หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
สรุปการประชุมจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น วัดราชบัลลังก์ บ้านทะเลน้อย ครั้งที่ ๑
บทความโดย จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์
เรียบเรียงเมื่อ 31 ต.ค. 2559, 20:37 น.
เข้าชมแล้ว 5407 ครั้ง

สรุปการประชุมจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น วัดราชบัลลังก์ บ้านทะเลน้อย ครั้งที่ ๑

วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๙  ณ บ้านทะเลน้อย ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

 

     

 

มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้ร่วมประชุมกับชาวบ้านทะเลน้อย ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่วัดราชบัลลังก์ฯ เนื่องจากวัดราชบัลลังก์เป็นวัดที่มีความเก่าแก่อยู่คู่กับชุมชนบ้านทะเลน้อย พร้อมทั้งยังมีความเชื่อในเรื่องของสมพระเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอยู่อย่างหนาแน่น กล่าวคือ ชาวบ้านเชื่อว่าบ้านทะเลน้อย เคยเป็นที่ตั้งฐานทัพในเส้นทางการกู้ชาติของพระเจ้าตากฯ จากตำนานการบอกเล่าและหลักฐานที่พบคือแท่นรองพระบาท ที่เชื่อกันว่าเป็นของที่อยู่คู่กับบัลลังก์ของพระเจ้าตากฯ ซึ่งปัจจุบันบัลลังก์ดังกล่าวถูกจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร

 

       

 

โดยพื้นฐานแล้วบ้านทะเลน้อย เป็นชุมชนที่มีผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมและดูงานอยู่ตลอดอย่างไม่ขาดสาย ทั้งในเรื่องของการท่องเที่ยว เรื่องการดูงานของกลุ่มอาชีพต่างๆ และการมาสักการะศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ตั้งอยู่ในวัดราชบัลลังก์

 

       

การประชุมในครั้งนี้ได้มีการใช้พื้นที่ของศาลาการเปรียญของวัดราชบัลลังก์ประดิษฐาราม โดยมีคุณวารินทร์ บำรุง เป็นพิธีกรร่วมพูดคุยในส่วนของการเป็นตัวแทนชาวบ้าน  การประชุมนั้นเน้นในเรื่องของการมีส่วนร่วมของคนในท้องถิ่น ที่สามารถแสดงออก กำหนดรูปแบบการทำงาน รวมไปถึงการบริหารงานได้ด้วยตัวเอง ซึ่งในขณะนี้ทางชาวบ้านทะเลน้อยได้มีการขับเคลื่อนงานพิพิธภัณฑ์ไปแล้วในระดับหนึ่ง โดยในส่วนของตัวอาคารการทำพิพิธภัณฑ์ก็ได้มีการก่อสร้างแล้ว ซึ่งชาวบ้านมีส่วนช่วยในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การระดมทุนจากกองทุนของวัดที่มี การจัดหาแบบ รวมไปถึงการดูแลในส่วนต่างๆ หลักๆคือกรรมการวัดที่เปลี่ยนเวรกันมาคอยดูแลวัดกันอยู่ในทุกวัน

 

       

 

ในส่วนของคุณวลัยลักษณ์ ทรงศิริ นักวิชาการของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ได้มีการให้ความรู้และให้ชาวบ้านทะเลน้อยได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อให้ชาวบ้านได้เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำพิพิธภัณฑ์ว่ามีรูปแบบ กระบวนการ และวิธีดูแลรักษาอย่างไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างการทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่ประสบความสำเสร็จทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงได้มีการหาข้อสรุปและจุดประสงค์ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขึ้นมา

 

       

 

จากนั้นเป็นการหาแนวทางในการจัดการร่วมกัน โดยแกนนำหลักของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์นั้นแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกันคือ

 

