น้ำ ! เทวะหรือซาตาน (น้ำคืออะไร ใครรู้บ้าง?)
เอกสารประกอบงานเสวนาเรื่อง "ทุกขภัยกับสายใยในสังคม"
คำถามข้างบนนี้ถ้าจะตอบในเชิงวิทยาศาสตร์ คำตอบที่ควรเป็นได้แก่ " คือพาหนะของสสารของโลกใบนี้ " ทั้งใบใหญ่และใบเล็กคือตัวเรา แต่ถ้าจะตอบในเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อมคงจะต้องตอบว่า คือ ตรีมูรติ หมายถึง เทพผู้เป็นใหญ่ทั้ง ๓ ในจักรวาลได้แก่ พระศิวะผู้ทำลาย พระพรหมผู้สร้าง และพระนารายณ์ผู้บริหารจัดการ
การที่น้ำจะกลายเป็นเทพองค์ไหนนั้นขึ้นอยู่กับการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น อาทิ ถ้าเราละเลย หลงลืมไม่ใส่ใจเรียนรู้ แต่กลับหลงใหลในเทคโนโลยีเอามาจัดการน้ำอย่างเบ็ดเสร็จ น้ำก็จะลุกขึ้นมาอาละวาดทำลายล้างทุกสรรพสิ่งที่ขวางหน้า ดังที่เรากำลังประสบอยู่ในทุกวันนี้ ในทางตรงกันข้ามถ้าเรายอมรับความเป็นไปของน้ำ เราก็จะสามารถอยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างผาสุกและสงบสันติ
ดังนั้น เราจึงควรที่จะทำความรู้จักและเข้าใจธรรมชาติของน้ำให้ถ่องแท้ และดำเนินชีวิตให้กลมกลืนกับน้ำ ไม่เป็นปฏิปักษ์ โดยมุ่งเน้นที่จะควบคุมและจัดการน้ำ ให้อยู่ในอำนาจด้วยเทคโนโลยีแล้วไซร้ ทุกขภัยทั้งหลายก็คงจะไม่เกิดขึ้นดังที่ประสบอยู่ในทุกวันนี้
น้ำเป็นวัฎจักรหนึ่งในหัวของธรรมชาติที่มีช่วงอายุ ๑ ปีคือ น้ำจะระเหยจากมหาสมุทรขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นเมฆ และกระแสลมพัดพาขึ้นมาบนแผ่นดินตกเป็นฝนบนยอดเขาโดยน้ำทุกหยุดที่ลงจากฟากฟ้า สุดท้ายจะไหลกลับสู่มหาสมุทรจนหมดสิ้น ซึ่งการไหลนี้จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับโครงสร้างของพื้นผิวที่ไหลผ่านว่าเป็นหินผาหรือป่าไม้ ถ้าเป็นยุคสมัยก่อน ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician) เมื่อประมาณ ๕๐๐ล้านปีก่อน ผิวโลกมีแต่น้ำกับแผ่นหิน ดังนั้นเมื่อฝนตกลงมาก็จะไหลกลับสู่มหาสมุทรอย่างรวดเร็ว ผิวโลกจึงร้อนและแห้งแล้ง จนกระทั่งพืชในทะเลเริ่มสุกขึ้นและสร้างดินได้สำเร็จจนกระทั่งเกิดเป็นป่าไม้ปกคลุมโลกเมื่อประมาณ ๓๔๕ ล้านปีในยุค คาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) ฝนที่ตกบนบกเริ่มถูกเก็บกักเพิ่มขึ้นและเริ่มสร้างแผ่นดินเพิ่มขึ้นตลอดมา จนเกิดเป็นที่ราบลุ่มน้ำต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะในประเทศไทยของเรามีลุ่มน้ำใหญ่ๆ ๒-๕ ลุ่มน้ำ แต่ที่สำคัญมีเพียง ๓ ลุ่มน้ำเท่านั้น คือ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา, ลุ่มน้ำแม่กลอง และลุ่มน้ำชี-มูล โดยทั้ง๓ ลุ่มน้ำนี้มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยกันมาช้านานจนเกิดประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ที่หลากหลาย
