หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
กิจกรรมเนื่องใน “ วันเล็ก-ประไพ รำลึก ” ครั้งที่ ๗
บทความโดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เรียบเรียงเมื่อ 28 ม.ค. 2559, 00:00 น.
เข้าชมแล้ว 3133 ครั้ง

งานวันเล็กประไพ รำลึก ครั้งที่ ๗

 

การอบรม เรื่อง  “พหุลักษณ์ทางสังคม/วัฒนธรรมในเมืองไทย”

 

ค่ายริมขอบฟ้าเมืองโบราณ สมุทรปราการ

วันที่ ๒๑-๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

 

หลักการและวัตถุประสงค์

 

                  สังคมไทยถูกทำให้เชื่อโดยไม่ตั้งข้อสังเกตว่า “คนไทยนั้นต้องมีความเป็นคนไทยเหมือนกัน” อันหมายถึง มีเชื้อชาติไทยเป็นหลัก นับถือพุทธศาสนาเป็นหลัก ทำให้แนวคิดในเรื่อง สังคมพหุลักษณ์ ดูจะไกลตัวและไม่เคยถูกนำมาพูดเป็นประเด็นใหญ่ในสังคมไทยนัก แต่เหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้และความแตกต่างทางความเชื่อและความคิดในสังคมที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะความขัดแย้งในทางการเมืองจนนำมาสู่การทำลายสังคมของตนเองอย่างรุนแรงอันมีผลมาจากความต่างทางความคิดซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมไทย นำมาสู่คำถามที่ว่า ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา และความคิดพื้นฐานทางการเมืองและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อม และกลุ่มทางสังคมต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร และอะไรเป็นจุดร่วมของความเป็นสังคมพหุลักษณ์และการดำรงอยู่ร่วมกันในสังคมพหุลักษณ์ สมาชิกของสังคมควรเรียนรู้ผู้อื่นและตนเองอย่างไร เพื่อจะไม่ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งไปมากกว่านี้

 

                     สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องอธิบายให้คนในสังคมไทยเข้าใจ โดยเฉพาะเยาวชนคนหนุ่มสาวที่กำลังเติบโตทางความคิด เพื่อตั้งคำถามถึงอนาคตและสังคมที่ดีกว่าเดิม อันเป็นความใฝ่ฝันของหนุ่มสาวมาทุกยุคสมัย

 

                     จาก “ความเป็นคนสยาม ” ในงานวันเล็ก-ประไพ รำลึกครั้งที่ ๖ ในปีที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอแนวคิดของผู้ก่อตั้งเมืองโบราณ คุณเล็ก วิริยะพันธุ์ ในการศึกษาเพื่อจะทำความเข้าใจความหลากหลายชาติพันธุ์ของผู้คนในสังคมไทย ผสมผสานหล่อเลี้ยงความเข้าใจในการดำรงอยู่ร่วมกันจนกลายเป็น “คนสยาม” ซึ่งแสดงความหมายถึงผู้คนในดินแดนที่เรียกว่า “สยาม” อันเป็นมาตุภูมิเดียวกัน เห็นประโยชน์ของชาติและเสียสละตนเพื่อบ้านเมืองได้ โดยไม่มีคำถามเกิดขึ้นว่าหากทำเพื่อชาติแล้วจะกลายเป็นพวกชาตินิยมสุดโต่งเช่นนั้น มาจนถึงปีนี้ เหตุการณ์ความแตกต่างทางความคิดของคนในสังคมไทยก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติหรือหาทางออกไปจากปัญหาใหญ่ที่กัดเซาะทำให้เกิดความอ่อนแอทางความคิดและจิตวิญญาณของผู้คนทั่วไปได้

 

                   การอบรมเรื่อง “พหุลักษณ์ทางสังคม/วัฒนธรรมในเมืองไทย” แก่นักศึกษาในระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยทักษิณที่เป็นคนมุสลิมและพุทธจากจังหวัดชายแดนใต้ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ณ ค่ายริมขอบฟ้าและเมืองโบราณ สมุทรปราการ ในการจัดงานวันเล็ก-ประไพ รำลึกครั้งที่ ๗ ในปีนี้ จึงถือเป็นโอกาสหนึ่งที่มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์จะได้สืบต่อเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งเมืองโบราณ เพื่อทำความเข้าใจถึงลักษณะของสังคมพหุลักษณ์ที่มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมความเชื่อ ที่อยู่ภายใต้ระบบการเมืองเดียวกันในสยามประเทศหรือประเทศไทยทุกวันนี้ เพื่อความเข้าใจในตนเอง เรียนรู้ในผู้อื่น และส่งเสริมความคิดทางวัฒนธรรม และความเชื่อแบบสายกลางที่ไม่สุดโต่ง เพื่อเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุขและสร้างสังคมไทยในส่วนรวมให้มีความสุขกว่าเดิมจากที่เป็นอยู่ในขณะนี้

 

วัน-เวลา-สถานที่อบรม

                เสาร์ที่ ๒๑-จันทร์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ณ ค่ายริมขอบฟ้าและเมืองโบราณ สมุทรปราการ

 

ผู้รับผิดชอบ

                มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

 

ผู้เข้าร่วมอบรม

                เป็นกลุ่มนักศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี ปีที่ ๓-๔ ซึ่งมีความสนใจเรียนรู้ในเหตุการณ์บ้านเมืองปัจจุบันและความเข้าใจการแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างของพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรม รวมถึงความต่างทางความคิดที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน

 

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี                ๑๒ คน

มหาวิทยาลัยขอนแก่น                                               ๖ คน

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่                                              ๕ คน

มหาวิทยาลัยทักษิณ                                                 ๒ คน

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม                                           ๒ คน

รวม                                                                   ๒๗ คน

 

รายละเอียดของการอบรม

วันเสาร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน๒๕๕๒

 

๐๙.๐๐-๐๙.๓๐ น.

