รายการ "อดีตในอนาคต" ตอน "ข้อสังเกตเส้นทางออกจากกรุงฯ สู่หัวเมืองตะวันออกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ" : ตอนที่ ๑ ประวัติศาสตร์นอกพระราชพงศาวดาร" โดยวลัยลักษณ์ ทรงศิริ นักวิชาการ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ เนื่องในวาระโอกาสที่ในปี พ.ศ.๒๕๖๐ เป็นการเสียกรุงศรีอยุธยาปีที่ ๒๕๐ และสถาปนาเริ่มต้นกรุงธนบุรีในช่วงเวลาปีเดียวกัน และเป็นการเปิดพื้นที่เผยแพร่ข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ให้แพร่หลายมากขึ้นกว่าภายในชุมชนบ้านทะเลน้อย อันจะเป็นการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งในการหาความร่วมมือเพื่อการสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต่อไป
“ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนานๆ มีครั้งหนึ่ง แลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า “ทุ่งพระเมรุ” นั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า “ท้องสนามหลวง”
กรุงศรีอยุธยาแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นสมัยเวลาที่มีการนำเอาคติความเชื่อทางจักรวาลของฮินดูแบบขอม มาผสมผสานกับลัทธิความเชื่อของศาสนาพุทธเถรวาทมากกว่าสมัยใดๆ โดยเฉพาะในเรื่องของพระมหากษัตริย์และสถาบันกษัตริย์ที่ได้รับอิทธิพลลัทธิเทวราชาเข้ามาทำให้เกิดการสร้างสถาปัตยกรรมและศิลปะสถาปัตยกรรมแบบขอมขึ้น จนคนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราชาแบบขอมคือเป็นอวตารของพระผู้เป็นเจ้า เช่น พระวิษณุลงมาเกิดเพื่อปราบยุคเข็ญ.
เส้นทางเดินทัพสู่ตะวันออกและการกลับคืนเพื่อกู้บ้านเมือง : พระยาตากหรือพระยาวชิรปราการตัดสินใจตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าออกจากพระนครศรีอยุธยาในระหว่างสงครามครั้งสุดท้ายที่กำลังแตกเพื่อไปทางด่านเมืองนครนายกและเลียบชายดงศรีมหาโพธิ์เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกงแล้วมุ่งสู่หัวเมืองชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ในช่วงก่อนพระนครสูญเสียต่อทัพพม่าราว ๓ เดือน กระทำเพื่อสะสมผู้คนและจัดทัพเตรียมเสบียงเพื่อย้อนกลับไปกู้บ้านเมืองอีกครั้ง