โดยผู้คนที่ดำเนินชีวิตอยู่ตามลุ่มน้ำต่างๆเหล่านี้ จะมีวิถีในการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันไปตามธรรมชาติของลุ่มน้ำแต่ละส่วนที่แตกต่างกัน โดยแต่ละชุมชนจะปรับวิถีการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ จึงเป็นผลให้ธรรมชาติได้เกื้อหนุนชีวิตได้เต็มที่
ตัวอย่างเช่น วิถีชีวิตของคนที่อยู่ต้นน้ำจะมีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างจำกัดทั้งสิ้น เพราะมีน้ำใช้ค่อนข้างจำกัด ดังเห็นได้จากลำธารหรือห้วยจะมีขนาดเล็กและตื้น พื้นว่างมักจะเป็นหินที่ไม่อุ้มน้ำ ทำให้มีน้ำเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น เมื่อหมดฤดูฝนลำธารส่วนใหญ่มักจะแห้ง ดังนั้นแต่ละชุมชนมักจะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้พื้นที่ที่มีเนินเขาเป็นป่าทึบ และจะพยายามดูแลรักษาเนินเขานั้นให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปรบกวนเป็นอันขาด มิฉะนั้นจะเกิดอาเพศร้ายแรง เป็นต้น ส่งผลให้เนินเขานั้นสามารถเก็บความชุ่มชื้นและชะลอน้ำเอาไว้ได้เป็นอย่างดี ชุมชนจึงมีน้ำเอาไว้บริโภคในฤดูแล้งได้อย่างปกติ
ส่วนวิถีของผู้คนที่อยู่ทางตอนกลางของลุ่มน้ำ ภูมิประเทศบริเวณนี้จะมีลักษณะเป็นตะพังเชิงลาดของภูเขา โครงสร้างของลำน้ำในบริเวณตอนกลางของลุ่มน้ำนี้จะมีลักษณะที่กว้างและลึกกว่า เนื่องจากเป็นที่รวมของลำธารหลายสายจึงมีปริมาณน้ำมากในฤดูฝนและมีความปั่นป่วนสูงมาก ดังนั้นโครงสร้างของลำน้ำจะคดไปคดมา โดยมีการกัดเซาะและสะสมตะกอนเกิดใหม่อยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญที่สุดของลำน้ำตอนกลางนี้จะมีตะพังพักน้ำอยู่ ๒ ข้างตลิ่งเป็นบริเวณกว้างเป็นช่วงๆ เราเรียกตะพังพักเหล่านี้ว่า หนอง บึง กุด กว๊าน เป็นต้น ปีใดที่ปริมาณน้ำในฤดูฝนมีสูงมาก น้ำก็จะเอ่อล้นเข้าไปพัก
บริเวณหนองหาร จังหวัดสกลนคร
อยู่ในตะพังเหล่านี้มาก ทำให้พื้นที่ตะพังขยายตัวเป็นบริเวณกว้าง แต่ถ้าปีน้ำน้อย พื้นที่ตะพังก็จะลดน้อยลง และเมื่อหมดฤดูมรสุมน้ำในลำน้ำลดต่ำลงจะทำให้น้ำที่ขึ้นไปพักอยู่ในตะพังต่างๆ ไหลซึมย้อนกลับลงสู่ลำน้ำทำให้ลำน้ำตอนกลางไม่แห้งในฤดูแล้ง และไม่ท่วมมากในฤดูน้ำ
