หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
สารพันคนย่านเก่า
ข้อมูลทั้งหมดมี 38 ข้อมูล
1 2 3 4 จากทั้งหมด 4 หน้า
ร่อนทอง / เล่นแร่แปรธาตุ ที่คลองวัดราชนัดดา
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

โคลงบทแรกอันโด่งดังในนิราศสุพรรณของสุนทรภู่ที่อ่านเมื่อใดก็ได้บรรยากาศย่ำรุ่งอันฉ่ำชื่น ดาวดาดฟ้าและลมหนาว

เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า         ดาดาว

จรูญจรัดรัศมีพราว            พร่างพร้อย

ยามดึกนึกหนาวหนาว       เขนยแนบ  แอบเอย

เย็นฉ่ำน้ำค้างย้อย            เยือกฟ้าพาหนาวฯ

คนเชื้อจีนที่ตลาดนางเลิ้ง
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ตลาดนางเลิ้งเป็นโครงสร้างรูปแบบใหม่ที่ตั้งใจจะให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการค้าใหม่ในแถบชุมชนดั้งเดิมที่กำลังขยายตัวของความเป็นเมืองจากเขตศูนย์กลางภายในพระนคร อันเป็นเมืองหลวงของประเทศในระยะนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้สร้างแหล่งการค้าแบบตลาดตึกแห่งใหม่ นอกเหนือไปจากย้านการค้าเดิมๆ แถบสำเพ็ง พาหุรัด เยาวราช หรือ บางลำพู ฯลฯ เป็นตลาดทางบกที่รองรับการตัดถนนและสร้างความเจริญแบบอย่างตลาดการค้าบนบกดังในต่างประเทศบางแห่งที่พระองค์เสด็จประพาสเป็นต้นเค้า

คลองจุลนาค
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

คลองจุลนาค เคยเป็นคลองใหญ่ ที่ขุดเชื่อมจากคลองมหานาคไปต่อกับคลองหรือคูที่ขุดล้อมรอบวัดโสมนัสวิหารฯ ที่สร้างเมื่อต้นรัชกาลที่ ๔ และทางฝั่งตะวันออกตรงกันข้ามกับคลองขุดปากคลองเปรมประชากรที่ทั้งสองฝั่งเชื่อมต่อกับคลองเมืองผดุงกรุงเกษม เมื่อเชื่อมต่อกับคลองสำคัญที่มหานาคและผดุงกรุงเกษมได้จึงชื่อว่า 'คลองจุลนาค'

 

 

ย่านถนนโรงพิมพ์และอดีตของตะกั่วตัวเรียงพิมพ์
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

เดินไปเดินมาแถวถนนจักรพรรดิพงษ์ตัดกับถนนนครสวรรค์ ก็พบห้องแถวโรงพิมพ์ที่หนึ่ง พี่ชายคนหนึ่งกำลังนั่งหลอมโลหะ เดินเข้าไปใกล้ๆ ก็พบว่ากำลังทยอยเอาแท่นตัวเรียงพิมพ์ตะกั่วแกะออกจากบล็อคไม้ แล้วต้มหลอมตะกั่วอยู่ใกล้ๆ นั่นเอง   ย่านถนนนครสวรรค์ต่อเนื่องไปถึงผ่านฟ้าเคยมีกิจการโรงพิมพ์และสำนักพิมพ์ดังๆ เช่น บรรลือสาส์น สำนักพิมพ์เพลินจิต ร้านกาแฟที่ถนนจักรพรรดิพงษ์ตัดกับหลานหลวงก็เคยเป็นที่รับรองนักเขียนดังๆ ช่วงเช้าๆ ก่อนเข้าสำนักพิมพ์ เช่น ว ณ เมืองลุง สละ ลิขิตกุล ที่อยู่สยามรัฐไปทางถนนราชดำเนิน และ ฯลฯ

เยี่ยม “คุกใหม่” ที่ “สวนรมณีนาถ”
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

สวนสาธารณะสวนรมณีนาถ ตั้งอยู่ระหว่างถนนมหาไชย กับถนนศิริพงษ์ ใกล้โรงเรียนเบญจมราชาลัย และวัดฮินดูเทพมณเฑียร ไม่ไกลจากวัดสุทัศน์เทพวราราม ก่อนที่จะเป็นสวนสาธารณะดังเช่นที่เห็นทุกวันนี้นั้น พื้นที่นี้ เคยเป็นที่ตั้งของ “คุก” มาก่อน ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๓ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชดำริว่า

 “...การคุก การตะราง เป็นการสำคัญของประเทศ สมควรจะได้สร้างสถานที่ จัดระเบียบให้เป็นปึกแผ่น...”   

