หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
คำที่ค้นหาคือ "" มีทั้งหมด 1140 ข้อมูล
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10  Next จากทั้งหมด 228 หน้า
"จากเมืองแกลงสู่กรุงธนบุรี เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองแกลง" กิจกรรมเนื่องในวันเล็ก-ประไพ รำลึก ปีที่ ๑๖ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑
บทความโดย พนมกร นวเสลา
เขียนเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2561

เป็นกิจกรรมเพื่อสร้างการเรียนรู้และความเข้าใจประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี และรัชกาลบ้านเมืองในสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ นอกเหนือจากการเรียนในตำรา ด้วยวิธีการลงพื้นที่ตามสถานที่สำคัญต่างๆ ของฝั่งธนบุรีผ่านการเรียนรู้ภูมิวัฒนธรรม ตลอดจนประวัติศาสตร์จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฎ รวมทั้งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอแกลง

เทศกาลกินเจของชาวไทยเชื้อสายจีน ณ ศาลเจ้าพ่อโต๊ะกง ปากคลองแกลง จังหวัดระยอง
บทความโดย จิราพร แซ่เตียว
เขียนเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2561

ชาวไทยเชื้อสายจีนที่เข้าร่วมเทศกาลกินเจที่ศาลเจ้าพ่อโต๊ะกงนั้นมีทั้งคนในพื้นที่ คือคนปากคลองแกลงและจากบริเวณใกล้เคียงและรวมไปถึงคนต่างถิ่น ซึ่งกลุ่มหลังกลับเป็นกลุ่มสำคัญซึ่งเป็นผู้นำแบบแผนการกินเจเข้ามาเผยแพร่ โดยผสมผสานธรรมเนียมพิธีกรรมจากความเป็นจีนต่างกลุ่ม และเพิ่มเติมกิจกรรมสำคัญของศาลเจ้าคือการจัดงานกินเจ ๒ ครั้ง ซึ่งแต่เดิมคนปากคลองแกลงและศาลเจ้าไม่เคยมีธรรมเนียมมาก่อน.

โรงเลื่อย ของป่า ภาพสะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้เมืองแกลง
บทความโดย พนมกร นวเสลา
เขียนเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2561

วิถีชีวิตของคนในพื้นที่เมืองแกลงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก เมื่อเสร็จฤดูทำนาจะรวมกลุ่มพากันเทียมเกวียนเข้าป่าไปหาของป่านำออกมาขาย โดยเดินตามเส้นทางเกวียนลัดเลาะขึ้นไปทางทิศเหนือหรือเดินตามลำน้ำสายเล็กๆ เข้าไปยังป่าเบญจพรรณ ถึงเวลากลางคืนจะหยุดตามจุดที่เป็นชุมนุม...

"เมืองประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ" และการเดินทางย้อนรอยการจัดการเมืองประวัติศาสตร์ที่ไม่มีชีวิต(๔)
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงสิริ
เขียนเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2561

ปัญหาพื้นฐานทางความคิดเรื่อง “ความดั้งเดิม ความแท้จริง” [Authenticity] ในการอนุรักษ์เมืองเก่าของประเทศไทยทำให้เกิด ความขัดแย้งในการอนุรักษ์และศึกษาเรื่องเมืองประวัติศาสตร์หรือย่านเก่าต่างๆ คือ ผู้มีหน้าที่อนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์จะเข้าใจว่า ชุมชนเหล่านั้นต้องสืบสายเลือด สืบตระกูลมาจากคนในยุคสร้างบ้าน แปงเมืองและยังต้องทำงานช่างหัตถกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับชุมชนในตำแหน่งที่ระบุไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์

ก่อนจะเป็นเมืองโบราณและมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2561

สำหรับคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ การสร้างพิพิธภัณฑ์มีชีวิตไม่ใช่สิ่งที่สร้างให้เสร็จได้รวดเร็วด้วยทุนทรัพย์อย่างคนที่เป็นมหาเศรษฐีหรืออย่างของทางรัฐบาล ข้าราชการ แต่เป็นการสร้างด้วยกำลังความคิดอ่านทางสติปัญญาเพื่อให้เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชาติให้รู้จักอดีตของชาติบ้านเมืองว่าเคยมีความเจริญรุ่งเรืองมาอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีขึ้นเพื่อให้คนในยุคปัจจุบัน ได้รับทราบและเรียนรู้  “เมืองโบราณ” ไม่ได้เกิดขึ้นหรือสร้างขึ้นด้วยเวลาอันสั้น การเป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตของเมืองโบราณไม่ใช่การจำลองสร้างโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ที่หักพังที่ตายไปแล้ว [Dead Monuments] มาตั้งแสดง แต่เป็นการสร้างบรรดาสถานที่ทางประวัติศาสตร์เหล่านั้นให้เต็มรูปอย่างมีชีวิต และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นบริบททางภูมิวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่เป็นบ้านเป็นเมืองอย่างในอดีต  เพื่อให้คนในปัจจุบันได้เห็นอย่างครั้งยังไม่ถูกทำลาย

ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.