ตะพังนอกจากจะเป็นแหล่งพักน้ำที่หลากหลายแล้ว ยังเป็นแหล่งเพาะขยายสัตว์น้ำจืดที่ยิ่งใหญ่มากเพราะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำจืดที่มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์ที่สุด ส่งผลให้คนไทยมีปลากินอย่างเหลือเฟือจนฝังอยู่ในคำทักทายแบบไทยๆ " ไปไหนมา กินข้าวกินปลาหรือยัง " และตะพังพักเหล่านี้เมื่อหมดหน้าฝน น้ำจะแห้งกลายเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ โดยชาวบ้านต่างก็จะเอาวัวควายมาเลี้ยงปล่อยไว้ตามทุ่งหญ้าเหล่านี้ จึงเป็นพื้นที่สาธารณะห้ามมิให้ผู้ใดครอบครอง ปัจจุบันพื้นที่ตะพังพักเหล่านี้ถูกบุกรุกครอบครองทำให้ที่พักน้ำหายไป จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมเกิดขึ้นแทนที่เราจะรู้ตัวว่าเป็นต้นเหตุน้ำท่วม กลับช่วยกันสร้างพนังกั้นน้ำมิให้ไหลข้ามตลิ่งไปลงตามที่พักทั้งหลาย จึงเกิดน้ำท่วมรุนแรงขึ้นทุกปี นอกจากนี้พอหมดฤดูน้ำหลากก็เกิดปัญหาน้ำแล้งตามมาทันทีเช่นเดียวกัน เราก็ใช้วิธีสร้างเขื่อนทดน้ำไว้ทางตอนบนโดยสร้างเชื่อมปิดลำน้ำต่างๆ โดยคาดหวังจะชะลอน้ำหลากเอาไว้ตามอ่างเก็บน้ำต่างๆ แต่เกิดความเข้าใจผิดอย่างรุนแรงว่าเขื่อนต่างๆ สามารถเก็บน้ำเอาไว้ได้มาก แต่โดยความเป็นจริงแล้วทั้งที่เขื่อนเก็บกักเอาไว้กลับเป็นปริมาณทรายมหาศาลที่น้ำพัดพามา จึงสะสมอยู่ในอ่างเก็บน้ำหลังเขื่อน และยังสะสมเอาไว้ตลอดลำน้ำตอนที่เหนือเขื่อนขึ้นไป เพราะเขื่อนเป็นตัวชะลอความแรงของน้ำที่จะพัดพาตะกอนออกสู่ทะเล ทำให้ตะกอนเหล่านั้นกลับสะสมอยู่ในแม่น้ำตอนบน จึงส่งผลให้เกิดน้ำท่วมตามเมืองต่างๆ ที่อยู่ทางตอนบนและตอนกลางของลุ่มน้ำ เช่นน้ำท่วมที่ภาคเหนือต่างๆ ในหลายพื้นที่
สรุปสาเหตุของอุทกภัยในสยาม
๑. บุกรุกและยึดพื้นที่ตะพังพักน้ำ ทำให้พื้นที่รับน้ำหลากหายไป
๒. สร้างผนังปิดกั้น ๒ ฝั่งลำน้ำ ทำให้น้ำทั้งหมดเหลือที่อยู่เพียงช่องแคบๆ เท่านั้น
๓. สร้างที่พักผิดวิธี คือ ปลูกเรือนบนดินไม่ยกพื้น
๔. สร้างถนนปิดกั้นการไหลหลากของน้ำ
๕. สร้างเขื่อนกักกรวดหิน ดินและทรายเอาไว้ทางตอนบนของลำน้ำ
ผลกระทบที่เกิดตามมาหลังจากอุทกภัยผ่านไป
๑. แผ่นดินเกิดความแห้งแล้งซ้ำซาก และขยายวงกว้างขึ้น
๒. บ่อน้ำตื้น แห้งเพราะขาดน้ำใต้ผิวที่ซึมมาหล่อเลี้ยง
๓. น้ำบาดาลลดลง เพราะขาดน้ำที่จะไหลในชั้นใต้ดิน
๔. แผ่นดินทรุดเนื่องจากน้ำบาดาลแห้ง
๕. สัตว์น้ำที่เป็นอาหารหลักลดลงและหายไป
• วิสัยทัศน์ (Vision) เตรียมความพร้อมให้เด็กเมื่อเข้าสู่ระบบการศึกษา
• พันธกิจ ( Mission ) สร้างพื้นฐานอนาคตของชาติผ่านเด็กประถม
• เป้าหมาย (Goal) เป็นสถานศึกษาชั้นนำในการสร้างปัญญาเด็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
• ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor) สร้างกระบวนการคิดผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน
• นโยบาย (Policy) เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าองค์ความรู้
• กลยุทธ์ (Tactics) สร้างความสนุกสนานในการเรียนเพื่อให้เด็กรักการเรียน
************************************