#ท่องเที่ยวเพื่อเข้าใจเมืองไทย#
“เยี่ยมยามเมืองจันทบูร”
เมืองท่าอันมีพลวัตทางประวัติศาสตร์ต่อสยามประเทศ
วันเสาร์ที่ ๖ วันอาทิตย์ที่ ๗ และวันจันทร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๒ นี้
กิจกรรมใหม่ของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
นำชมสาระทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี
โดยอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม และวลัยลักษณ์ ทรงศิริ
“จันทบูร” หรือ “จันทบุรี” หัวเมืองใหญ่แต่โบราณของภูมิภาคตะวันออก คือ เมืองท่าภายในริมชายฝั่งทะเล ตามเส้นทางการเดินเรือทะเลเลียบชายฝั่งระหว่างภูมิภาคใหญ่ของแหล่งอารยธรรมสำคัญคือจีนและอินเดียถือเป็นเมืองท่าส่งสินค้าของป่าชั้นดี เช่น ไม้ตะเคียน ไม้แดง ไม้ยาง ไม้หอม กฤษณา พืชสมุนไพรต่างๆ เช่นกระวานและโดยเฉพาะพริกไทย
ชื่อเมือง “จันทบูร” นั้นน่าจะมีที่มาจากการเป็นพื้นที่ป่าเขาที่มีต้นไม้หอมอันเป็นต้นไม้เฉพาะถิ่นคือ “ต้นจันทน์” หรือ Sandalwood ไม้จันทน์นี้นำไปใช้เป็นไม้หอมสำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในงานพระราชพิธีหลวงหรืองานมงคลต่างๆ และนำมาสกัดเป็น “น้ำมันจันทน์” น้ำมันหอมระเหยมูลค่าสูงและมีความต้องการทั้งทางฝั่งจีนและอินเดีย ส่วนคำว่า “บูร” นั้นหมายถึง ความเป็นเมืองหรือ “ปุระ” ซึ่งอาจจะมีกำแพงค่ายคูประตูหอรบด้วยก็ได้
“เมืองจันทบูร” อยู่ริมลำน้ำจันทบูร เมืองท่าที่อยู่ภายในแผ่นดิน ใกล้เชิงเขาสระบาปที่มีร่องรอยของบ้านเมืองที่รับอิทธิพลวัฒนธรรมแบบเขมรตั้งแต่ยุคเริ่มแรก แต่ก็ยังไม่อาจเรียกว่าเป็นเมืองใหญ่ได้ จนกระทั่งถึงยุคสมัยอยุธยาที่การค้าทางทะเลรุ่งเรือง ชุมชนจำนวนมากจึงปรากฏอยู่ตามริมลำน้ำหลายสาย จันทบูรจึงกลายเป็นหัวเมืองใหญ่ชายฝั่งตะวันออกที่ส่งสินค้าสำคัญของบ้านเมืองมาตั้งแต่บัดนั้น และที่สำคัญ เมื่อ “สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ” ฝ่าวงล้อมทัพพม่าในคราวสิ้นกรุงศรีอยุธยา พระองค์เลือกหัวเมืองทางตะวันออก เช่น ระยอง จันทบูร และตราดที่มีฐานกำลังของผู้คนจำนวนมากที่ไม่ถูกผลกระทบจากการล้อมกรุงฯ เป็นที่มั่นเพื่อกลับสู่การกู้บ้านเมืองที่ล่มสลายไปแล้ว ผู้คนแถบนี้ล้วนมีที่มาหลากหลาย ทั้งคนชองผู้เก็บผลผลิตจากป่าเขาสู่เมือง คนสยาม คนมลายู คนจามมุสลิม และโดยเฉพาะคนเชื้อสายจีนทั้งพุทธและคริสต์ ซึ่งมีที่มาจากในพื้นที่เวียดนามและเมืองจีน
มรดกตกทอดทางวัฒนธรรมแห่งจันทบูรจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษายิ่งนัก ไม่ว่าจะเป็นภูมิวัฒนธรรมของการตั้งถิ่นฐาน ความหลากหลายทางชีวภาพและความร่ำรวยของอาหารการกินทั้งพืชผักสมุนไพร สวนผลไม้และอาหารทะเล ประเด็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอันเกี่ยวพันกับการกู้บ้านเมืองของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ กษัตริย์เชื้อสายจีนสยามแห่งกรุงธนบุรี ทำให้ “จันทบูร” เป็นบ้านเมืองแรกที่ “มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์” เลือกสรรมาแนะนำเพื่อการท่องเที่ยวเรียนรู้รากฐานของความเป็นเมืองท่าแห่งภูมิภาคตะวันออกที่มีพลวัตต่อสยามประเทศ
กำหนดการ
วันเสาร์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๒
๗.๐๐ น. ออกเดินทาง พบกันที่จุดนัดพบสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ดินแดง-วิภาวดี
ถนนวิภาวดีรังสิต ( https://maps.app.goo.gl/52hxk )
๑๐.๐๐ น. ถึงเมืองแกลง นำชมวัดราชบัลลังก์ฯ บ้านทะเลน้อย สถานที่อันเกี่ยวเนื่องกับเส้นทางมุ่งสู่
จันทบุรีของทัพพระเจ้าตากฯ
๑๑.๐๐ น. ชมปากน้ำประแสฝั่งวัดสมมติเทพฐาปนาราม (วัดแหลมสน) ในฐานะจุดยุทธศาสตร์สำคัญ
แห่งหนึ่งของการป้องกันทางทะเลในสมัยรัชกาลที่ ๓
๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวันร้านมารวย ประแส
