หน้าหลัก
เกี่ยวกับมูลนิธิ
วันเล็ก-ประไพ รำลึก
ติดต่อเรา
 
สารพันคนย่านเก่า
ข้อมูลทั้งหมดมี 38 ข้อมูล
1 2 3 4 จากทั้งหมด 4 หน้า
"ร้านกาแฟหน่ำเฮงหลี" ถนนจักรพรรดิพงษ์
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

แถวๆ ถนนจักรพรรดิพงษ์ ก่อนที่จะมีการสร้างตึกแถวบนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินฯ เพื่อให้เช่าราวๆ ทศวรรษที่ ๒๔๙๐ นั้น มีบ้านเรือนปลูกเป็นเรือนไม้สลับกับดงกล้วย ฝั่งหนึ่งชิดกับคลองจุลนาคที่ต่อกับคลองมหานาค อีกฝั่งหนึ่งชิดกับคลองวัดแค ที่ต่อกับคลองมหานาคเช่นกัน ฝั่งเหนือของถนนมีร้านขายกาแฟปลูกอยู่แล้ว พ่อค้าแม่ค้าอพยพมาจากเมืองจีน เป็นคนไหหลำที่เริ่มอาชีพขายกาแฟริมถนน ช่วงเวลาก่อนสร้างตึกแถว บริเวณนี้ก็เป็นชุมชนอยู่แล้วและห่างจากตลาดนางเลิ้งพอประมาณเดินพักหนึ่ง ร้านกาแฟเป็นเพิงพักยามเช้าของคนแถวๆ นั้น

ย่านเก่ากับชีวิตจริง กิจการที่ไม่ใช่ธุรกิจท่องเที่ยว
บทความโดย มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในย่านเก่าของกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับกระแสการท่องเที่ยว ซึ่งมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐที่ต้องการจัดแต่งให้เมืองในย่านเก่ามีการจัดระเบียบสวยงาม จึงควบคุมการใช้พื้นที่ของชาวบ้านที่ทำมาหากินริมถนนหรืออยู่ในย่านพื้นที่ซึ่งอาจจะทำให้เมืองดูไม่สวยงาม ทั้งย้ายหน่วยราชการแทบจะทั้งหมดออกไป สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้คนที่ใช้ชีวิตเป็นประจำในเมืองเก่าแห่งนี้ลดน้อยลงเรื่อยๆ จนน่าใจหาย...

"ชุมชนมุสลิมมหานาค" (๑)
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

เรื่องของกูโบร์มหานาคมีข้อมูลที่จะต้องกล่าวถึงมากมาย ก่อนที่จะไปเล่าเรื่องอื่นๆ ของชุมชนมัสยิดมหานาค คนในชุมชนเล่าว่า แต่เดิมกูโบร์อยู่ตรงเชิงสะพานเจริญราษฎร์ ๓๒ และบริเวณนั้นใกล้กับแนวร่องน้ำเก่าที่ดึงเข้ามาเลี้ยงพื้นที่ภายใน ส่งไปให้สวนและที่นา ต่อมาปรับเป็นถนนพังคีในปัจจุบัน ชุมชนมหานาคจึงมีลำน้ำล้อมรอบจนทำให้คล้ายเป็นเกาะมาแต่เดิม ฝั่งถนนด้านตะวันตกกลายเป็นถนนนาคราชซึ่งแต่เดิมติดกับโรงเลี้ยงเด็กที่สร้างครั้งรัชกาลที่ ๕

"ชุมชนมุสลิมมหานาค" (๒)
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ในช่วงรัชกาลที่ ๑ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จไปปราบหัวเมืองปาตานี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๙ ซึ่งเป็นผลมาจากการรบต่อเนื่องมาจากครั้งกรุงธนบุรี หลังจากกรุงศรีอยุธยา ศูนย์รวมอำนาจการปกครองสลายไปและเป็นการกอบกู้บ้านเมืองให้สามารถควบคุมหัวเมืองต่างๆ ได้ดังเดิม จึงจัดการแบ่งแยกออกเป็น ๗ หัวเมืองและได้นำเอาเชื้อพระวงศ์ปาตานีและกวาดต้อนครัวจากเมืองปาตานีมาพร้อมปืนใหญ่พญาตานี ที่นำมาใช้งานรวมกับปืนใหญ่ที่หล่อใหม่ในครั้งนั้น เชื้อพระวงศ์ชาวปาตานีตั้งรกรากอยู่ที่แถบสี่แยกบ้านแขก ฝั่งธนบุรี ไม่ไกลนักกับแถบกลุ่มชุมชนชาวมุสลิมที่เป็นขุนนางเดิมจากกรุงศรีอยุธยาและเป็นขุนนางผู้ใหญ่ในรัชกาลเมื่อต้นกรุงฯ ต่อมาทางฝั่งมัสยิดต้นสน กุฎีเจริญพาศน์ หรือกุฎีบางหลวง

