หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
วิกฤตบ้านบาตร
บทความโดย ณัฐวิทย์ พิมพ์ทอง
เรียบเรียงเมื่อ 10 เม.ย. 2561
เข้าชมแล้ว 1692 ครั้ง
หลังจากตีบาตรเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงนำมาตะไบบาตร ซึ่งเป็นการเก็บรายละเอียดขั้นสุดท้าย
การเชื่อมบริเวณตะเข็บบาตรให้ส่วนต่างๆ ยึดติดกัน
การจักเหล็กให้เป็นหน้าวัวเพื่อประกอบเข้ากับกง จะได้เป็นตัวบาตร
การตีบาตร เพื่อให้ส่วนที่เป็นตะเข็บและรอยเชื่อมประสานเป็นเนื้อเดียวกัน
งานหัตถกรรมไทยโบราณแขนงนี้ยังคงมีอยู่ แต่ได้ซบเซาลง ด้วยมีการผลิตบาตรปั๊มราคาถูกกว่าจาก โรงงานมาแข่งขัน
ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐได้เข้ามาจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ย่าน แต่ปัญหาสำคัญที่ยังมีอยู่ก็คือการหาผู้สืบทอดวิธีทำบาตรแบบโบราณเอาไว้
ตัวบาตรที่ประกอบเข้ากับแผ่นหน้าวัว
ลักษณะของบาตรที่ตีตะเข็บย่างหยาบๆ แล้ว
ย่านบ้านบาตรหลังวัดสะเกศ เป็นแหล่งทำบาตรด้วยมือแห่งเดียวของกรุงเทพฯ
ขอบบาตร ซึ่งจะใช้ประกอบเข้ากับกง ที่มีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กรูปกากบาทหรือก็คือโครงตัวบาตร

บริเวณหลังวัดสะเกศแถบถนนบำรุงเมืองเป็นที่ตั้งของย่านบ้านบาตร อันเป็นแหล่งผลิตบาตรที่ตีด้วยมือแห่งเดียวของกรุงเทพฯ ทุกวันนี้การทำบาตรด้วยวิธีดั้งเดิมนี้ยังมีอยู่ แต่ต้องแข่งขันกับบาตรที่ผลิตจากโรงงานด้วยวิธีการปั๊มทำให้บาตรจากบ้านบาตรขายไม่ออกเพราะราคาแพงกว่า ช่างบาตรหันไปประกอบอาชีพอื่นจนเหลือเพียงไม่กี่ครอบครัวเท่านั้น นับเป็นสถานการณ์ที่สุ่มเสียงต่อการสูญสิ้นฝีมืองานช่างที่สืบทอดต่อกันมายาวนานคู่เมืองหลวง หรือจะเหลือไว้เพียงชื่อย่านบ้านบาตรเท่านั้น

บทความในหมวด
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.