๑๓.๓๐ น. ชมแหล่งผลิตโอ่งมังกรแห่งจันทบูร ผลิตจาก “เตามังกร” (Dragon Kiln) โอ่งเนื้อแกร่งเคลือบอายุเก่าแก่กว่าโอ่งมังกรราชบุรี
ที่บ้านท่าศาลา ริมลำน้ำรำพัน ในอำเภอท่าใหม่
๑๕.๐๐ น. ชมหอไตรวัดตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่
๑๕.๓๐ น. เดินทางสู่แหลมสิงห์ ปากน้ำจันทบูร เรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองจันทบุรีบางส่วนจากโบราณ สถาน
สมัยฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองจันทบุรี
๑๖.๓๐ น. เดินทางสู่เมืองขลุง ชมกลุ่มวัดเก่า เช่น วัดเกวียนหัก, วัดตะปอนน้อย, วัดตะปอนใหญ่
๑๘.๓๐ น. รับประทานอาหารเย็นที่ร้านจันทรโภชนา (สาขามหาราช)
๑๙.๓๐ น. เข้าพักที่โรงแรมริเวอร์ ลาวัลย์ ( https://www.riverawanhotel.com ) ริมแม่น้ำจันทบุรี
วันอาทิตย์ ที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๒
๗.๐๐-๘.๓๐ น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม และชมเจดีย์เขาน้อยหัววังหรือบ้านหัววัด ใกล้กับที่ตั้งโรงแรมอันเป็น
สถานที่ทางยุทธศาสตร์ครั้งรัชกาลที่ ๓ ฝั่งตรงข้ามกับเมืองจันทบูรเก่า
๘.๔๕ น. เดินทางถึงวัดทองทั่ว ชมอาคารพิพิธภัณฑ์ และเรียนรู้แหล่งโบราณสถานเพนียดและ
การเป็นแหล่งสะสมชุมชนในวัฒนธรรมเขมรหลายยุคสมัย
๑๐.๓๐ น. เดินทางถึงวัดโยธานิมิต ค่ายเนินวง ทำความเข้าใจประวัติศาสตร์การสงครามครั้งใหญ่กับญวน
ในช่วงรัชกาลที่ ๓ และเข้าชมพิพิธภัณฑ์พานิชย์นาวีและข้อมูลพื้นฐานของเมืองจันทบุรีและการค้าทางทะเล
๑๒.๐๐ น. รับประทานอาหารที่ ร้านอาหารทะเลท่าแฉลบ
๑๓.๓๐ น. สักการะศาลหลักเมืองและศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ
๑๔.๐๐ น. ชมเมืองจันทบูรเก่าและสถานที่สำคัญภายในกองพันทหารราบที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ กองพลนาวิกโยธิน ค่ายตากสิน จันทบุรี
๑๔.๔๕-๑๗.๐๐น. เสวนาและเปิดพื้นที่พูดคุยเรื่อง “เมืองจันทบูรเก่าและสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
จากมุมมองนักวิชาการจากมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์” โดย อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม
และวลัยลักษณ์ ทรงศิริ ณ บริเวณเมืองจันทบูรเก่าในค่ายตากสิน
๑๘.๐๐ น. รับประทานอาหารเย็น ร้านข้าวต้มมิตรอนันต์
๑๙.๓๐ น. เข้าพักที่โรงแรมริเวอร์ ลาวัลย์
วันจันทร์ที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๒
๗.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม
๘.๓๐ น. เดินทางเข้าชมวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล และพูดคุยถึงประวัติศาสตร์ของชาวคริสต์ในจันทบุรี
๙.๓๐ น. ชมชุมชนเก่าริมน้ำจันทบูร ชมพิพิธภัณฑ์ของชุมชนและวัดเขตร์นาบุญญาราม
๑๑.๓๐น. รับประทานอาหารกลางวัน
๑๒.๓๐ น. ทำความเข้าใจท้องถิ่นพลอยแหวน บางกะจะและท่าใหม่ ชมวัดและศาลเจ้า เช่น ศาลเจ้าอาเนี้ยวทั้งที่บางกะจะ และเขาบายศรี
ตลาดบางกะจะ วัดโบสถ์พลอยแหวน ฯลฯ ชมภาพพระบฏ ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ และในยุคสมัยต่อมาที่วัดบ่อพุ เป็นต้น
๑๕.๓๐ น. เดินทางกลับกรุงเทพมหานคร
***โปรแกรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ร่วมเดินทางเป็นหลัก***
————————————————————————————————————
การสํารองที่นั่ง
กรอกใบสมัครได้ที่ : https://goo.gl/forms/0lP2PzFnZdAZtUqO2
โปรดส่งใบสมัครและหลักฐานการโอน (ภายในวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562) ไปยัง
บัญชีมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เลขที่บัญชี 169-048-485-0
ธนาคารกรุงเทพ บัญชีออมทรัพย์ สาขาผ่านฟ้า
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 6,500 บาท
อัตรานี้รวม
** ต้องการพักคนเดียวมีค่าใช้จ่ายเพิ่มท่านละ 1,590 บาท รวมเป็น 8,090 บาท
อัตรานี้ไม่รวม
การยกเลิกการเดินทาง
หมายเหตุ
ติดต่อสอบถาม
โทร : 086-644-4321
E-mail : [email protected]
@ LINE