หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
สัมภาษณ์คนย่านเก่า
ข้อมูลทั้งหมดมี 11 ข้อมูล
1 2 จากทั้งหมด 2 หน้า
องค์สังครัตน์จักรพันธ์วสุกาญจนศิริ : วัดสมณานัมบริหารหรือวัดญวน สะพานขาว
บทความโดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เขียนเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2561

สมัยก่อนไม่ได้ใช้คำว่าอนัมนิกายใช้คำว่าบรรพชิตญวน ก็คือคำว่าบรรพชิตหรือพระภิกษุสงฆ์ก็ความหมายเดียวกัน แต่สมัยนั้นเขาเรียกบรรพชิตญวนแล้วก็หลวงจีนมีการแบ่งแยกแต่ทีนี้เป็นการแบ่งแยกที่ชัดเจนในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งมีการแบ่งแยกโดยชัดเจนว่าอันนี้คือคณะสงฆ์จีน คือ จะมีการสวดจีน คณะสงฆ์ญวนจะมีการสวดญวน โดยที่ถือปฏิบัติมา 

พร พิษณุ รุ่นใหญ่หลังวัดราชนัดดา
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2561

น้าเชษฐ์ หรือ พิเชษฐ์ ปัทมินทร เพิ่งร้างตำแหน่งหน้าที่จาก สก. เขตพระนครไปหลังถึงยุคของ คสช. แต่ก่อนหน้านั้น น้าเชษฐ์เกษียณราชการในยศนายร้อยหน้าที่สารวัตรทหาร และอาสาไปอยู่บันนังสตาและธารโตมาก่อนหน้านั้น  น้าเชษฐ์ตัวสูงใหญ่เหมือนทหารทั่วไป ยังแข็งแรงในวัย ๖๖ ปี และมีร่องรอยว่า 'หล่อ' เหมือนกัน

ป้าญาณี เจ้าของห้องแถวบนถนนจักรพรรดิพงษ์
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

"ป้าญาณี เจ้าของห้องแถวบนถนนจักรพรรดิพงษ์" ใกล้กับสี่แยกตัดนครสวรรค์ และตลาดนางเลิ้ง วันนี้อายุเข้า ๗๔ ปีแล้ว

ใครจะรู้ว่าคุณป้าที่หน้าตามีวี่แววแบบคนใจดีนี้ เดินไปเดินมาและถกปัญหาทุกอย่างด้วยความละเอียดถี่ถ้วน มั่นใจแบบอดีตข้าราชการ ป้าใช้เวลามากและอุทิศเวลาปลุกปล้ำโครงการสหกรณ์ออมทรัพย์ให้กับชาวชุมชนจักรพรรดิพงษ์ที่เป็นตึกแถวและบ้านเรือนไม้ด้านหลังที่ไม่ค่อยจะเอาใคร  จะเคยเป็นข้าราชการซี ๘ ของสภาพัฒน์ฯ ที่อยู่ไม่ไกลจากถนนจักรพรรดิพงษ์นัก

ป้าพวงเพชร เสือสง่า แห่งร้านนางเลิ้งอาร์ต
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ป้าพวงเพชร เสือสง่า แห่งร้านนางเลิ้งอาร์ต วันนี้อายุราว ๘๔ ปี แล้ว ลูกชายเล่าว่าเริ่มลดทอนความทรงจำลงบ้าง ต้องทานยาบำรุงและดูแลใกล้ชิดแล้ว  วันที่เข้าไปคุยกับป้าพวงเพชร ความน่ารักยังมีอยู่เสมอในรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ป้าอารมณ์ดีและยังนั่งเฝ้าเก๊ะลิ้นชักเงินแบบที่เคยทำมาหลายสิบปี ควบคุมรายรับรายจ่ายของร้านตั้งแต่แต่งงานเข้ามาอยู่กับสามีผู้สืบทอดกิจการร้านถ่ายรูปและทำล็อกเกตหินตั้งแต่เมื่อเกือบหกสิบปีที่แล้ว

"พินิจ สุทธิเนตร" กับงานต่อชีวิตวัฒนธรรม "บ้านนราศิลป์"
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ย่านตรอกละครชาตรีที่อยู่ฝั่งใต้วัดแคริมถนนหลานหลวงทุกวันนี้ ยังคงมีกลุ่มบ้านละครและดนตรีหลายหลังและบางบ้านเป็นคณะผู้จัดโขนละครซึ่งยังมีกำลังทำงานตามแบบบรรพบุรุษในสภาพสังคมที่ไม่เหมือนเดิมก็ยังสู้อุตสาหะทำสืบต่อกัน

หากผ่านไปทางถนนหลานหลวง คงเห็นบ้านไม้งามริมถนนอยู่หนึ่งหลัง หน้าบ้านเขียนป้ายไว้ว่า “บ้านนราศิลป์” มีซุ้มต้นไม้สวยๆอยู่หน้าบ้านโดยเฉพาะซุ้มดอกพุดดูสดชื่น ร่มรื่นร่มเย็น ดูแตกต่างไปจากถนนด้านนอกที่มีแต่รถติดตลอดวัน

