ซึ่งเป็นเรื่องราวในอดีตของเมืองสุพรรณบุรีในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๐ โดยนำเนื้อหาจากบทความของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม เรื่อง "สุพรรณภูมิ-เสียนหลอก๊ก-สหพันธรัฐเสียม" ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๔๒ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๙)
“ภูสามเส้า” เป็นหนึ่งในกลุ่มเทือกเขาแดนลาวที่กั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า และติดกับพื้นที่ราบแอ่งเชียงแสนในลุ่มนำ้กก โดยมีภูเขาเรียงต่อกันสามลูกในแนวทิศเหนือ-ใต้ ได้แก่ ดอยจ้อง(ปัจจุบันคือดอยนางนอน), ดอยปู่เฒ่าและดอยตุง (หรืออีกชื่อหนึ่งในตำนานคือดอยดินแดง) ความสำคัญของภูสามเส้าคือเป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำสายต่างๆในพื้นที่ลุ่มแอ่งเชียงแสน เช่น ลำน้ำรวก ลำน้ำแม่คำ ลำน้ำแม่มะ ลำน้ำเหมืองแดง เป็นต้น ลำน้ำเหล่านี้ล้วนไหลผ่านถ้ำในภูเขาและจะไหลออกมาจากตามช่องเขา ผ่านที่ราบแอ่งเชียงแสนไปทางทิศตะวันออกสบกับแม่น้ำโขง ทำให้บริเวณพื้นที่ราบลุ่มหน้าภูสามเส้าเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมแก่การทำเกษตรกรรมดังนั้นจึงเป็นพื้นที่ทำนาดำและยังพบร่องรอยของการตั้งชุมชนโบราณ
สมัยก่อนที่พระสำคัญกับชุมชนเพราะพระทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน เจ้าอาวาสเป็นหัวใจหลัก แล้วพระรองๆ ลงมาจะมีความรู้แตกต่างกัน และความรู้ของพระก็เป็นความรู้ที่ได้มาจากที่เดิม คือความรู้จากชุมชน อย่างฉันรุ่นปู่เป็นแพทย์ประจำตำบลเพราะคนโบราณมีการสืบทอดความรู้ตามสายตระกูล