หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
สารพันคนย่านเก่า
ข้อมูลทั้งหมดมี 38 ข้อมูล
1 2 3 4 จากทั้งหมด 4 หน้า
เฒ่านก
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่หลังป้อมมหากาฬ บริเวณนี้เคยเป็นตลาดค้าขายอาหารนก อาหารปลา และขายพวกนกเขาชวาและปลาสวยงาม พร้อมทั้งขายอาหาร และกลายเป็นตลาดนกไปพร้อมกัน  แม่ของลุงติ่งถูกไล่ที่จากแถวซอยกิ่งเพชร ก็พาลูกชายคนเดียวอพยพมาอยู่หลังป้อม แล้วเริ่มเปิดขายอาหารนกเป็นร้านแรก แทบจะกล่าวได้ว่าเป็นคนบุกเบิกพื้นที่หลังป้อมให้เป็นตลาดอาหารนกเขาที่นิยมเลี้ยงกันในช่วงนั้นเจ้าแรกๆ แล้วก็หาที่พักกันอยู่หลังป้อมนั่นเอง

เรื่องของวัดและชุมชน
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ได้เข้าไปสำรวจและพูดคุยกับชุมชนวัดสามพระยาที่ใกล้กับแยกบางขุนพรหม วัดหลวงชั้นวรวิหารที่อยู่เหนือวัดสังเวศฯ ขึ้นมาเล็กน้อยและเป็นชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับบางยี่ขันและชุมชนบ้านปูนที่มีสะพานข้ามแม่น้ำเห็นอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกล ถือว่าเป็นชุมชนใน "ที่ดินวัด" ที่โชคดีในยุคสมัยเช่นนี้

วันนี้ที่มัสยิดจักรพงษ์
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ชาวบ้านฝั่งนี้ล้วนแต่เป็นลูกหลานช่างทอง ช่างที่ทำทองรูปพรรณ อันหมายถึงเครื่องประดับต่างๆ จนฝีมือช่างเช่นนี้กลายเป็นข้าราชการในกองกษาปณ์ที่มีแผนกทำเครื่องราชฯ ก่อนจะเปลี่ยนมือไปยกให้ขึ้นกับองค์การทหารผ่านศึก

ประวัติศาสตร์บางส่วนที่ตรอกบ้านพาน
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ป้าละออศรี รัชตะศิลปิน แน่นอน นามสกุลพระราชทานนี้แปลว่า "ศิลปินช่างเงิน" เกิดเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองพอดี ละแวกบ้านพาน ที่ชาวบ้านเคยเรียกอย่างคุ้นเคย ถูกเปลี่ยนเป็นชื่อตรอกบ้านหล่อ คุณพ่อของป้าเล่าว่า ปลายสุดท้ายซอย เคยเป็นที่หล่อเต้าปูน เลยเรียกว่าตรอกบ้านหล่อไปเป็นทางการ ทั้งที่ละแวกบ้านนี้เขาทำพานกันทั้งนั้น ตรอกบ้านหล่ออยู่ตรงข้ามวัดตรีทศเทพ

นางเลิ้งในวันครึ้มฟ้าครึ้มฝน
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ก่อนเดินเข้าไปที่ตลาดนางเลิ้ง รู้สึกครึ้มเหมือนหมอกและควันอยู่ตรงหน้าผสมกัน ความที่ไม่เคยเข้ามาร่วมกิจกรรมตามกระแสท่องเที่ยวกรุงเทพฯ ที่ถูกจัดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าไม่ต่ำว่า ๕-๖ ปีที่ผ่านมา มีเรื่องเล่าลือมากมายเกี่ยวกับคน ชุมชน และพื้นที่ย่านเก่าแถวนี้ที่ในปัจจุบัน กลายเป็นตลาดรุ่งเรืองที่กลายเป็นเหงาๆ ไปเรียบร้อยแล้ว

ป้าหงษ์ขนมหวาน
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ชีวิตของป้าหงษ์ ที่ขายขนมหวานเจ้าดังที่ตลาดนางเลิ้งทุกวันนี้สบายๆ และเลี้ยงแมว ๔ ตัวเป็นสรณะ ป้าหงษ์อาศัยทำขนมอยู่ในตึกเรือนแถวแบบชั้นครึ่ง ข้างๆ โรงหนังเฉลิมธานี วันนี้หลังของป้างอโค้งจนศีรษะแทบจะถึงพื้น เพราะงานหนักและการโก้งโค้งทำขนมหวานมาตลอดชีวิต

ทองคำเปลว ย่านมัสยิดบ้านตึกดิน
บทความโดย เกสรบัว อุบลสรรค์
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

แรกเริ่มเดิมที “มัสยิดบ้านตึกดิน” เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชุมชนชาวมุสลิมที่อพยพมาจากปัตตานีตั้งแต่เมื่อราวสมัยรัชกาลที่ ๖ กลุ่มมุสลิมบ้านตึกดินที่อาศัยอยู่ในย่านนี้ อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งบนที่ดินพระราชทานในบริเวณซอยดำเนินกลางเหนือ ข้างโรงเรียนสตรีวิทยาในปัจจุบัน หลังจากการเข้ามาของกลุ่มมุสลิมมัสยิดจักรพงษ์

หัตถกรรมทองคำเปลวย่านวัดบวร..ศิริทองคำเปลว
บทความโดย จิราพร แซ่เตียว และจารุวรรณ ด้วงคำจันทร์
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ร้านศิริทองคำเปลวเป็นหนึ่งในสองร้านดั้งเดิมที่อยู่คู่ชุมชนมานาน มีช้างเป็นตราสัญลักษณ์ และอีกร้านคือ ล.สว่างวงศ์  ปัจจุบันร้าน ล.สว่างวงศ์ยังเปิดให้บริการอยู่ตรงตึกแถวฝั่งตรงข้ามวัดบวรริมถนนพระสุเมรุ  ขณะที่ร้านศิริทองคำเปลวอยู่ในซอยพานถม เชิงสะพานอุษาสวัสดิ์ซึ่งเดินเข้าซอยมาไม่ไกลมากนัก ปัจจุบันไม่ได้เปิดหน้าร้านประจำ แต่ยังมีสินค้าคุณภาพขายเพื่อการอนุรักษ์มากกว่าจะยึดเป็นธุรกิจจริงจังเช่นรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.