หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
"ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา" งานศพ : ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของชาวประแส
บทความโดย จิราพร แซ่เตียว
เรียบเรียงเมื่อ 28 ธ.ค. 2561
เข้าชมแล้ว 3035 ครั้ง
ภาพถ่ายการเคลื่อนขบวนศพ ถ่ายที่ชุมชนริมน้ำประแส
ภาพถ่ายขบวนศพหมอเต้า มณีกร ถ่ายบริเวณหน้าโรงเรียนวัดตะเคียนงาม ในภาพนี้มีท่านพ่อมาลัย เจ้าอาวาสวัดตะเคียนองค์ก่อน เป็นหนึ่งในพระผู้มานำขบวน
ภาพถ่ายงานศพหมอเต้า มณีกร ณ ชุมชนปากน้ำประแส
ภาพถ่ายการเคลื่อนขบวนศพ ณ ชุมชนริมน้ำประแส

ภาพเก่าเล่าเรื่องชุดนี้ เป็นภาพงานศพของหมอเต้า มณีกร แพทย์แผนไทย แห่งร้านสมบูรณ์โอสถ จากภาพจะเห็นลูกหลาน ญาติสนิทมิตรสหายซึ่งหลายท่านแต่งชุดขาวมาร่วมงาน

 

ข้อมูลจากเว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม เรื่องการแต่งกายในงานศพสมัยโบราณ ให้ข้อมูลซึ่งช่วยขยายรายละเอียดเรื่องการแต่งกายในงานศพ ไว้ว่า 

" สมัยโบราณการแต่งกายไปงานศพแบ่งเป็นหลายแบบ ตามอายุและความเกี่ยวข้องกับผู้ตาย โดยกำหนดจากการใช้สีเสื้อผ้าต่างกัน ๓ สี คือ สีดำ สีขาว และสีม่วงแก่หรือสีน้ำเงินแก่ ดังนี้

สีขาว สำหรับผู้เยาว์หรือผู้ที่มีอายุอ่อนกว่าผู้ตาย เช่น ลูกหลานญาติสนิทหรือผู้อยู่ในอุปการะและสำหรับพระราชพิธีพระบรมศพ

สีดำ สำหรับผู้ใหญ่หรือผู้ที่อายุแก่กว่าผู้ตาย

นุ่งสีม่วงแก่หรือน้ำเงินแก่สวมเสื้อขาว สำหรับผู้ที่มิได้เกี่ยวข้องเป็นญาติกับผู้ตาย

นุ่งดำสวมเสื้อขาว สำหรับมิตรสหายที่สนิทกับผู้ตาย

 

การแต่งกายสีต่างกันในงานศพสมัยโบราณทำให้ผู้พบเห็นสามารถรู้ทันทีว่าผู้นั้นเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับผู้ตายอย่างไร เพียงไรและทำให้ผู้ที่จะไปงานนั้นๆ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับตนเอง และเทือกเถาเหล่ากอหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในสกุลของตน เพื่อที่จะได้แต่งสีให้ถูกต้อง"

(อ้างอิงจาก https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_3358 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๑)

 

จากภาพยังทำให้เห็นบรรยากาศแวดล้อมของชุมชนประแสเมื่อครั้งอดีตอีกด้วย และว่ากันว่าสังคมไทยในอดีตมีความใกล้ชิดกับความตายกว่าคนในปัจจุบันมาก จึงน่าจะมีโอกาสเจริญมรณานุสติกว่าคนในปัจจุบัน ขอฝากข้อคิดจากพระไพศาล วิสาโล เรื่อง มรณานุสติ หรือมรณสติ เพื่อเป็นการทิ้งท้าย

" มรณสติมีสองส่วน ส่วนแรก คือ การระลึกถึงความจริงว่า เราต้องตายอย่างแน่นอน แต่เท่านั้นยังไม่พอ ต้องระลึกต่อไปด้วยว่า เราสามารถจะตายได้ทุกโอกาส สามารถจะตายได้ทุกเมื่อ แม้ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ก็ตาม สำหรับคนส่วนใหญ่ความตายเป็นสิ่งที่แย่ แต่ที่แย่กว่านั้นก็คือเราไม่รู้ว่าเราจะตายเมื่อไร อาจจะคืนนี้ อาจจะพรุ่งนี้ก็ได้ "

 

มีภาษิตทิเบตบทหนึ่งกล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า “ระหว่างวันพรุ่งนี้กับชาติหน้า ไม่มีใครรู้หรอกว่าอะไรจะมาถึงก่อน”

(อ้างอิงจาก https://www.visalo.org/article/D_MoranaSati.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๑)

 

ขอขอบคุณ คุณภาวิณี ยอดบริบูรณ์ ผู้เอื้อเฟื้อภาพ และข้อมูล

 

บทความในหมวด
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.