รือเสาะ สังคม วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมในดินแดนตอนในแผ่นดินปัตตานี คำว่าแผ่นดินปัตตานีนั้นใช้ในเชิงของภูมิวัฒนธรรม ซึ่งคำนี้ไม่ได้มองไปถึงเขตแดนเชิงรัฐศาสตร์ เป็นการมองเชิงพื้นที่ทางวัฒนธรรมของกลุ่มมลายูปัตตานี ซึ่งกินพื้นที่มากกว่า ๓ จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา สงขลา เพราะบางส่วนเลยเข้าไปถึงมาเลเซียในเขตเคดาห์ (Kedah) เปรัค (Perak) กลันตัน (Kelantan) ความผสมผสานของกลันตัน
การประดิษฐานพระบรมธาตุครั้งนี้นอกจากจะเป็นการสืบพระศาสนาแล้ว เป็นการเชื่อมสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรมของชาวไตคำตี่แห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียและชาวไทยจากประเทศไทยซึ่งมีประวัติศาสตร์ตลอดจนวัฒนธรรมร่วมกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างประเทศอินเดียและกลุ่มประเทศอาเซียน
การรองน้ำฝนเพื่อการอุปโภค บริโภคเป็นอีกหนึ่งในภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีมาอย่างยาวนาน เพราะน้ำในคลองไม่สามารถใช้ดื่มได้ ซึ่งบางคลองเป็นน้ำกร่อย “โอ่ง” จึงเป็นภาชนะสำคัญที่ขาดไม่ได้ของชาวบ้านในพื้นที่ชายฝั่งทะเล ที่วัดโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ปรากฏพบว่ามีโอ่งมังกรใบหนึ่งเขียนด้วยตัวหนังสือไทย ความว่า “นายปล่ำ เปรมชนม์..” แสดงให้เห็นว่าเป็นโอ่งที่มีการสั่งทำขึ้นมาโดยเฉพาะ จึงตั้งข้อสันนิษฐานว่าในแถบบริเวณใกล้เคียงนั้นต้องมีแหล่งเตาเผาอยู่