หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
คำที่ค้นหาคือ "" มีทั้งหมด 1140 ข้อมูล
Pre  11 12 13 14 15 16 17 18 19 20  Next จากทั้งหมด 228 หน้า
รายการ "อดีตในอนาคต" ตอนที่ ๑๐ "ละครชาตรีนางเลิ้ง ละครเท่งตุ๊กจันทบุรี ละครชาวบ้านที่ยังมีชีวิต"
บทความโดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เขียนเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2561

คณะละครจงกล โปร่งน้ำใจจากย่านนางเลิ้งมาร่วม สาธิตการรำและร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกับทางคณะละครเท่งตุ๊กจันทบุรี สาธิตการรำซัดไหว้ครูละครชาตรี หรืออีกชื่อหนึ่งคือการรำซัดหน้าเตียง โดยเริ่มจากการนั่งร้องไหว้ครูและรำซัด ซึ่งทั้งสองคณะต่างก็เลือกบทรำไหว้ครูที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะบางประการที่มีร่วมกันและต่างกัน แม้ว่าจะเป็นคณะละครที่อยู่ต่างพื้นที่คนละท้องถิ่น

รายการ "อดีตในอนาคต" ตอนที่ ๙ จากบางกอกถึงธนบุรี : ราชธานีในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
บทความโดย พนมกร นวเสลา
เขียนเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2561

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชภายหลังจากขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาได้ แต่ก็ไม่สามารถที่จะตั้งรกรากที่กรุงศรีอยุธยาได้เนื่องจากมีประชากรน้อย รวมทั้งขนาดของกรุงศรีอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ยากต่อการควบคุมดูแล จึงย้ายลงมาที่เมืองธนบุรี ใช้เป็นฐานที่มั่นหลักของพระองค์ เหตุที่เลือกกรุงธนบุรีเพราะเมืองธนบุรีมีขนาดเล็ก ใกล้ทะเลสามารถติดต่อค้าขายและอพยพเคลื่อนย้ายออกไปได้ง่าย. 

กิจกรรม พระนคร ๑๐๑ ครั้งที่ ๖-๒ (พระนครชวนชม) เรียนรู้ “จีนสยามและความหลากหลายทางชาติพันธุ์และความเชื่อย่านสำเพ็ง” กิจกรรมช่วงที่สอง: พระนครชวนชม
บทความโดย จิราพร แซ่เตียว
เขียนเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2561

"พระนครชวนชม" จากกิจกรรมพระนคร ๑๐๑ ครั้งที่ ๖ เรียนรู้ความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ย่านสำเพ็ง เมืองท่าและย่านการค้าที่สำคัญของกรุงเทพฯ จากอดีตสู่ปัจจุบัน เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายของการอยู่ร่วมกันของผู้คน. 

กิจกรรม พระนคร ๑๐๑ ครั้งที่ ๖-๑ (ภาคทฤษฎี) เรียนรู้ “จีนสยามและความหลากหลายทางชาติพันธุ์และความเชื่อย่านสำเพ็ง” กิจกรรมช่วงที่ ๑: การบรรยายความรู้ภาคทฤษฎี
บทความโดย จิราพร แซ่เตียว
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

กรุงเทพเป็นเมืองที่รวมความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ  ในระยะแรกความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์มาจากการกวาดต้อนผู้คนจากการทำสงครามในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งกรณีที่ไปเกณฑ์พลมา  และที่อพยพกันมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์สยาม เช่น กลุ่มทวายย้ายมาตั้งรกรากอยู่ยานนาวา (โดยมีเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์จักรีเป็นผู้นำอพยพเข้ามา) ตรอกทวายตรงแม้นศรี และที่ถนนตะนาว ก็อาจเป็นกลุ่มทวายที่ย้ายจากตะนาวศรีมาอยู่กรุงเทพฯ รับราชการเป็นผู้ทำงานต่อเรือหลวง...

ล้างป่าช้าในบางกอก
บทความโดย เมธินีย์ ชอุ่มผล
เขียนเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2561

ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องความตายของคนไทยที่มีมาแต่เก่าก่อนนั้น เมื่อใครสักคนตายจึงต้องมีพิธีสวดส่งวิญญาณ ทำบุญส่งให้วิญญาณ และฝังหรือเผาร่างนั้นไปเสีย ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์นั้นบริเวณที่ฝังศพหรือเผาศพส่วนใหญ่ก็คือบริเวณท้ายวัดที่เราเรียกกันว่า "ป่าช้า" 

ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.