ตลาดนางเลิ้งยังไม่ตาย
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ผมเกิดที่นี่และบริเวณตรงนี้เป็นที่พักอาศัยเริ่มแรกเลย (ใกล้กับโรงหนังเฉลิมธานี) ตลาดนางเลิ้งแต่ก่อนเป็นชุมชนที่อยู่กลางใจเมือง ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้โดยรอบก็จะมาจับจ่ายใช้สอยในตลาดนางเลิ้ง เพราะแต่ก่อนคมนาคมดี อาศัยว่ามีรถรางรอบเมืองก็เลยมาจับจ่ายใช้สอยหรือใกล้ๆ ก็จะเดินมา

ผมเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ สมัยญี่ปุ่นบุกพอดี ตอนนี้อายุ ๗๔ ปีแล้ว ชีวิตเด็กๆ ก่อนไปโรงเรียนผมมีหน้าที่ตั้งเตากาแฟติดเตากาแฟหรือทำอะไรก่อนถึงจะไปทานข้าวไปเรียนคุณพ่อคุณแม่ขายกาแฟค้าขายเลย และส่วนหนึ่งชีวิตมันก็ผกผันว่าพ่อแม่ไม่มีเวลาเลี้ยงเรา ส่งเราไปอยู่แถวทุ่งมหาเมฆ ไปฝากเขาเลี้ยงคือค้าขายจนไม่มีเวลาดูแล ตลาดสมัยนั้นคึกคักมาก 

วันนี้ชีวิตที่เหลือเกินคุ้มแล้ว
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ : ภาพและเรื่อง
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

หากใครยังไม่เคยเห็นกรุงเทพฯ ครั้งที่ยังมีเสน่ห์และชีวิตยังเนิบช้าเมื่อเกือบศตวรรษที่แล้ว ลองไปยืนริมถนนมหาไชยฝั่ง
วัดราชนัดดา แล้วเงยหน้าสูงๆ เพื่อมองไปที่ยอดกำแพงที่มีใบเสมาและหมู่ยอดไม้ใหญ่สูงลิ่วเป็นทิวแถวด้านหลังกำแพง หากเป็นยามเย็นลมจะพัดจนยอดไม้ใหญ่เอนไหวพลิ้วตามแรงลม ทำจิตสงบนิ่งสักพักก็คงระลึกชาติได้ 
พื้นที่อยู่อาศัยและย่านประวัติศาสตร์สำคัญของคนกรุงเทพฯ  “ชุมชนป้อมมหากาฬ” 

มัสยิดตึกดิน (๒)
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ตึกดินที่เป็นตรอกต่อเนื่องกับตรอกบวรรังษี ตามแผนที่ที่นำมาให้ดูคือ ราวๆ พ.ศ. ๒๔๔๐ อีกสองปีต่อมาจึงเริ่มสร้างถนนราชดำเนิน ตึกดินเป็นอาคารตึกเก็บดินปืน ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ทีเดียว คงสร้างไว้มาแต่ต้นกรุงฯ ใช้เก็บดินปืนที่เป็นวัตถุอันตราย จึงสร้างออกมาไกลพระบรมมหาราชวังหน่อย แต่เมื่อมีการขยายตัวของเมือง สร้างวัดและบ้านช่องขุนนางและพ่อค้า ตึกดินก็ดูเหมือนจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง

มัสยิดตึกดิน (๑)
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ได้คุยกับคุณลุงประเสริฐ เจริญราชกุมาร ได้เรื่องได้ราวมาเยอะทีเดียว เอาเฉพาะเรื่องคุณลุงประเสริฐก่อน เล่าว่า นามสกุลสายแม่คือ เหล็งขยัน แต่เดิมก็เคยใช้นามสกุลนี้แล้วจึงมาใช้นามสกุลใหม่ที่ตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงพ่อ คุณลุงไม่รู้จักเพราะท่านตายไปตั้งแต่ยังขวบสองขวบ รู้แต่ว่าไปเกิดเอาที่บ้านแพน พวกนายอำเภอเคยเรียกพ่อว่า "ท่าน" รู้ว่าพ่อเป็นหมอเด็ก กล่องไม้ที่ใส่เครื่องมือรอดจากไฟไหม้บ้านเก็บออกมาได้ และดูแลอย่างดี คือกล่องเครื่องมือรักษาเด็ก คงจะเป็นพวกยากวาดคอบ้างหรือยาอื่นๆ คุณลุงไม่แน่ใจว่าจะเคยได้ราชทินนามหรือไม่ บางคนก็ไปสันนิษฐานว่าเป็นหลวงราชกุมารบ้าง

 

ชีวิตที่วัดโพธิ์และตลาดท่าเตียนของ "จุล อรุณวิจิตรเกษม"
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ประวัติศาสตร์ท่าเตียน หลังๆ จะเลือนหายไปเราฟังมาคนละเรื่องกัน ไม่มีคนสนใจว่าเป็นมาอย่างไรจนตลาดเหลือตลาดเดียว ดีที่ชาวบ้านชาวตลาดขอไว้ทันไม่เช่นนั้นคงมีสภาพเดียวกับที่ดิโอลด์สยาม พลาซ่า... ท่าเรือท่าเตียนหายไปเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ กว่าๆ นี้เอง เพราะเมื่อก่อนอาศัยเรืออย่างเดียวเข้ามาค้าขาย ตรงนี้เหมือนกับเป็นตลาดขนส่ง ขายส่ง ขายปลีก ทุกตลาดต้องมาซื้อของจากท่าเตียน ปลาเค็มหรือไม่เค็มทุกอย่างต้องเอาจากที่นี่หมด

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.