"อีกฝั่งหนึ่งของถนนพะเนียง" (๑)
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ในช่วงนั้น ยังไม่มีการสร้างตลาดนางเลิ้ง (เปิดเป็นทางการ พ.ศ. ๒๔๔๓) แต่พบว่าแนวพื้นที่ของวัดแคหรือวัดสนามควายหรือวัดสนามคอกกระบือหรือคอกควาย มุมส่วนหนึ่งเกือบจะประชิดแนวถนนที่ตัดใหม่ดังกล่าว เมื่อก่อสร้างเป็นอาคารเรือนแถวตึกและตลาดแบบฝรั่งที่มีหลังคาคลุมกลายเป็นตลาดนางเลิ้งย่านเศรษฐกิจทางฝั่งตะวันออกอีกแห่งหนึ่งของพระนคร เป็นการขยายเมืองออกไปให้ชนกับแนวคลองเมืองชั้นนอกที่ในยุคนั้นก็กลายเป็นเขตทุ่งนา เรือสวนและคูคลองแบบชนบท และยังคงเป็นอยู่ต่อมาอีกระยะหนึ่ง

"อีกฝั่งหนึ่งของถนนพะเนียง" (๒)
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ย่านตรอกหรือบ้านละครชาตรีที่อยู่ฝั่งใต้วัดแคริมถนนหลานหลวงทุกวันนี้ มีเป็นกลุ่มอยู่หลายบ้านที่ยังคงมีแรง มีกำลังทำงานตามแบบบรรพบุรุษในสภาพสังคมที่ไม่เหมือนเดิมและเต็มไปด้วยความยากลำบาก ก็ยังสู้อุตสาหะทำสืบต่อกัน พี่ปูและพี่อ๋อยจากบ้านนราศิลป์ เป็นทายาทสืบต่อคณะโต้โผโขนละครรุ่นปัจจุบัน คนขับรถผ่านไปมา (เราก็ขับรถผ่านหน้าบ้านพี่เขาทุกวันเหมือนกัน) คงจะเห็นหน้าบ้านเขียนป้ายไว้ว่าบ้านนราศิลป์ มีซุ้มต้นไม้สวยๆอยู่หน้าบ้าน ร่มรื่นร่มเย็น โดยเฉพาะซุ้มดอกพุด

"อีกฝั่งหนึ่งของถนนพะเนียง" (๔)
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

พี่หมูเป็นลูกหลานคนละครชาตรีคณะ 'จงกล โปร่งน้ำใจ' ที่เคยมีครูเครื่องหนังคนเก่าคือ ครูยรรยง โปร่งน้ำใจ หรือยรรยง จมูกแดง ในคณะของตลกล้อต๊อก อยู่ในตรอกละครเช่นเดียวกับทางบ้านตระกูลเรืองนนท์ หลังจากละครซบเซามีคนจ้างไปเล่นแก้บนตามที่ต่างๆ น้อยลง คณะแม่จงกลก็ไปได้เล่นที่ศาลหลักเมือง สำหรับให้คนมาว่าละครไปแก้บนเป็นชุดๆ ไป และที่ศาลหลักเมืองมีอยู่หลายคณะ  มาจากทางตรอกละครหลานหลวงก็มี และจากทางตรอกศิลป์ ถนนดินสอก็มี

"อีกฝั่งหนึ่งของถนนพะเนียง" (๓)
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ในตรอกละครริมถนนหลานหลวง เลยมาจากบ้านนราศิลป์เล็กน้อยมีบ้านของเครือญาติในตระกูล 'เรืองนนท์' อยู่หลายบ้าน กลุ่มบ้านเหล่านี้ยาวจรดกำแพงวัดทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของวัดแค และเพราะเคยเกิดเพลิงไหม้ตั้งแต่ปี ๒๕๒๕ สภาพอาคารบ้านเก่าแบบเดิมๆ ก็สลายไปกับกองเพลิงรวมทั้งเครื่องแต่งกายโขนละครของคณะ ครูพูน เรืองนนท์ก็หมดไปคราวนั้น

ราชดำเนิน ถนนสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงเมืองแบบโบราณสู่เมืองสมัยใหม่
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

เมื่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ – ๖ ก็มีการรื้อกำแพงเมืองและป้อมปราการอย่างที่เคยมี จนทำให้ความเป็นเมืองแต่สมัยโบราณสิ้นสุดลง เป็นยุคที่เป็นเมืองแบบตะวันตก เป็นสยามใหม่เพราะเกิดคนรุ่นใหม่ที่นิยมตะวันตกไปทั่ว [Westernization] ปัจจุบันอดีตของป้อมปราการตามแนวคลองผดุงกรุงเกษมเหลืออยู่เพียงชื่อสถานที่ตามทางถนนผ่าน เช่น ป้อมปราบศัตรูพ่ายที่กลายเป็นชื่อเขตของการบริหารของกรุงเทพมหานคร

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.