ลงทะเบียน /รับประทานอาหารว่าง

๐๙.๓๐-๐๙.๔๕ น.

กล่าวแสดงความยินดีและต้อนรับ-เปิดงานอบรม  โดย ชรัตน์ สินธุสอาด ผู้อำนวยการค่ายริมขอบฟ้า

๐๙.๔๕-๑๐.๐๐ น.

เดินทางไปยังศาลาแปดเหลี่ยม เมืองโบราณ

๑๐.๐๐-๑๐.๓๐ น.

ชี้แจงรูปแบบการอบรม รายละเอียดของการเข้าพัก การรับประทานอาหาร ศาสนปฏิบัติและการทำกิจกรรมในค่ายริมขอบฟ้าและเมืองโบราณ

๑๐.๓๐-๑๒.๐๐น.

“แนวคิดเรื่องพหุลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม” โดย อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.

รับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๓๐-๑๖.๐๐ น.

สนทนาโต๊ะกลม“ในชีวิตหลากสีสันของผู้คนบนแผ่นดินสยาม” ประสบการณ์จากนักพัฒนาเอกชนและนักหนังสือพิมพ์อาวุโส            สุรพงษ์ กองจันทึก อนุกรรมาธิการ พิจารณาศึกษาปัญหาชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย   กรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภาและ สนิทสุดา เอกชัย (หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์)                                  วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ดำเนินรายการ

๑๖.๐๐-๑๖.๑๕ น.

เดินทางเข้าที่พัก ค่ายริมขอบฟ้า

๑๖.๑๕-๑๘.๐๐ น.

แจ้งกิจกรรมในตอนเย็น/ชี้แจงรายละเอียดการเข้าพัก/พักผ่อน

๑๘.๐๐-๑๙.๐๐ น.

รับประทานอาหารเย็น

๑๙.๐๐-๒๒.๐๐ น.

สันทนาการกลุ่มและประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

 

วันอาทิตย์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

 

๐๗.๓๐-๐๘.๓๐น.

รับประทานอาหารเช้า

๐๘.๓๐-๑๒.๐๐ น.

๐๘.๓๐-๑๐.๓๐ น.                                                                                  นั่งรถรางชมเมืองโบราณ(สยามในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและพหุลักษณ์ทางสังคม)                                                                       ๑๐.๓๐-๑๒.๐๐ น.                                                                                ปั่นจักรยานชมเมืองโบราณตามอัธยาศัย

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.

รับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๑๕-๑๔.๓๐ น.

“สถานการณ์อนาคตของสังคมพหุลักษณ์ในประเทศไทยและการมีส่วนร่วมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม”  โดยอาจารย์ศรีศักร  วัลลิโภดม

๑๔.๓๐-๑๕.๓๐ น.

ผู้เข้าร่วมอบรมซักถามแสดงความคิดเห็น

๑๕.๓๐-๑๖.๔๕ น.

ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อเตรียมตัวเสนอข้อคิดเห็นและความรู้ที่ได้จากการอบรม

๑๖.๔๕-๑๗.๐๐ น.

เดินทางเข้าที่พัก

๑๗.๐๐-๑๘.๐๐ น.

พักผ่อนตามอัธยาศัย

๑๘.๐๐-๑๙.๐๐ น.

รับประทานอาหารเย็น

๑๙.๐๐-๒๒.๐๐ น.

ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มและเฉพาะตน ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์และเมืองโบราณ

 

วันจันทร์ ที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

 

๐๗.๓๐-๐๘.๓๐ น.

รับประทานอาหารเช้า

๐๘.๓๐-๑๑.๐๐ น.

ผู้เข้าร่วมอบรมนำเสนอเค้าโครงร่างบทความที่ได้รับประสบการณ์และความรู้จากการอบรมเรื่อง “พหุลักษณ์ทางสังคม/วัฒนธรรมในสังคมไทย”

๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น.

มอบประกาศนียบัตรและปิดการอบรม

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.

รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

 

หมายเหตุการอบรมครั้งนี้ผู้เข้าอบรมจะต้องส่งบทความขนาดความยาว ๓-๕ หน้ากระดาษ เอ ๔Font  Cordia New  ขนาด ๑๖ point ภายหลังการอบรมเสร็จสิ้นแล้ว ๑ อาทิตย์ และถือเป็นข้อตกลงยินยอมเบื้องต้นก่อนเข้ารับการอบรม เพื่อที่ทางมูลนิธิฯ จะนำไปจัดพิมพ์เป็นเอกสารประกอบสำหรับการจัดงานครั้งนี้เพื่อเผยแพร่แนวคิดเรื่องพหุลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมแก่สังคมต่อไป

 

วิทยากร

ศรีศักร วัลลิโภดม

สุรพงษ์ กองจันทึก

สนิทสุดา เอกชัย

เจ้าหน้ามูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์และเมืองโบราณ

อัพเดทล่าสุด 28 ม.ค. 2559, 00:00 น.
บทความในหมวด
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.