“ศาลพระแม่ย่า” ริมแม่น้ำยม ใกล้ศาลากลางจังหวัดในปัจจุบันในเมืองสุโขทัยธานีถือเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดสุโขทัย เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐาน “รูปเคารพพระแม่ย่า” สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสุโขทัยที่ชาวเมืองสุโขทัยเคารพเลื่อมใสศรัทธาโดยมีผู้มากราบไหว้สักการะอยู่ไม่ขาด
ปัญหาพื้นฐานทางความคิดเรื่อง "ความดั้งเดิม ความแท้จริง" [Authenticity] ในการอนุรักษ์เมืองเก่าของประเทศไทยทำให้เกิดความขัดแย้งในการอนุรักษ์และศึกษาเรื่องเมืองประวัติศาสตร์หรือย่านเก่าต่างๆ คือ ผู้มีหน้าอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์จะเข้าใจว่าชุมชนเหล่านั้นต้องสืบสายเลือด สืบตระกูลมาจากคนในยุคสร้างบ้านแปงเมืองและยังทำงานช่างหัตถกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับชุมชนในตำแหน่งที่ระบุไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์
เขา “ขุนน้ำนางนอน” คือชื่อในปัจจุบัน แต่ก่อนในตำนานเป็นเขาของคนลัวะที่เรียกว่า “ภูสามเส้า” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “ดอยตุง” อันเนื่องมาจากการสร้างพระธาตุบนยอดเขาที่สูงสุดในบริเวณนี้
“งานทิ้งกระจาดของคนบางกะจะน่าจะมีการทำต่อเนื่องกันมาเป็นร้อยๆ ปีแล้ว อย่างตัวเองอายุหกสิบกว่าก็เห็นมาตั้งแต่เด็กๆ หน้าที่ของเถ่านั้งในงานทิ้งกระจาดขั้นแรกเลยคือต้องออกหาเงินบริจาคก่อนทำอย่างอื่น จะไปต้องไปเป็นทีม ถ้าไปคนสองคนก็ไม่น่าเชื่อถือ เถ่านั้งคนไปขอรับบริจาค และชาวสวน หรือบริษัทห้างร้านต่างๆ ซึ่งเป็นผู้บริจาคก็จะไม่เชื่อถือ ไม่สบายใจไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย ไปเป็นทีมที่ว่านี้ นอกจากใส่เสื้อทีมสีเหลือง สกรีนศาลเจ้าแม่อาเนี้ยวหัวตลาดแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ “น้า” ตะกร้าสานโบราณ ถือไปด้วย ร้านค้าต่างๆ เค้าเห็นเค้าจะรู้เลยว่านี่มารับบริจาคเพื่อไปจัดงานทิ้งกระจาดประจำปี”