  1. จัดตั้งกลุ่มดูแลพิพิธภัณฑ์โดยชาวบ้าน ที่สามารถบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ได้อย่างยั่งยืน
  2. จัดตั้งกลุ่มเด็กและเยาวชนเพื่อทำกิจกรรม ซึ่งจะมีการเรียนรู้ในขั้นตอนการทำทะเบียนวัตถุ การเก็บข้อมูล รวมไปถึงการนำชมได้ด้วยตนเอง

 

มติของที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า พิพิธภัณฑ์ดังกล่าวนั้นใช้ชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระเจ้าตากสิน วัดราชบัลลังก์ บ้านทะเลน้อย” เนื่องจากว่าในพิพิธภัณฑ์นอกจากจะมีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ที่มีของวัดแล้ว ยังจะมีการจัดแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนในชุมชนบ้านทะเลน้อย และเป็นแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น ฉะนั้นชื่อพิพิธภัณฑ์จึงจำเป็นต้องครอบคลุมให้เห็นถึงความสำคัญของเนื้อหาภายในพิพิธภัณฑ์ที่กำลังจะมีขึ้น และที่สำคัญอีกอย่างคือการขอบัลลังก์ที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่เคยอยู่ที่วัดแห่งนี้กลับคืนมาที่เดิม

 

 

นอกจากการมีส่วนร่วมของชาวบ้านทะเลน้อยแล้ว ยังมีหน่วยงานราชการที่เห็นความสำคัญของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น  โดยมีคุณวลัยลักษณ์ สง่าแสง (ผู้แทนจากสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง)มาร่วมประชุม และให้การช่วยเหลือในด้านการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลพิพิธภัณฑ์ โดยมี สจ.กนกวรรณ เบญจาทิกุล เป็นประธาน และมีคณะกรรมหลักของชุมชน คือ คุณโอแชล พร้อมเพรียง คุณปรีชา สรรเสริญ  และคุณวรินทร์ บำรุง

 

เมื่อได้ข้อสรุปของการตั้งชื่อพิพิธภัณฑ์ จัดตั้งคณะกรรมการดูแลแล้ว กระบวนการต่อจากนี้คือการเก็บ รวบรวมข้อมูล การทำทะเบียนวัตถุ และการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ชาวบ้านทะเลน้อย และกลุ่มเด็กและเยาวชนที่เป็นเครือข่ายของกิจกรรมในครั้งต่อไป เพื่อจะสร้างข้อมูลสำหรับจัดแสดง เก็บสิ่งของ และเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนควบคู่กันไป รวมถึงสร้างแกนนำที่ทำหน้าที่ดูแลพิพิธภัณฑ์ให้ยั่งยืนโดยที่ชาวบ้านสามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอนวิธี

 

 

รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

  1. วลัยลักษณ์ สว่างแสง
  2. ชำเรือง สว่างแสง
  3. ประสงค์ มั่นคง
  4. ณรงค์ ปฏิสังข์
  5. สังวาลย์ แอบกิ่ง
  6. สมนึก นามสนิท
  7. วารินทร์ บำรุง
  8. ประเสริฐ ยืนยง
  9. สุทธิ ช่างเหล็ก
  10. อำนวย ซื่อตรง
  11. ประทีป อรุณ
  12. ประสาท ช่างเหล็ก
  13. โอแชล พร้อมเพรียง
  14. เรือง ช่างเหล็ก
  15. สุเนตร ช่างเหล็ก
  16. สุทธิ ซื่อตรง
  17. ทองมี จำเนียร
  18. ปรีชา สรรเสริญ
  19. ชูชาติ สรรเสริญ
  20. อัมพร ช่างเหล็ก
  21. สถิต ช่างเหล็ก
  22. สุนันทา ชัยมงคล
  23. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
  24. ภูวนาท เช้าวรรณโณ
  25. สุรชาญ อุ่มลำยอง
  26. จารุวรรณ ด้วงคำจันทร์

 

 

อัพเดทล่าสุด 25 เม.ย. 2560, 20:37 น.
บทความในหมวด
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.