ตรอกบ้านพาน
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

เดินผ่านไปผ่านมาเห็นป้ายนี้มานับสิบปีแล้ว แรกๆ ก็เข้าใจว่าซอยหน้าวัดบวรฯ ตรงนี้เป็นที่ตั้งของบ้านพานถมตามเรื่องราวที่เขียนไว้ แต่พอมาเดินไปเดินมาเพื่อสำรวจข้อมูลปวศ.สังคมของชาวบ้านชาวเมืองรอบกรุงฯ เอาสักพักก็ทราบว่า นี่มันป้ายมั่วและโม้ อย่างยิ่ง เป็นป้ายที่มีข้อความทำให้นักท่องเที่ยวหรือคนกรุงเทพฯ เข้าใจผิดไปกันใหญ่

รู้จักบ้านบาตรให้มากกว่าที่เคยรู้จัก
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ดังที่ทราบกันดีว่า หมู่บ้านรอบพระนครและภายในพระนคร หากไม่ใช่บ้านเรือนของขุนนางและครอบครัวที่รับราชการขึ้นต่อวังและมูลนายต่างๆ ก็จะเป็นกลุ่มคนจีนที่เข้ามาทำการค้าอาศัยอยู่ตามตึกห้องแถวต่างๆ หรือย่านตลาดในกลุ่มย่านสำเพ็งและถนนเยาวราชและอื่นๆ 

"งานตรอกใต้ ของอาจารย์อคิน (ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์)"
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

"งานตรอกใต้ ของอาจารย์อคิน (ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์)" เป็นการศึกษาชุมชนแออัดหรือสลัมเป็นวิทยานิพนธ์ทางมานุษยวิทยาปริญญาเอก ราว พ.ศ.๒๕๑๑ - ๒๕๑๒ หลังจากตรอกใต้ถูกไฟไหม้ ก็กลายเป็นกรณีพิพาทระหว่างวัดญวน สะพานขาว (วัดสมนาณัมบริหาร) ที่อ้างอิงเรื่องการรับพระราชทานที่ดินในรัศมีของแนวคลองหรือคูน้ำล้อมรอบกับที่ภายนอก ตรอกใต้อยู่บนคูน้ำที่ตื้นเขินพอดี เดี๋ยวนี้กลายเป็นที่วัด ปลูกตึกแถวให้เช่า ส่วนด้านหน้าติดถนนก็เป็นที่ทรัพย์สินไป คงแบ่งกันลงตัวคราวนั้น

เสี้ยวหนึ่งที่บ้านพาน
บทความโดย วลัยลักษณ์ ทรงศิริ
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

บ้านขุนภักดีศาสตรา นายทหารกรมแผนที่ ปลูกเรือนด้วยการเขียนแบบบ้านเองริมคลองบางลำพู ใช้ช่างเซี่ยงไฮ้ ทุกอย่างจึงเนี้ยบไปทุกส่วนบ้านสองหลังมีระเบียงเชื่อม หลังหนึ่งยุบจนต้องรื้อไปแล้ว หลังที่รื้อเคยมีหลุมหลบภัยที่สร้างเป็นสองชั้น แล้วกรุด้วยคอนกรีต ไว้หลบภัยยามสงครามรวมทั้งให้เพื่อนบ้านด้วย เวลามีเสียงหวอเตือนก็รวบรวมเครื่องเงินที่ใช้ทำพานเข้าไปหลบด้วยเป็น บ้านนี้มีตาน้ำจึงขุดบ่อน้ำมีน้ำใสตลอดทั้งปี และเก็บรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน

การเริ่มเป็นเมืองแบบตะวันตกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕
บทความโดย ศรีศักร วัลลิโภดม
เขียนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2561

ครั้นรัชกาลที่ ๕ ความเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการเลิกทาสและการให้กรรมสิทธิ์ที่ดินแก่คนทั่วไปที่ทำให้มีการซื้อขายกันได้ รวมถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจกรรมที่นอกเหนือไปจากการเป็นที่อยู่อาศัย จึงทำให้ทั้งเจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการบรรดาที่ได้รับพระราชทานที่ดินให้สร้างวัง สร้างเคหาสน์ที่อยู่อาศัยที่มีอาณาบริเวณ มีการจัดการในการจัดการพื้นที่ในกรรมสิทธิ์ใหม่ บางราย ก็สร้างห้องแถวให้ในพื้นที่หน้าวังหรือเคหสถานให้นักธุรกิจและพ่อค้าเช่า บางรายก็ขายที่ขายบ้านให้กับคนรวยที่เป็นนักธุรกิจและผันตัวไปตั้งรกรากในที่อื่น 

 
ที่ตั้งมูลนิธิ ๓๙๗ ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐-๒๒๘๑-๑๙๘๘ , ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐ โทรสาร ๐-๒๒๘๐-๓๓๔๐
อีเมล์ [email protected]
                    
Copyright © 2011 lek-prapai.org | All rights reserved.