทำให้เมืองปัตตานีมีบทบาทเป็นเมืองท่าที่สำคัญกับทั้งตะวันตกและพ่อค้าตะวันออก...

 

สรุปเสวนาสาธารณะ ครั้งที่ ๗ เรื่อง "สำรวจลมหายและการท่องเที่ยวบ้านบาตร"
บทความโดย ชฎาภรณ์ แก้วแสนทิพย์
เขียนเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2560

วิถีชีวิตชุมชนบ้านบาตรกับการท่องเที่ยวมีความเกี่ยวเนื่องกันเป็นอย่างมาก เพราะในปัจจุบันกระแสการท่องเที่ยวเยี่ยมชมวิถีชีวิตของคนในชุมชนกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก คนต่างชาติล้วนให้ความสนใจเข้ามาท่องเที่ยว ปั่นจักรยานชมการดำเนินชีวิตและการทำบาตรพระ และกระแสนี้จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยนบ้านหลังเก่าให้กลายเป็นโรงแรม โดยมีผู้ประกอบการเข้ามาจัดการธุรกิจ แต่คนในชุมชนกลับไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.